สวรรค์ในอก นรกในใจ


สวรรค์ (สันสกฤต: स्वर्ग, สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม อันเป็นสถานที่ตอบแทน คุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิต "สวรรค์ในอก นรกในใจ" มีความหมายว่า ใจคนเรานั้นเป็นสำคัญ จะดีจะชั่วจะทุกข์จะสุขก็ย่อมขึ้นอยู่ที่ตัวของเรา จะเลือกที่จะคิดหรือที่จะเป็น เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติหรือทางไปไม่ดี หรือนรก ย่อมมีอันต้องหวัง เมื่อจิตผ่องใส ทางไปที่ดี หรือสุคติ (โลกสวรรค์) ย่อมมีอันต้องหวัง คำเปรียบเปรยที่ท่านอุปมาไว้ว่า เสียใจ จะพาไปนรก ดีใจ จะพาไปสวรรค์ สุขใจ เย็นใจ จะพาไปนิพพาน หลักคำสอนทางพุทธศาสนา จึงสอนให้คนเรา ละชั่ว ทำดี และ ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสนั้นเอง.....

สวรรค์ในอก นรกในใจ

 

สวรรค์ในอก นรกในใจ

ดร.ถวิล  อรัญเวศ

          สวรรค์ คืออะไร ?

          นรก ค้ออะไร ?

         คำว่า สวรรค์ (สันสกฤต: स्वर्ग, สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม อันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิต

 

พระพุทธศาสนา

        สวรรค์ในความเชื่อทางศาสนาพุทธ แปลว่า ภูมิหรือดินแดนที่มีอารมณ์เลิศด้วยดี เป็นที่อยู่ของเทวดา เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้ สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์ วิมานคือที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในคิลายนสูตร ของพระไตรปิฎกภาษาบาลี (มีสวรรค์ 6 ชั้น) ดังนี้

 

ชั้นที่ 1 ชั้นจาตุมหาราชิกา

        ตั้งอยู่ ณ เชิงเขาพระสุเมรุ ที่ได้ชื่อสวรรค์ชั้น

จาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ ท้าวธตรฐปกครองพวกคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหกปกครองพวกกุมภัณฑ์ ท้าววิรูปักษ์ปกครองพวกนาค ท้าวเวสสุวรรณปกครองพวกยักษ์


 

ชั้นที่ 2 ชั้นดาวดึงส์

       ตั้งอยู่ที่บนยอดเขาพระสุเมรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33 องค์ โดยมีท้าวสักกะเป็นประธาน และที่สำคัญมีจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่ศาลาสุธรรมา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ


 

ชั้นที่ 3  ชั้นยามา

     มีท้าวสุยามะเป็นจอมเทพ


 

ชั้นที่ 4 ชั้นดุสิต

      มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ


 

ชั้นที่ 5 ชั้นนิมมานรดี

    มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ


 

ชั้นที่ 6  ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

มีท้าววสวัตตีเป็นจอมเทพ

    โดยมีอรรถาธิบาย ดังนี้


 

จาตุมหาราชิกา

         เป็นชื่อสวรรค์ชั้นแรกและเป็นชั้นล่างที่สุดในฉกามาวจร (สวรรค์ในกามภูมิตามคติไตรภูมิ) เรียกสั้น ๆ ว่า ชั้นจาตุม ก็มี มีที่ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาพระสุเมรุ

       จาตุมหาราชิกา โดยศัพท์แปลว่า "แห่งมหาราชทั้งสี่" เมื่อแปลแบบเอาความจึงหมายถึง "แดนเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราชทั้งสี่" หรือ "อาณาจักรของท้าวมหาราช 4 องค์" กล่าวคือ สวรรค์ชั้นนี้เป็นดินแดนที่จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจาตุมหาราช ปกครองอยู่องค์ละทิศ

          เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกามีอายุ 500 ปีทิพย์ (30 วันเป็น 1 เดือน 12 เดือนเป็น 1 ปี) โดย 1 วันและ 1 คืนของสวรรค์ชั้นนี้ เท่ากับ 50 ปีของโลกมนุษย์[3] คำนวณเป็นปีโลกมนุษย์ได้ 9,000,000 ปีโลกมนุษย์ (บางแห่งกล่าวว่าเท่ากับ 90,000 ปีโลกมนุษย์)

       เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ผู้ที่ทำบุญไม่ค่อยเป็น ไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสม บุญ นานๆ ทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือ ทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อนก็ไปสวรรค์ชั้นนี้

          จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล

จอมเทพ 4 องค์ผู้รักษาคุ้มครองโลกใน 4 ทิศ ซึ่งเรียกว่า ท้าวโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล

 

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

      เป็นสวรรค์ชั้นที่ 2 จากสวรรค์ฉกามาพจรทั้ง 6 ชั้น(จัดอยู่ในกามภูมิ) โดยอยู่สูงขึ้นไปถัดจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาขึ้นไป 336,000,000 วา หรือ 168,000 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุอันสูง 80,000 โยชน์ ซึ่งเป็นจุดสูงที่สุดที่ยังเชื่อมอยู่กับมนุสสภูมิหรือโลกมนุษย์ (อาจเทียบได้กับยอดเขาโอลิมปัสในตำนานเทพปกรณัมกรีก) อาณาบริเวณโดยรอบ 80,000 ตารางโยชน์ มีท้าวสักกะหรือพระอินทร์เป็นผู้ปกครอง

         เมืองบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเมืองใหญ่ที่สร้างอย่างงดงามด้วยทองและแก้ว 7 ประการ มีเสียงดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ กลางเมืองดาวดึงส์มีปราสาทใหญ่ที่งดงามเป็นที่ประทับของพระอินทร์

        เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ผู้ที่ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ กระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริ โอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้

        ท้าวสักกะ เทวาธิบดีแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

(ศิลปะพม่า) ท้าวสักกะ เทวาธิบดีแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ศิลปะพม่า) บนสวรรค์ชั้นนี้มีอุทยานที่งดงามมากอยู่ 4 แห่ง คือ

         นันทวนุทยาน หรือ สวนนันทวัน (สวนที่รื่นรมย์) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในสวนด้านที่ใกล้กับตัวเมืองมีสระใหญ่ 2 สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า สระนันทาโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาโบกขรณี มีแผ่นศิลา 2 แผ่น แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า นันทาปริถิปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาปริถิปาสาณ เป็นศิลาที่มีรัศมีเรืองรอง เมื่อจับดูจะรู้สึกว่านิ่มเหมือนขนสัตว์

            ผรุสกวัน หรือ ปารุสกวัน (ป่าลิ้นจี่) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันใต้ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในอุทยานนี้ด้านใกล้ตัวเมือง มีสระใหญ่ 2 สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราโบกขรณี มีก้อนแก้วใส 2 ก้อน ก้อนหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราปริถิปาสาณ อีกก้อนหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราปริถิปาสาณ เป็นแก้วเกลี้ยงและอ่อนนุ่ม

         จิตรลดาวัน (ป่ามีเถาวัลย์หลากสีสวยงาม) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกกของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สระในอุทยานนี้มีชื่อว่า จิตรโบกขรณี และจุลจิตรโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วในอุทยานนี้แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จิตรปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลจิตรปาสาณ

           สักกวัน หรือ มิสกวัน (ป่าไม้ระคน) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันเหนือของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สระใหญ่ในอุทยานนี้มีชื่อว่า ธรรมาโบกขรณี และสุธรรมาโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วมีชื่อว่า ธรรมาปริถิปาสาณ และสุธรรมาปิริถิปาสาณ

 

ยามา

        คือสวรรค์ชั้นที่ 3 ในฉกามาวจร มีท้าวสุยามะเป็น

จอมเทพ พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นยามา ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ 3 อยู่สูงกว่าดาวดึงส์ แต่ต่ำกว่าดุสิต มีท้าวสุยามะเป็นจอมเทพ ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นยามาอยู่สูงกว่าดาวดึงส์ไป 84,000 โยชน์ เทวดาในชั้นนี้มีปราสาทแก้ว ปราสาททอง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีสวน สระบัวสวยงาม เทวดามีกายสูง 8,000 วา เนื่องจากสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงมาก แสงอาทิตย์จึงส่องมาไม่ถึง แต่สวรรค์ชั้นนี้ก็ไม่เคยมืดเพราะมีรัสมีจากกายของเทวดาส่องให้ทั้งภูมินี้สว่างไสวอยู่ตลอดเวลา เมื่อจะกำหนดวันคืน เทวดาในชั้นนี้จะดูจากดอกไม้ทิพย์ หากดอกไม้บานแสดงว่าเป็นเวลารุ่งเช้า หากดอกไม้หุบเป็นเวลากลางคืนฒิพ

          เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะอยากจะสืบทอดและรักษาประเพณีแห่งความดีงามนั้นไว้ ทำนองว่าวงศ์ตระกูลสร้างสมความดีมาอย่างไร ก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่สอนอย่างไร บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำกันไปตามธรรมเนียม เช่น เห็น ปู่ย่าสร้างโบสถ์ บำรุงวัด สร้างพระประธาน ก็ทำตามนั้นด้วย หรือพระภิกษุที่รักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ที่พระต้องมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เมื่อละโลกแล้ว ส่วนใหญ่จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้

         อายุของเทวดาในชั้นยามายาวนานถึง 2,000 ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ 144,000,000 ของปีมนุษย์

 

ดุสิต

          พระโคตมพุทธเจ้าตรัสถึงสวรรค์ชั้นดุสิต ว่าเป็นสวรรค์ชั้นที่ 4 อยู่สูงกว่ายามา แต่ต่ำกว่านิมมานรดี มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่าชั้นยามาไป 168,000 โยชน์ มีปราสาทแก้ว ปราสาททอง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีสวน สระบัวสวยงามยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นที่อยู่ต่ำกว่า เป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายและว่าที่พระอัครสาวก ในปัจจุบันพระศรีอริยเมตไตรยและว่าที่พระอัครสาวกของพระองค์จึงประทับอยู่ ณ ภูมินี้

           เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ทำบุญเพื่อปรารถนาสงเคราะห์โลก ปรารถนาให้ชาวโลกมีความสุข มีความคิดที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อสงเคราะห์โลก เพื่อนมนุษย์ และสรรพ-สัตว์ทั้งหลายด้วย เมื่อละโลกแล้วก็จะไปสวรรค์ ชั้นนี้

            อายุของเทวดาในชั้นดุสิตยาวนานถึง 4,000 ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ 576,000,000 ของปีมนุษย์

 นิมมานรดี

          เป็นสวรรค์ชั้นที่ 5 อยู่สูงกว่าชั้นดุสิต แต่ต่ำกว่าชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่าชั้นดุสิตไป 336,000 โยชน์ มีวิมานทอง กำแพงแก้ว กำแพงทองล้อมรอบ แผ่นดินเป็นทองราบเรียบเสมอกันโดยตลอด เทวดาในชั้นนี้ปรารถนายินดีในสิ่งใดก็สามารถเนรมิตขึ้นมาได้เองตามปรารถนาทุกประการ จึงได้ชื่อว่า "นิมมานรดี" (ยินดีในการเนรมิต)

 

          เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เห็นผู้อื่นทำบุญแล้วยกย่อง ส่งเสริม จึงทำบุญนั้นบ้าง อยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง เมื่อละโลกแล้ว จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้

        อายุของเทวดาในชั้นนิมมานรดียาวนานถึง 8,000 ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ 2,304,000,000 ของปีมนุษย์

 

ปรนิมมิตวสวัตดี

      เป็นสวรรค์ชั้นที่ 6 อยู่สูงกว่านิมมานรดี แต่ต่ำกว่าพรหมภูมิ มีท้าววสวัตดีเป็นจอมเทพเพียงพระองค์เดียว ไตรภูมิพระร่วงระบุว่าสวรรค์ชั้นนี้อยู่สูงกว่านิมมานรดีไป 672,000 โยชน์ และระบุต่างจากพระไตรปิฎกว่าสวรรค์ชั้นนี้มีจอมเทพสององค์คือ ท้าวปรนิมมิตวสวัตดีเทวราชและพญามาราธิราช หากว่าเทวดาในสวรรค์ชั้นนี้ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่ต้องเนรมิตขึ้นเอง แต่จะมีเทวดาองค์อื่นมาเนรมิตให้ จึงได้ชื่อว่า "ปรนิมมิต" (ผู้อื่นเนรมิต)

          ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจ ในบุญที่ทำนั้น เมื่อละโลกแล้วจะบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้  อายุของเทวดาในชั้นปรนิมมิตวสวัตดียาวนานถึง 16,000 ปีทิพย์ ซึ่งเท่ากับ 8,216,000,000 ปีมนุษย์

 

(อ้างอิง

สวรรค์. เข้าถึงเมื่อ 12 ตุลาคม 2563, จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/สวรรค์

จาตุมหาราชิกา. เข้าถึงเมื่อ 13 ตุลาคม 2563,https://th.wikipedia.org/wiki/จาตุมหาราชิกา

ดาวดึงส์. เข้าถึงเมื่อ 13 ตุลาคม 2563, จากhttps://th.wikipedia.org/wiki/ดาวดึงส์)

 

กลุ่มศาสนาอับราฮัม

คริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก

          ในคริสตจักรโรมันคาทอลิก "สวรรค์" มีความหมายต่างจากนิกายโปรเตสแตนต์ที่ถือว่าสวรรค์เป็นสถานที่ทางกายภาพ ชาวคาทอลิกเชื่อกันว่าความรักต่อพระเป็นเจ้าและต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่ได้ถูกทำลายด้วยความตายแต่ยังคงอยู่ต่อไป โดยอาศัยพระคริสต์ผู้ทรงชีวิตร่วมกับพระบิดา ดังนั้น เมื่อคนหนึ่งตายจากโลกนี้ไป คนที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ยังมีความสัมพันธ์กับเขาได้ เพราะเขามีชีวิตในความรักของพระบิดา ผู้ล่วงลับมิได้ขาดสายสัมพันธ์แห่งความรักต่อผู้เป็น และพร้อมกับพระคริสต์ เขารอให้ผู้ที่ยังมีชีวิตในโลกจะไปร่วมกับเขาใน "เยรูซาเลมใหม่" หรือ "แผ่นดินใหม่" ที่เราเรียกว่า "สวรรค์"

         พระวรสารใช้โวหารพรรณนาสภาพชีวิตกับพระเจ้าว่า เป็นชีวิตที่ทุกคนรวมกันฉันท์พี่น้องกับพระบิดา หรือเปรียบกับงานเลี้ยงที่ทุกคนได้รับเชิญไปร่วม หรืออธิบายว่าเป็น

การชมเชยพระพักตร์พระผู้เป็นเจ้า

       ที่จริง เรื่องชีวิตกับพระผู้เป็นเจ้าที่เรียกว่าอยู่สวรรค์ พ้นสติปัญญาของมนุษย์ ส่วนผู้ที่ยังอยู่ในโลก เปาโลอัครทูตอธิบายว่า สำหรับเขาการกลับคืนชีพได้เริ่มแล้ว เพราะพระจิตของพระเยซูผู้ทรงกลับคืนชีพ ทรงโปรดให้เขามีชีวิตใหม่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ปรากฏภายนอก ผู้ที่ตายโดยมีชีวิตของพระคริสต์ในตัวเขา มีส่วนในการกลับคืนชีพของพระองค์แล้ว อย่างไรก็ดี เขายังจะต้องรอคอยการกลับคืนชีพของทุกคนรวมกันในวันสุดท้าย เหตุว่า ประชาคมมนุษย์ยังไม่ได้รับการรวบรวมในพระคริสตวรกายอย่างครบบริบูรณ์

 

โปรเตสแตนต์

         ในคริสตจักรโปรเตสแตนต์ "แผ่นดินสวรรค์" หรือ "แผ่นดินโลกใหม่" หรือ "นครเยรูซาเล็มใหม่" หรือ "สวรรค์" หมายถึง สถานที่ที่พระเป็นเจ้าสร้างขึ้นเพื่อเป็นมรดกแก่ผู้ที่ชอบธรรมในสายพระเนตรของพระองค์ และผู้ที่เชื่อในการไถ่และได้รับความรอดจากพระบุตรพระเป็นเจ้า (คือรอดพ้นจากความพินาศด้วยความเชื่อนั้น) ความรอดนั้นเป็นความรอดส่วนบุคคล ไม่มีผู้ใดสามารถร้องขอ/วอนขอความรอดจากพระเจ้าแทนกันได้ ดังนั้นจะสังเกตได้ว่าในคริสตจักรโปรเตสแตนต์จะไม่มีการวอนขอจากพระนางมารีย์พรหมจารี หรือนักบุญต่าง ๆ ตามคริสตจักรโรมันคาทอลิก และในจุดนี้เองที่เป็นความเชื่อที่ต่างกันที่สุดในนิกาย คริสตจักรโปรเตสแตนต์ยึดถือตามคัมภีร์ไบเบิลเป็นหลัก นั่นคือเชื่อว่าเรื่องราวในพระคัมภีร์ผู้ที่บันทึกได้รับการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงมาจาก สวรรค์

          อนึ่ง เมื่อพูดถึงสวรรค์ นั้น ก็นึกถึงการแสดงธรรมในสมัยพุทธกาลซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงสอนภิกษุให้แสดงธรรมไปตามลำดับ ตามจริตคนฟัง จะได้สนใจ เกิดศรัทธาในธรรม

และตามพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ซึ่ง

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) หรือ

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ที่ให้คำอธิบายไว้ว่า

          อนุปุพพิกถา 5 คือเรื่องที่กล่าวถึงตามลำดับ, ธรรมเทศนาที่แสดงเนื้อความลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยของผู้ฟังให้ประณีตขึ้นไปเป็นชั้น ๆ จนพร้อมที่จะทำความเข้าใจในธรรมส่วนปรมัตถ์ ( progressive sermon; graduated sermon; subjects for gradual instruction)

อันได้แก่

       1. ทานกถา (เรื่องทาน, กล่าวถึงการให้ การเสียสละเผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน — talk on giving, liberality or charity)

       2. สีลกถา (เรื่องศีล, กล่าวถึงความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม — talk on morality or righteousness)

       3. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์, กล่าวถึงความสุขความเจริญ และผลที่น่าปรารถนาอันเป็นส่วนดีของกาม ที่จะพึงเข้าถึง เมื่อได้ประพฤติดีงามตามหลักธรรมสองข้อต้น — talk on heavenly pleasures)

       4. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษแห่งกาม, กล่าวถึงส่วนเสีย ข้อบกพร่องของกาม พร้อมทั้งผลร้ายที่สืบเนื่องมาแต่กาม อันไม่ควรหลงใหลหมกมุ่นมัวเมา จนถึงรู้จักที่จะหน่ายถอนตนออกได้ — talk on the disadvantages of sensual pleasures)

       5. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งความออกจากกาม, กล่าวถึงผลดีของการไม่หมกมุ่นเพลิดเพลินติดอยู่ในกาม และให้มีฉันทะที่จะแสวงความดีงามและความสุขอันสงบที่ประณีตยิ่งขึ้นไปกว่านั้น — talk on the benefits of renouncing sensual pleasures)

       ทั้งนี้เพราะตามปกติ พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดง

พระธรรมเทศนาแก่คฤหัสถ์ ผู้มีอุปนิสัยสามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษ ทรงแสดงอนุปุพพิกถานี้ก่อน แล้วจึงตรัสแสดงอริยสัจจ์ 4 เป็นการทำจิตให้พร้อมที่จะรับ ดุจผ้าที่ซักฟอกสะอาดแล้ว ควรรับน้ำย้อมต่างๆ ได้ด้วยดี เป็นการสอนจากง่ายไปหายาก

จากที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ไปหาสิ่งที่ลุ่มลึก

       สำนวนว่า "สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ" หรือ

สวรรค์อยู่ที่อก นรกอยู่ที่ใจ นั้น มีผู้ที่ได้ถอดบทเรียนนี้

ไว้ว่า

          คำตอบที่ดีที่สุด - เลือกโดยเพื่อนๆ ที่ช่วยกันโหวต

คำพังเพย "สวรรค์ในอก นรกในใจ" มีความหมายว่า

ใจคนเรานั้นเป็นสำคัญ จะดีจะชั่วจะทุกข์จะสุขก็ย่อมขึ้นอยู่ที่ตัวของเรา จะเลือกที่จะคิดหรือที่จะเป็น

        ซึ่งคำพังเพยนี้ท่านขุนวิจิตรมาตราได้อธิบายไว้ในหนังสือสำนวนไทย ว่าเทียบได้กับพุทธสุภาษิตที่ว่า

          "นรกไม่มีผู้ใดก่อสร้างขึ้น คือไฟโกรธในใจให้เกิดไฟนรกและเผาผลาญเจ้าของไฟที่ให้เกิดขึ้นนั้น เมื่อผู้ใดทำการชั่ว ผู้นั้นจุดไฟนรกขึ้นและผู้นั้นย่อมไหม้ไปด้วยไฟของตนเอง"

 

ในโคลงโลกนิติสำนวนเก่า

ได้มีโคลงกระทู้"สวรรค์ในอกนรกในใจ" ดังนี้

.........สวรรค์ แสวงสุขได้.........เสียกรรม

ในอก อิ่มบุญธรรม....................เที่ยงได้

นรก รักบาปนำ........................ไปสู่ ทุกข์แฮ

ในใจ ให้สุขให้.........................ทุกข์ด้วยใจเอง ฯ

 

อธิบายเพิ่มเติม ด้วยโคลงในหนังสือ "ปัญหาขัดข้องในวชิรญาณ ดังนี้

............เราดีเขาว่าร้าย..............ช่างเขา

สวรรค์นรกอกใจเรา...................ย่อมแจ้ง

ใช่ควรจะถือเอา........................เป็นมั่น

ดีชั่วอาจกลั่นแกล้ง....................กล่าวได้ดุจจริง ฯ

           ทำดีย่อมได้ดี อย่าท้อแท้ และ

เกิดเป็นคน จำต้องทนคำเขาด่า

จะทำดี ทำซ่า ถูกด่าหมด

แม้ทำซื่อ ถูกด่าว่าไม่คด

พอเลี้ยวลด ถูกด่าว่าไม่ตรง

       เมื่อจิตเศร้าหมอง ทุคติหรือทางไปไม่ดี หรือนรก ย่อมมีอันต้องหวัง เมื่อจิตผ่องใส ทางไปที่ดี หรือสุคติ (โลกสวรรค์)

ย่อมมีอันต้องหวัง

        นอกจากนี้ มีคำเปรียบเปรยที่ท่านอุปมาไว้ว่า

        เสียใจ จะพาไปนรก

        ดีใจ จะพาไปสวรรค์

        สุขใจ เย็นใจ จะพาไปนิพพาน

          อนึ่งในบทเพลง “สวรรค์เมืองลาว” ก็ได้พรรณนาถึงความอยู่ดีมีสุขของชาวลาว (ประดุจสวรรค์) เพราะประเทศลาวยังมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นห้วย หนอง คลองบึง ความเจริญด้านเทคโนโลยี ตลอดถึงขนบธรรมเนียมประเพณอันดีงามของชาวลาว

ดังบทเพลงที่ว่า    https://youtu.be/e1BeXmMtI9E

 

 

ซำบายดีพี่ น้องเอ้ย

ไผว่าเมืองลาวเศร้า

แล้วแต่ไผสิหว่า

มันสิโป้บาดหล่า

บักแตงซ้างหน่วยปาย

ดอกนา พี่น้องเอย

 

โอ้น้อ ไผว่าเมืองละแม่นลาวเศร้า

พี่น้องเฮา ละอย่าไปเซื่อ

พระธาตุหลวง ฮูงเฮืองจั่งเว้า

ซิไปเศร้า เด้อแม่นจั่งได๋

แม่นบ่ แม่นบ่

 

นี่เด้อ มองทางได๋ กะยังใสยังเลี่ยม

เทียมทันบ้านน้องเมืองพี่

เทคโนโลยี เด้อละแม่นรุดหน้า

เขื่อนไฟฟ้า สว่างไสว วิไลงามตา

 

นี่เด้อ ยังอุดมสมบูรณ์สู่หม่อง

คูคลอง ห้วยหนอง น้ำท่า

ธรรมชาติ ภูผา ป่าไม้

งามฮ้าย เบิ่งสะออน

ออนซอน แท้เด

 

โอ้นอ งามแท้เด้ ประเพณีบ้าน

ยิ้มหวาน เว้านัวหัวม่วน

มีแขกไป ไทมา แล่นซ่วน

หวานล้ำ ซำบายดี

นี่คือเมืองลาว

 

** โอ้หลวงพระบาง

นั้นยังมีมนต์ดลใจ

เวียงจันทน์ บริคำไซย

ยังพาใจนี่ให้ไหลหลง

บ่แก้ว เชียงขวาง

สาละวัน นั้นยังมั่นคง

อุดมไซ ทุ่งไหงามโล่ง

แม่น้ำโขงยังคงเอื่อยไหล

 

คำม่วน ซำเหนือ

งามเหลือ ไซยะบุรี

สะหวันนะเขตนั้นมี

ของดีๆ พาให้ชื่นใจ

แขวงอัตตะปือ

หัวพัน เซกอง นั้นไง

จำปาสัก ปากเซแดนใต้

ชั่งงามหลาย เป็นตาน่าเบิ่ง

 

แดนพงสาลี หลวงน้ำทา

ป่าเหนือนั้นหนอ

งามแฮงปานปั้นปานหล่อ

ผู้สาวหนอ เบิ่งท้ายเปิ่งเซิง

โอ้ถิ่นแดนลาว จั่งแม่นงามเป็นตาน่าเบิ่ง

ปานเวียงวัง สวรรค์ชั้นเทิง

เบิ่งมองไปพาให้สุขสันต์

สวรรค์เมืองลาว………….

 

ความของคำภาษาถิ่นบางคำจากบทเพลง

         ช่วงเกริ่นมีความหมายดังนี้ "สวัสดีพี่น้อง ใครนะว่าเมืองลาวเศร้า ก็แล้วแต่ใครจะคิด มันอาจจะยิ่งใหญ่ในตอนท้าย 

เหมือนผลแตงเครือสุดท้ายก็ได้"

 

ไผว่า = ใครว่า

จั่งเว้า = ค่อยพูด

ทางใด๋ = ทางใด

สู่หม่อง = ทุกที่

เบิ่งสะออน = ดูน่าชื่นชม

เว้านัวหัวม่วน = พูดจาไพเราะ ยิ้มแย้ม

น่าเบิ่ง = น่าดู, น่าชื่นชม

ปานปั้นปานหล่อ = ดั่งหล่อหลอมจากเบ้าพิมพ์

ชั้นเทิง = ชั้นบน

ฮูงเฮือง = รุ่งเรือง

แม่นจั่งได๋ = ได้อย่างไร

ยังใสยังเลี่ยม = ยังสดใสรุ่งเรือง

งามฮ้าย = งามเลิศเลอ

ออนซอนแท้เด = พากภูมิใจมาก

แล่นซ่วน = ต้อนรับด้วยความยินดี

งามแฮง = งดงามมาก

ท้ายเปิ่งเซิง = บั้นท้ายผายงอน

     

สรุป

     “สวรรค์ในอก นรกในใจ” นั้น คือคนเราจะสุขหรือทุกข์นั้นอยู่ที่ใจเป็นสำคัญ
เพราะทุกข์ อยู่ที่ใจเราถือ สุขอยู่ที่ใจเรารู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น
จิตใจไม่โมโหโทโส ใจมีเมตตาความปรารถนาดี เป็นที่ตั้ง และถ้า
เราทำอะไรด้วยความศรัทธาเชื่อมั่นใน

กฎแห่งกรรมด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์เกิดความดีใจ 

สุขใจ ผลบุญนั้นจะทำให้มีความสุข ความบันเทิงเบิกบานใจ แม้ยัง

ไม่ตาย (ยังไม่ได้ไปสวรรค์) แต่ถ้าเราทำความชั่ว ผิดศีลธรรม

ผิดกฎหมาย ก็จะได้รับโทษ ตามกฎหมายบ้านเมือง ถูกจำคุก

หรือประหารชีวิต ตามโทษานุโทษ (ประดุจไปนรก) ดังนั้น

หลักคำสอนทางพุทธศาสนา จึงสอนให้คนเรา ละชั่ว ทำดี และ

ทำใจให้บริสุทธิ์ผ่องใสนั้นเอง.....

 

 

 

 

 

 

ที่มา

 

https://www.isangate.com/new/song-word/65-sawan-muang-lao.html

http://www.kalasin3.go.th/view.php?article_id=2360

https://bit.ly/3DkUjEY

https://youtu.be/e1BeXmMtI9E

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 700046เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2022 03:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2022 03:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท