จะเชื่ออย่างไร จึงจะไม่ถูกหลอกลวง


แนวปฏิบัติในการที่จะชื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดขอให้ ใช้หลักกาลามสูตร ดังนี้ 1. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพราะฟังตามกันมา 2. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพราะถือสืบๆกันมา 3. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพราะเล่าสืบต่อมา 4. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพราะอ้างตำรา หรือคัมภีร์ 5. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ 6. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน 7. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล 8. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว 9. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ 10.อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา ก่อนจะเชื่อ สิ่งใด ให้พิสูจน์ ก่อนจะพูด ให้ยั้งคิด วินิจฉัย ก่อนจะทำ กิจการ งานใด ๆ ให้เขาที คิดให้ถ้วนถี่ จึงจะดีตามมา

จะเชื่ออย่างไร จึงจะไม่ถูกหลอกลวง

 

จะเชื่ออย่างไร จึงจะไม่ถูกหลอกลวง

                                                                                                                          ดร.ถวิล อรัญเวศ

       สังคมโลกปัจจุบัน มีผู้คนเป็นจำนวนมาก แต่ละคนก็ประกอบอาชีพต่าง ๆ นานา

เพื่อดำรงชีพของตนเอง บ้างก็ประกอบอาชีพสุจริต บ้างก็อยากรวยทางลัด บ้างก็ต้มตุ๋น

เขากิน สุดแท้แต่จะห้ามใจได้

       เรื่องการโกหกหลอกลวงกันนี้ เป็นสิ่งที่มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล หรือก่อน

พุทธกาล ดังนั้น ทางพุทธศาสนา จึงได้วางหลักของการที่จะเชื่ออะไร คิดให้ถ้วนถี่ก่อน

ไม่อย่างนั้น อาจถูกเขาหลอกได้โดยง่าย

       หลักการเชื่อตามแนว “กาลามสูตร” นั้น พระสูตรคือกาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 ได้ตรัสถึงวิธีปฏิบัติในเรื่องหลักความเชื่อของชาวพุทธ 10 ประการ นั้น คือหากว่าเราจะเชื่ออะไรก็ตามก็ต้องมีข้อมูลที่เราได้พบจากข้อมูลต้นตอ หรือปฐมภูมิก่อน ถ้าเพียงข่าว หรือการบอกเล่าเท่านั้น ยังไม่พอ แม้จะดูภาพหรือคลิป ที่เขานำมาแสดงให้เห็นก็ตาม อย่าเพิ่งด่วนเชื่อ เพราะปัจจุบันนี้ คลิปต่าง ๆ สามารถตัดต่อได้โดยไม่ยากนัก ทำเสมือนจริง ยังได้เลย

      แนวปฏิบัติในการที่จะชื่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดขอให้ ใช้หลักกาลามสูตร ดังนี้

1. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพราะฟังตามกันมา

2. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพราะถือสืบๆกันมา

3. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพราะเล่าสืบต่อมา

4. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพราะอ้างตำรา หรือคัมภีร์

5. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ

6. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน

7. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล

8. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว

9. อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้

10.อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

 

          ต่อเมื่อใด ที่เราได้รู้ ได้เห็นด้วยตนเองเป็นที่ประจักษ์ชัด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล มีโทษ เป็นกุศลไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

        สูตรนี้ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติสูตร ที่ชื่อกาลามสูตรเพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่า

กาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาว

เกสปุตตะนิคมในแคว้นโกศล ทรงสอนไม่ให้เชื่องมงายไร้เหตุผล

 

ขอฝาก

ก่อนจะเชื่อ สิ่งใด ให้พิสูจน์

ก่อนจะพูด ให้ยั้งคิด วินิจฉัย

ก่อนจะทำ กิจการ งานใด ๆ ให้เขาที

คิดให้ถ้วนถี่ จึงจะดีตามมา

 

 

---------------

 

 

 

 

แหล่งข้อมูล

https://goo.gl/n5Em22


 

หมายเลขบันทึก: 698621เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2022 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2022 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท