วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

การจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงปีที่ 2 ครั้งที่ 2/2565


การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

 

1. การเรียนโดยใช้โครงการเป็นฐาน  วิชาปฏิบัติการพยาบาลชุมชน 2 สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน โดย อ.ศุภวรรน  ยอดโปร่ง

    ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการความพร้อม อาจารย์และนักศึกษาเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นฐาน

    ขั้นตอนที่ 2 กำหนดปัญหาและวางแผนสร้าง/พัฒนานวัตกรรม

                      1) สอนในคลินิก เรื่องการพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ

                      2) ศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชนในพื้นที่

                      3) กำหนดปัญหาจากศึกษาปัญหาสุขภาพชุมชน 1 ประเด็น

                      4) ทบทวนวรรณกรรม งานวิจัย และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน

                      5) เขียนเค้าโครงการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ

                      6) ออกแบบและนำเสนอการสร้าง/พัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ และเครื่องมือประเมิน

    ขั้นตอนที่ 3 สร้าง/พัฒนานวัตกรรมและนำนวัตกรรมไปใช้

                      1) สร้าง/พัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ

                      2) นวัตกรรมทางสุขภาพที่ถูกสร้าง/พัฒนาไปใช้กับผู้ใช้นวัตกรรม

                      3) พัฒนาและปรับปรุงนวัตกรรมทางสุขภาพ และนำนวัตกรรมทงสุขภาพไปใช้กับผู้ใช้นวัตกรรม

    ขั้นตอนที่ 4 การนำเสนอนวัตกรรมและการประเมินผล

                       1) Show and Share นวัตกรรมทางสุขภาพ

                       2) ประเมินผล

                       3) ถอดบทเรียน

ผลการจัดการเรียนการสอน

      พบว่า หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยโครงการเป็นฐาน ของนักศึกษาพยาบาลศษสตร์ ชั้นปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งภาพรวมและรายด้าน 

2. Reflective thinking วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ                  โอย อ.ดร.กรวิกา  พรมจวง

    ขั้นตอนที่ 1 ครูจัดเตรียม VDO Clip เกี่ยวกับผู้สูงอายุ จำนวน 3 VDO Clip

    ขั้นตอนที่ 2 ครูแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 14 กลุ่ม โดยมอบหมายให้กลุ่มที่ 1-4 ดู VDO Clip ที่ 1 กลุ่มที่ 5-8 ดู VDO Clip ที่ 2 และกลุ่มที่ 9-14 ดู  VDO Clip ที่ 3 

    ขั้นตอนที่ 3 ครูมอบหมายให้แต่ละกลุ่มเขียนสะท้อนคิด ดังนี้ 

                       1) บรรยาย  VDO Clip ย่อ ๆ

                       2) ดู  VDO Clip แล้วรู้สึกอย่างไร ปัจจัยใดที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก

                       3) ประเมินเพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยาจากกระบวนการสูงอายุอย่างไรบ้าง มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายที่มีผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ อย่างน้อย 2 ระบบ อย่างไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคมอย่างไรบ้าง 

                       4) ประเมินว่ามีข้อดีข้อเสียอะไรบ้างใน  VDO Clip ที่ได้ดู ถ้านักศึกษาอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ หรือท่านมีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไรในสถานการณ์นั้น ๆ 

                       5) วิเคราะห์ดูว่าเราสามารถทำแะไรได้บ้าง หรือช่วยเหลืออะไรได้บ้าง โดยไปศึกษาค้นคว้าจากตำราหรือเอกสารประกอบเพิ่มเติมพร้อมเอกสารอ้างเิง

                       6) สรุปว่าได้ทำอะไรบ้าง/จัดการอะไรไปบ้าง

                       7) ถ้าเกิดปัญหาหรือสภาพที่อยู่อยู่อีกครั้ง จะแก้ปัญหาอย่างไร/จะนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร เช่น ท่านจะหาแนวทางป้องกัน ส่งเสริม รักษา ฟื้นฟู อย่างไร หรือหาวิธีการช่วยเหลือผู้สูงอายุในใน  VDO Clip  อย่างไร ถ้าท่านเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือพยาบาลในชุมชนนั้น ๆ 

ผลการจัดการเรียนการสอน

        รายงานวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลของการใช้กระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในผู้นำนักศึกษา พบว่า ระดับความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของผู้นำนักศึกษาหลังจากเข้าร่วมโครงการ “พัฒนาผู้นำนักศึกษาในศตวรรษที่ 21” มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 

3. ประสบการณ์การพัฒนาการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง สาขาวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น          โดย อ.ดร.ชลลดา  ติยะวิสุทธิ์ศรี 

          ภายหลังจากได้ร่วมรับฟังประสบการณ์เรื่อง“การจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้สู่การ เปลี่ยนแปลง” จากท่านวิทยากร ดร.ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา สาขาวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นได้ประชุมกันและมีความเห็นร่วมกันในการทำไปใช้ในการสอนภาคปฏิบัติ วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 และ 2 ซึ่งการนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนในครั้งนี้เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่าง ที่เกิดผลลัพธ์จากการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 

           หลักคิดก่อนนำไปประยุกต์ใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มาเรียนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลเด็ก 1 คือ นักศึกษาเป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น การจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ต้องมีการปฏิบัติที่มีการเน้นย้ำบ่อยๆ ซึ่งผลลัพธ์ ของการเรียนรู้อาจไม่สามารถเห็นได้โดยตรง แต่อาจตรวจสอบได้จากผลของการกระทำ หรือผลงานของ นักศึกษา ซึ่งเป็นไปทฤษฎีที่ว่าด้วยลักษณะธรรมชาติในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ดังนี้ 

           1) ผู้ใหญ่ต้องการรู้เหตุผลในการเรียนรู้ และผู้ใหญ่จะเรียนรู้ก็ต่อเมื่อเขาต้องการจะเรียน เนื่องจากผู้ใหญ่รู้ว่าตนเองมีความรับผิดชอบต่อผลของการตัดสินใจของตนเองได้ ก่อนการเรียนรู้ผู้ใหญ่ มักต้องการจะรู้ว่า เพราะเหตุใด หรือทำไมเขาจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ เขาจะได้รับประโยชน์อะไร และจะ สูญเสียประโยชน์อะไรถ้าไม่ได้เรียน 

            สิ่งที่ดำเนินการคือ ให้นักศึกษากลุ่มที่ต้องรับผิดชอบสอนตอบข้อคำถามใน google from เกี่ยวกับความรู้สึก ความกังวล ความต้องการในประเด็นหัวข้อการเรียนรู้และบรรยากาศการเรียนรู้ สิ่งที่อยาก บอกอาจารย์ จากนั้นนัดประชุมแบบออนไลน์ นำสิ่งที่นักศึกษาตอบมาพูดคุยกันในภาพรวมไม่ระบุชื่อบุคคล ถามตอบแบบกัลยาณมิตร แล้วบอกเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของรายวิชา ประสบการณ์ขั้นต่ำที่ต้องได้รับ ชิ้นงานที่ต้องทำ และประโยชน์ที่จะนำไปใช้ในการสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และร่วมกันวางแผนการ ฝึกและมอบหมายความรับผิดชอบภาพรวม และได้ผู้แทนประสานงานของกลุ่ม ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ปล่อยให้บรรยากาศเป็นไปตามธรรมชาติ นักศึกษาส่วนใหญ่แสดงความเห็น แต่จะมีบางคนที่ไม่พูด แต่ก็ไม่ ขัดแย้ง ครูจะบันทึกพฤติกรรมไว้ และจะมีการถอดบทเรียนหลังสิ้นสุดการฝึกผ่าน google from เกี่ยวกับ ความรู้สึก สิ่งที่ได้เรียนรู้ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง และแนวทางการพัฒนา 

           2) ลักษณะการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ต้องการที่จะชี้นำตนเองมากกว่าจะให้ผู้สอนมาชี้นำ การสอนควรเป็นแบบแนะแนวมากกว่า ดังนั้นบทบาทของผู้สอนควรจะเป็นการเข้าไปมีส่วนร่วม (Facilitator) มากกว่า 

               สิ่งที่ดำเนินการคือ การมอบหมายหัวข้อในการเรียนรู้ ซึ่งก็คือ การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มี ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่นักศึกษาได้รับมอบหมายให้ดูแล หรือกิจกรรมการพยาบาลที่พบบ่อยในหอผู้ป่วย โดยคนที่ได้รับมอบหมายต้องรู้ลึกรู้จริงในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ใครถามอะไรต้องตอบได้ ตอบไม่ได้ให้เปิดโพย (Web หรือ หนังสือ) ได้และทุกคนต้องเตรียมเอกสารสรุปความรู้มาแชร์ให้เพื่อนในกลุ่มด้วย 

          3) ประสบการณ์ของผู้เรียน ประสบการณ์เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ใหญ่มีความแตกต่างระหว่างบุคคล ดังนั้นการจัดกิจกรรมควรคำนึงถึงด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย ควรใช้เทคนิคต่างๆ ที่เน้นการเรียนรู้ โดยอาศัยประสบการณ์ (Experiential Techniques) เช่น การอภิปรายกลุ่ม กิจกรรมแก้ปัญหา กรณีศึกษา เป็นต้น 

              สิ่งที่ดำเนินการคือ ใช้กระบวนการอภิปรายกลุ่มกับชิ้นงานที่มอบหมายในข้อ 2 ทุกคนจะเป็น กูรูในเรื่องนั้นๆ โดยนำข้อมูลของกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมายมาใช้ประกอบในการอธิบายเพื่อนๆ ในกลุ่ม กรณี หากเนื้อหายากอาจารย์จะช่วยตั้งคำถามให้ทุกคนได้คิด และเชื่อมโยงความรู้กับสภาพจริงของผู้ป่วย เป็นการ ส่งเสริมให้นักศึกษาได้ใช้ประสบการณ์ที่มี เช่น “ นักศึกษาจะทำอย่างไร เมื่อ.....” 

          4) แนวโน้มในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ การเรียนรู้จะมุ่งเน้นไปที่ชีวิตประจำวัน หรือเน้นที่งาน หรือการแก้ปัญหานั่นคือเขาจะสนใจหากช่วยให้การทำงานของเขาดีขึ้นหรือช่วยการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน               สิ่งที่ดำเนินการคือ โยงความรู้ที่อภิปรายลงสู่กรณีศึกษาของแต่ละคน รวมถึงตัวอย่างข้อสอบ รวบยอด หรือสภาการพยาบาล 

          5) บรรยากาศในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะเรียนรู้ได้ดีกว่าในบรรยากาศที่มีการอำนวย ความสะดวกต่างๆ ทั้งทางกายภาพ เช่น การจัดแสงสว่าง อุณหภูมิที่พอเหมาะ การจัดที่นั่งที่เอื้อต่อการมี ปฏิสัมพันธ์กัน และมีบรรยากาศของการยอมรับในความแตกต่างในทางความคิด และประสบการณ์ที่แตกต่าง กันของแต่ละคน มีความเคารพซึ่งกันและกัน มีอิสรภาพในการแสดงออก เป็นกันเอง 
             สิ่งที่ดำเนินการคือ กิจกรรมการอภิปรายกลุ่มจะใช้ห้องเรียนกลุ่มย่อยที่กว้าง สว่าง และจัด บรรยายกาศแบบสบายๆ ให้นำเบาะมานั่ง หรือนอนก็เหยียดเท้าก็ได้ โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่าทุกคนต้องตั้งใจ ฟัง และร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนเน้นการเรียนการสอนแบบ face-to-face ให้นักศึกษาได้มี ปฏิสัมพันธ์กัน และหากใครมีคำถามให้ยกมือ ผู้นำเสนอก็ต้องเปิดโอกาสให้เพื่อนได้ถามข้อสงสัย เกิดการ แบ่งปันและรับฟังความคิดเห็นในกลุ่มเพื่อน 

ตัวอย่างเรื่องเล่า ความภาคภูมิใจของเรา 

            นักศึกษาคนที่ 1 ได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่เป็นชนเผ่า ทั้งเด็กและผู้ดูแลไม่สามารถฟังและพูด ภาษาไทยได้ ทำให้นักศึกษามีความวิตกกังวลอย่างมากในการรวบรวมข้อมูล และจัดกิจกรรมการพยาบาล โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ และให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านที่นักศึกษาต้องเก็บประสบการณ์ ซึ่งในวันแรกของการขึ้นฝึกช่วงเช้านักศึกษาไม่ได้ถูกสุ่มให้นำเสนอกรณีศึกษาในการ pre-conference อาจารย์ ยังไม่ทราบปัญหานี้ แต่สังเกตว่านักศึกษาดูหน้าเครียดๆ และไม่ค่อยเข้าไปที่เตียงผู้ป่วย ส่วนนักศึกษาคนที่ 2 ถูกสุ่มนำเสนอกรณีศึกษาในการ pre-conference ไม่สามารถระบุปัญหาของผู้ป่วยได้ รวบรวมข้อมูลไม่ ครอบคลุม เขียนแผนการพยาบาลไม่ได้ ซึ่งนักศึกษาดูหน้าเครียดๆ และไม่ค่อยเข้าไปที่เตียงผู้ป่วยเช่นกัน จึง ขอพบนักศึกษาทั้งสองคน โดยใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา ให้บอกความคิดความรู้สึก ความวิตกกังวล หรือ ปัญหาอุปสรรคในการฝึกปฏิบัติ ข้อค้นพบคือ นักศึกษาคนที่ 1 สามารถเขียนแผนการพยาบาลได้ ออกแบบ กิจกรรมเป็น แต่ไม่รู้ว่าจะสื่อสารกับผู้ป่วยเด็กและผู้ดูแลอย่างไร เพราะเขาไม่เข้าใจภาษาไทย ส่วนนักศึกษา คนที่ 2 อ่านข้อมูลของผู้ป่วยใน chart ไม่เข้าใจ ฟังภาษาไทยไม่ทัน ถ้าพูดเร็วจะฟังไม่รู้เรื่องว่าหมายถึงอะไร ต้องพูดช้าๆ รวมทั้งการเขียนภาษาไทยก็จะไม่สามารถเขียนอธิบายยาวๆ ได้ จะเขียนแบบสั้นๆ ซึ่งนักศึกษา เป็นชนเผ่า มีข้อจำกัดเรื่องการฟังภาษาไทย จึงให้นักศึกษาทั้งสองคนปรึกษาหารือว่าแล้วจะช่วยกันและกันใน การแก้ไขปัญหาของตนเองอย่างไร โดยสรุปคือ นักศึกษาคนที่2 ไปช่วยซักประวัติ อธิบาย ให้คำแนะนำ กับ ผู้ดูแลและผู้ป่วยเด็กให้เพื่อนคนที่ 1 ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี ผู้ป่วยให้ความร่วมมือ และมีความสุข สนุกในการ ทำกิจกรรม ส่งผลให้กิจกรรมการพยาบาลที่ออกแบบมาสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ จากการเป็นล่ามของ เพื่อนนักศึกษาคนที่2 ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของเขามากๆ ที่ได้ใช้สิ่งที่เขามีมาแต่กำเนิด ซึ่งเดิมคิดว่าเป็นเรื่อง น่าอายที่เขาพูดภาษาไทยไม่ชัด เขาจึงไม่ค่อยพูด แสดงความเห็นน้อย แต่ครั้งนี้เขาพูดภาษาของเขาอย่างเต็มที่ ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยด้วย ส่วนการดูแลผู้ป่วยที่นักศึกษาคนที่ 2 ได้รับมอบหมาย ก็ให้เพื่อนนักศึกษา คนที่ 1 มาช่วยในการซักประวัติ และอ่านข้อมูลใน chart และช่วยคิดแผนการพยาบาล ซึ่งผลลัพธ์ดีขึ้นกว่างาน รอบแรกที่นำเสนอ 

ถอดบทเรียนตามตัวบ่งชี้ของการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง พบว่า เกิดพฤติกรรม 5 ประการ ดังนี้             

          1) เกิดความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างนักศึกษา 

          2) มีการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Deep Learning) เกิดความเข้าใจเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหารายวิชา กับการ ดำเนินชีวิตประจำวัน 

          3) นักศึกษามีการไตร่ตรองสะท้อนคิด หาปัจจัยที่ทำให้เกิดปัยหา และช่วยกันหาแนวทางการแก้ไข นำไปประยุกต์ใช้ 

          4) เกิดความผูกพัน (Engagement) กันระหว่างเพื่อนในกลุ่ม เกิดความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ผู้อื่น 

          5) นักศึกษามีความเอื้ออาทรกัน (Caring) : นักศึกษารับฟัง และเรียนรู้จากเพื่อนในกลุ่มทั้งคนที่มีความ คิดเห็นที่เหมือนและต่าง แล้วนำไปต่อยอดความรู้ของตนเอง

 ปัจจัยสนับสนุน 

          1) อาจารย์ต้องเชื่อว่านักศึกษาทุกคนมีศักยภาพ สามารถพัฒนาได้ 

          2) อาจารย์ต้องคิดเสมอว่านักศึกษาแต่ละคนมีคุณค่าในตนเอง 

          3) อาจารย์ต้องเคารพในความรู้สึกนึกคิด และความเห็น ตลอดจนประสบการณ์ของนักศึกษา 

          4) อาจารย์ต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษาในกลุ่มเดียวกันเพื่อให้เขารู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจกัน รักและ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

          5) อาจารย์ต้องเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการบอกความต้องการที่สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชา กำหนดรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน และประเมินการเรียนรู้ของตนเอง 

          6) อาจารย์ต้องสร้างบรรยากาศการเรียนให้มีความสุข ลดความทุกข์/ความเครียด 

          7) อาจารย์ต้องให้คำชม ลดการตำหนิ ใช้คำพูดเชิงบวก 

ข้อจำกัดในการเรียนรู้ของนักศึกษา 

          1) นักศึกษามักใช้ประสบการณ์เดิม 

          2) นักศึกษาขาดความเชื่อมั่นในตนเอง 

          3) นักศึกษาขาดแรงจูงใจในการเรียนและกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง

4. Transformative Learning สาขาวิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ โดย อ.ดร.เบญจมาภรณ์ นาคามดี 

     เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพในส่วนกรอบความคิด (Frame of reference) ซึ่งกรอบ ความคิดนี้สําคัญ เพราะมีส่วนกําหนดว่าบุคคลนั้นมองโลกอย่างไร การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง กําหนดว่าบุคคล นั้นมองโลกอย่างไร การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ใช่การแสวงหาความรู้เท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาผู้เรียนโดย การเปลี่ยนแปลงมุมมอง (perspective transformation) หรือมโนทัศน์ (paradigm) ผ่านการสะท้อนคิดภายใน ตนเองอย่างลึกซึ้ง (critical self-reflection) และการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น (discourse) เกิดความเข้าใจในตนเอง และมีคุณค่า (self-esteem) สามารถสร้างความหมายใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิมได้ (Mezirow, 2000)

วิธีการจัดการเรียนการสอน

 ขั้นที่ 1 Experience ครูแสดงบทบาทสมมติให้นักศึกษาดูเกี่ยวกับการพยาบาลมารดาในระยะคลอดและการทำคลอด ผ่านหุ่นคนท้อง

ขั้นที่ 2 Reflection นักศึกษาตรวจสอบตนเอง โดยมีประเด็นคำถามคือ 

นักศึกษามีความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ดูครูแสดงบทบาทสมมติ 

ขั้นที่ 3 ประเมินสมมติฐานเดิมอย่างจริงจัง เข้ากลุ่มและมีประเด็นคำถามคือ ให้นักศึกษาทบทวนการพยาบาลมารดาในระยะคลอด เมื่อคุยกับเพื่อน จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร 

ขั้นที่ 4 สนับสนุนให้นักศึกษาเปิดใจยอมรับ ครูชี้แจงความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลมารดาในระยะคลอด

ขั้นที่ 5 Conceptualization ค้นหาทางเลือกใหม่ ให้นักศึกษาร่วมกันแลกเปลี่ยนว่าจะทำอย่างไรถ้านักศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ต้องให้การพยาบาลมารดาระยะคลอด

ขั้นที่ 6 ให้นักศึกษาวางแผนว่าจะทำสิ่งใหม่อย่างไร หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในอนาคต นักศึกษาจะทำอย่างไรไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก

ขั้นที่ 7 ให้นักศึกษาค้นหาความรู้และทักษะที่จำเป็นเพิ่มเติม โดยมีประเด็นคำถามคือ นักศึกษาคิดว่าเราควรหาความรู้อะไรเพิ่มเติมในกรณีที่เกิดขึ้น

ขั้นที่ 8 ให้นักศึกษาลองทำใหม่

ขั้นที่ 9 สนับสนุนให้นักศึกษามั่นใจ

ขั้นที่ 10 สนับสนุนให้นักศึกษาบูรณาการสิ่งใหม่กับวิถีชีวิต

ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

1) เชิงปริมาณ

     - ข้อสอบกลางภาค คะแนน 5-12 (จากคะแนนเต็ม 12)

    - ประเมินรายงาน โดยใช้แบบประเมิน TQF 3.2 คะแนน 0.80-0.95 (จากคะแนนเต็ม 1) TQF 3.4 8tcoo 0.76-0.98 (จากคะแนนเต็ม 1) 

    - ประเมินการแสดงความคิดเห็นทำงานเป็นทีม TQF 4.3 คะแนน 0.60-1.00 (จากคะแนนเต็ม 1) 
2) เชิงคุณภาพ

    - มีแนวทางในการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ในการพยาบาล APH ชัดเจน 

    - ปรับมุมมองในการให้การพยาบาลที่ไม่มองแต่ร่างกายเท่านั้น เพราะเห็นมุมมองการดูแล จิตใจ และสิทธิผู้ป่วย คำนึงถึงหัวใจผู้ป่วย 

     - แลกเปลี่ยนมุมมองกับสมาชิกกลุ่ม แม้จะในรูปแบบออนไลน์ แต่ควรเพิ่มระยะเวลาในการทำ กลุ่มเพิ่มขึ้น

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ: นโยบายการศึกษาของหน่วยงาน นักศึกษา ผู้สอนในสาขาวิชา ภาคีพี่เลี้ยง ระบบสนับสนุน เช่น งาน IT เจ้าหน้าที่สายสนับสนุน

ปัญหา อุปสรรค: 

- ความเข้าใจ Concept ให้ชัดเจน 

- เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เพื่อท าวิจัย

แนวทางการพัฒนา

- ศึกษาท าความเข้าใจ Concept ให้ชัดเจน

- เขียนโครงการวิจัย 

- พัฒนาสื่อที่น าไปใช้ในการสอน 

- พัฒนารูปแบบ TL ของวิทยาลัยฯ

5. การบูรณาการแนวคิด TL และ RP ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์วิชาจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพพยาบาล  สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล โดย อ.ดร.อัศนี  วันชัย 

ขั้นที่ 1 Experience ให้นักศึกษาดูคลิปข่าว 2 คลิปที่ไยาบาลมีพฤติกรรมจริยธรรมตรงข้ามกัน 

ขั้นที่ 2 Reflection นักศึกษาตรวจสอบตนเอง โดยมีประเด็นคำถามคือ 

1) ได้เรียนรู้อะไรจากสถานการณ์ในวีดีโอ 2 สถานกาณ์นี้ 

2) รู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 

3) ความรู้สึกเกี่ยวกับสถานกาณ์นั้นเป็นไปในทางบวกหรือทางลบอย่างไร 

4) ฃพฤติกรรมของพยาบาลในข่าวเป็นการกระทำที่ถูก/ผิดหลักจริยธรรมเรื่องใด ทำไมนักศึกษาจึงคิดเช่นนั้น

ขั้นที่ 3 ประเมินสมมติฐานเดิมอย่างจริงจัง รับฟังเพื่อนทั้งชั้นปีและมีประเด็นคำถามคือ ให้นักศึกษาทบทวนคำตอบของตนเอง เมื่อฟังเพื่อน มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร 

ขั้นที่ 4 สนับสนุนให้นักศึกษาเปิดใจยอมรับ ครูชี้แจงว่าการศึกษาปัญหาจริยธรรมมีหลายมุมมองขึ้นกับข้อมูลและเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสิน

ขั้นที่ 5 Conceptualization ค้นหาทางเลือกใหม่ ให้นักศึกษาร่วมกันแลกเปลี่ยนว่านักศึกษาต้องการเลือกเป็นพยาบาลแบบรุ่นพี่ท่านใด

ขั้นที่ 6 ให้นักศึกษาวางแผนว่าจะทำสิ่งใหม่อย่างไร หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในอนาคต นักศึกษาจะทำอย่างไรไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก

ขั้นที่ 7 ให้นักศึกษาค้นหาความรู้และทักษะที่จำเป็นเพิ่มเติม โดยมีประเด็นคำถามคือ นักศึกษาคิดว่าเราควรหาความรู้อะไรเพิ่มเติมในกรณีที่เกิดขึ้น

ขั้นที่ 8 ให้นักศึกษาลองทำใหม่

ขั้นที่ 9 สนับสนุนให้นักศึกษามั่นใจ

ขั้นที่ 10 สนับสนุนให้นักศึกษาบูรณาการสิ่งใหม่กับวิถีชีวิต

ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน

รายการประเมิน % ค่าเฉลี่ย S.D. แปลผล
1) สื่อการเรียนการสอนชัดเจน 95.23 4.76 0.45 มากที่สุด
2) สื่อการสอนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ 95.05 4.75 0.43 มากที่สุด
3) เอกสารประกอบการสอนเหมาะสม 94.68 4.73 0.43 มากที่สุด
4) มีหนังสือ ตำรา เอกสารอ้างอิง ข้อมูลและแหล่ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมที่เหมาะสม  95.96 4.79 0.44 มากที่สุด
ภาพรวม 95.23 4.76 0.45 มากที่สุด
ภาพรวมทั้งหมด 95.32 4.76 0.45 มากที่สุด

ปัจจัยแห่งความสำเร็จและอุปสรรค ในการนำ TL และ RP มาใช้ในการสอนออนไลน์

- การเลือกสถานการณ์ที่ใกลตัวและตรงกันข้ามมากระตุ้นให้คิดว่าสิ่งที่ครูกำลังจะพูดไม่ใช่เรื่องไกลตัว

- การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นจำกัดเนื่อจากเป็นนักศึกษากลุ่มใหญ่และไม่เป็นการสื่อสาร 2 ทาง  

6.  การจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช โดยใช้การสะท้อนคิดสู่การเปลี่ยนแปลง โดย อ.อายุพร  กัยวิกัยโกศล 

     การสะท้อนคิด (Reflective) ของกิบบ์ (Gibb,1988)

•1.การบรรยายสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

•2. ความรู้สึกต่อประสบการณ์

•3. การประเมินวิเคราะห์ประสบการณ์

•4. วิเคราะห์สถานการณ์ในภาพรวม

5.สรุปความคิดรวบยอด

6. การวางแผนปฏิบัติในอนาคต

จะทำอย่างไร ???สู่การเปลี่ยนแปลง

•ประสบการณ์รายวิชา

•วิธีการสอน

•ผลลัพธ์การเรียนรู้

•การพัฒนาผู้เรียน

การเตรียมตัว

ผู้เรียน ผู้สอน
•1.สำรวจและเข้าใจตนเอง (จุดดี,จุดด้อย) •1.สำรวจและเข้าใจตนเอง(จุดดี,จุดด้อย)
•2.เข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ของตนเอง •2.สร้างบรรยากาศ ยอมรับผู้เรียน คำพูดไม่เป็นทางการ
•3.การมีเป้าหมายที่ชัดเจน (รายบุคคล,เพื่อนรวมทีม) •3.สนับสนุนผู้เรียน (ข้อมูลผู้ป่วย,แหล่งเรียนรู้)

ลงมือทำ (ปฏิบัติการสอนตามแผนที่วางไว้)

•การจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด

•สะท้อนคิด

•1.การคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง

•2.ความสำเร็จ

•3.การพัฒนา:เปลี่ยนแปลง

•ผลลัพธ์การเรียนรู้

ตัวอย่างการจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด

สถานการณ์ ความรู้สึก ประเมินสถานการณ์/หาสาเหตุ ประเมินสถานการณ์ภาพรวม (ดี,ยังไม่ได้ทำ) สรุปความคิดรวบยอด การนำไปใช้
•เมื่อต้องสวมบทบาทผู้ป่วย Bipolar เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรม  บำบัด

•เครียด,กลัวไม่สำเร็จ

•อยากรู้,ท้าทายตัวเอง

•ไม่เคยเห็นสภาพจริงผู้ป่วย

•สำรวจตัวเองนิสัยเหมือนผู้ป่วย

-ไปดูตัวอย่างจากสื่อต่างๆ : caseของอาจารย์,ภาพยนตร์,you tube

•มีความสุขที่ได้ปลดปล่อย

•เข้าใจความรู้สึกผู้ป่วย

•อยากลองเป็นผู้ป่วยโรคอื่นๆอีก

•ระบุอาการผู้ป่วยได้

•เห็นบทบาทพยาบาลในการบำบัดผู้ป่วยโรคBipolarด้วยกิจกรรมกลุ่ม

•การใช้คำพูดกับผู้ป่วย”อย่าห้าม”

•การนำไปใช้

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

•เปลี่ยนความกลัวเป็นความอยากที่จะเรียนรู้ต่อ “อยากแสดงเป็นผู้ป่วยโรคอื่นๆ ”

•ตอบคำถามจากประสบการณ์ : อาการแสดงของผู้ป่วยเป็นอย่างไร,ควรจะพูดกับผู้ป่วยอย่างไร,ถ้าวุ่นวายมากจะทำอย่างไร

•กำลังใจสร้างให้มีพลังการเรียนรู้ (ครู,เพื่อน,ตนเอง)

•พฤติกรรมการแสวงหาความรู้เปลี่ยนไป : คิดเอง,หาเอง,เรียนรู้เอง

ประสบการณ์ของครู

1.บรรยากาศที่ต้องสร้างตั้งแต่พบน.ศ.วันแรกต้องผ่อนคลาย

2.การใช้คำพูดที่ไม่เป็นทางการ “ทำอะไรไปบ้างวันนี้” “เป็นคนไข้วันนี้เป็นอย่างไร” “คุยกับคนไข้เป็นอย่างไรบ้าง”

3.ครูต้องใช้พลังมากในการสรุป ดึงประเด็นสำคัญๆ เพื่อสะท้อนให้ผู้เรียนได้เห็น

4. ทำบ่อยๆ ให้มีประสบการณ์

5.น.ศ. พัฒนาได้ดีขึ้นจากการมองเห็นตนเองชัดเจน

ปัญหาอุปสรรค

1.เป้าหมายการพัฒนาไม่ชัดเจน

2.ไม่มีเครื่องมือวัดประเมินผลอย่างเป็นรูปธรรม

3.ระยะเวลาการพัฒนาสั้น ไม่ต่อเนื่อง

ตัวอย่างการประเมิน

1. เหตุการณ์ ได้รับเคส Alcohol dependence ครั้งแรกสังเกตเห็นผู้ป่วยรูปร่างใหญ่ ผิวคล้ำ สักยันต์ 

   เงียบขรึม พูดน้อย เสียงเบา ขณะสนทนาผู้ป่วยก้มหน้าและสบตาน.ศ.เป็นระยะบางครั้งถอนใจ

2. รู้สึก     กลัว เพราะผู้ป่วยตัวใหญ่ ผิวคล้ำ ขอบตาดำ เงียบ รู้สึกกังวล ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไรที่ทำให้

   ผู้ป่วยเข้าใจ ให้ข้อมูลได้ตรงประเด็นและครอบคลุมเนื้อหาที่จะบันทึกส่งอาจารย์

3. วิเคราะห์ ทัศนคติที่เห็นคนรูปร่าง ผิว สักยันต์ แบบนี้จะต้องน่ากลัว

4. วิเคราะห์ภาพรวม  การไม่ยอมรับในฐานะผู้รับบริการ,ความวิตกกังวลทำให้ขาดสติที่จะสังเกต

   วิเคราะห์ผู้ป่วย

5. ยอมรับผู้ป่วยอย่างไม่มีเงื่อนไข, สังเกตว่าผู้ป่วยเงียบเพราะกังวลที่จะต้องบอกข้อมูลกับน.ศ.ที่รู้สึก

   ไม่คุ้นเคย น.ศ.จึงสร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ไม่ได้มุ่งที่งานของตนเองเป็นหลัก

6. ต้องไวต่อความรู้สึกตนเองให้มากกว่านี้ พัฒนาการสังเกต การเอาใจเขามาใส่ใจเราให้มากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 700860เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2022 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2022 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์

อาจารย์ทุกท่านมีความตั้งใจขอบคุณที่มาถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนปัจจัยแห่งความสำเร็จขอแสดงความชื่นชมค่ะ

จันทร์จิรา อินจีน

ขอชื่นชมผลงานการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ทุกๆท่าน ส่งผลให้เห็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจนขึ้น

มีความชัดเจนมากขึ้น ได้เรียนรู้จากทุกสาขาวิชาว่าจัดอย่างไรให้ทั้งนักศึกษาและครูเกิดการเปลี่ยนแปลง..เยี่ยมยอดมากคะ

สุรีรัตน์ ณ วิเชียร

เป็นแนวทางในการสอนที่ดีมาก ทำให้สอนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อาจารย์ทุกท่านได้ถ่ายทอดประสบการณ์การสอน Transformative learning ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ดีมาก ๆ และน่าสนใจ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาการสอนให้นักศึกษามีการสะท้อนคิด สะท้อนความรู้สึก และเรียนรู้มากขึ้น

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีประโยชน์ สามารถทำให้เกิดความเข้าใจนำไปใช้ในการจัดกสรเรียนการสอนได้ค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ที่มาแลกเปลี่ยนทุกท่าน ความรู้และประสบการณ์ที่นำมาแลกเปลี่ยนเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาการเรียนการสอนได้มากค่ะ

ดร.ศุภาณ์นาฏ สุวรรณกิจ

ขอขอบคุณทุกท่านที่มาถ่ายทอดประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆของแต่ละสาขาวิชาเป็นการแลกเปลี่ยนที่มีประโยชน์มากค่ะ

การแลกเปลี่ยนมีประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงในการจัดการเรียนการสอนของทุกการนำเสนอ ยอดเยี่ยมมากเลย

เบญจมาภรณ์ นาคามดี

การได้ร่วมแลกเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอน ทำให้เห็นข้อดีของแต่ละวิชาเพื่อนำมาปรับวิชาในสาขาวิชาที่รับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ .. ที่สำคัญ ขอเป็นหนึ่งกำลังใจให้บ้านเรา มี model TL แบบฉบับพุทธชินราชค่ะ..

ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆของแต่ละสาขาวิชาเป็นการแลกเปลี่ยนที่มีประโยชน์มากค่ะ

การจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ครูผู้สอนเป็นปัจจัยสำคัญ ต้องมีแนวคิดและทัศนคติที่ดี เปิดใจยอมรับ และไวต่อพฤติกรรมการแสดงออกของนักศึกษา รวมถึงทักษะการใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาได้สะท้อนคิด ย้อนสู่ภายในตนเอง ที่จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนตนเองในอนาคต ซึ่งต้องใช้เวลาในการพัฒนาทั้งครูและศิษย์

ดร.เกศกาญจน์ ทันประภัสสร

การจัดการเรียนการสอนแบบTL ที่ได้ฟังจากแต่ละสาขาวิชา ทำให้ได้แนวทางนำไปปรับใช้เพื่อให้นักศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่พัฒนาการที่ดีขึ้น โดยผู้สอนต้องใช้คำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้สะท้อนคิดจากประสบการณ์ตามสภาพจริงที่ได้รับ ผู้สอนจับประเด็นและกระตุ้นให้นักศึกษาสะท้อนคิดโดยใช้คำถามกระตุ้นอย่างต่อเนื่องภายในเวลาที่กำหนด

จิตติพร ศรีษะเกตุ

ได้รับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆเพิ่มมากขึ้น และแนวทางการประเมินประสิทธิภาพประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีประโยชน์มากๆค่ะ

วิลาวัณย์ สายสุวรรณ

อาจารย์แต่ละท่าน เสนอวิธีการสอนที่เป็นประโยชน์มากเลยคะ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ

สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท