สงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ.1914 – 1918)


สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

1.ลัทธิชาตินิยม (Nationalism) 

         สงครามฟรังโก-ปรัสเซีย (Franco-Prussian War) หรือสงครามฝรั่งเศส-เยอรมัน และในฝรั่งเศสเรียกกันว่า สงคราม 

ปี 1870  เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1870-1871 (19 ก.ค. ค.ศ. 1870 ถึง 28 ม.ค. ค.ศ. 1871)

สาเหตุของสงคราม

          มาจากความทะเยอทะยานของปรัสเซียที่จะขยายอำนาจในการรวมชาติเยอรมัน

          ความเกรงกลัวของฝรั่งเศสในการเปลี่ยนแปลงสมดุลแห่งอำนาจในยุโรป

ผลของสงคราม

1. ฝรั่งเศสต้องยกแคว้นอัลซาซ-ลอร์แรน และเมซให้เยอรมนี ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวน 5,000 ล้านฟรังก์ตาม

ข้อตกลงในสนธิสัญญาแฟรงก์เฟิร์ต (Treaty of Frankfurt) 

 2. ทำให้รัฐเยอรมันสามารถรวมตัวกัน และต่อมาสถาปนาเป็นจักรวรรดิ เยอรมันทั้งนี้เพราะบิสมาร์กเชื่อมั่นว่านโยบาย

“เลือดและเหล็ก” เท่านั้นที่จะช่วยให้ รัฐเยอรมันรวมกันเป็นประเทศได้

3. ฝรั่งเศสต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็น สาธารณรัฐ

4. ก่อให้เกิดการเปลี่ยนอำนาจ และการเกิดลัทธิชาตินิยม 

5. อิตาลีรวมประเทศได้

6. เกิดกระบวนการชาตินิยมในคาบสมุทรบอลข่าน ที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟ ที่ต้องการมีประเทศเป็นของตนเอง

2. ลัทธิจักรวรรดินิยม
          อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้ประเทศต่างๆแสวงหาตลาดระบายสินค้าและแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงาน

อุตสาหกรรมส่งผลจให้เกิด ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ระหว่างประเทศขึ้น

3. การแบ่งกลุ่มพันธมิตรในยุโรปที่เกิดจากความขัดแย้งกัน ในระหว่างประเทศมหาอำนาจในช่วงนั้น ทำให้มีการแสวงหาพันธมิตรไว้เป็นพวกในกลุ่มของประเทศตน  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

1. ไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย – ฮังการีและอิตาลี ต่อมาอิตาลีถอนตัว กลุ่มนี้เรียกว่า 

“กลุ่มมหาอำนาจกลาง” (Central Powers)

 

2. กลุ่มไตรพาคี (Triple Entente) ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซียต่อมามีอิตาลีเข้าร่วมกลุ่มด้วยเรียกว่า 

“กลุ่มสัมพันธมิตร” (Allied Powers)

 

4. ความขัดแย้งในคาบสมุทรบอลข่าน  ได้แก่ ดินแดนในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทะเลดำ(ซึ่งในปัจจุบันเป็นดินแดน

บางส่วนของอดีตยูโกสลาเวีย แอลเบเนีย บัลแกเรียและกรีซ )จะรวมเรียกว่าคาบสมุทรบอลข่าน 

สาเหตุของปัญหาเกิดจากการพยายามรักษาอำนาจและอิทธิพลระหว่างออสเตรีย –ฮังการีกับรัสเซียโดยรัสเซียต้องการใช้คาบสมุทร

จักรวรรดิออสเตรีย – ฮังการี ต้องการรักษาไว้เป็นตลาดการค้า และเขตอิทธิพลทางการเมืองโดยได้รับการสนับสนุนจาก 

ส่วนรัสเซียและอิตาลี ได้พยายามเข้ามามีอิทธิพลในบริเวณนี้ โดยแต่ละประเทศก็พยายามรักษาอิทธิพลและอำนาจของตนไว้

เยอรมัน  อิตาลี พยายามไม่ให้ออสเตรีย-ฮังการีขยายอิทธิพลเพิ่มขึ้น

รัสเซีย ต้องการหาทางออกทะเลโดยผ่านดินแดนในบริเวณนี้

อังกฤษ และฝรั่งเศส ไม่ต้องการให้ชาติเหล่านี้ขยายอิทธิพลให้มากกว่านี้

บอลข่านเป็นทางออกสู่ทะเลทางใต้ของตน และต้องการขึ้นเป็นผู้นำของชนชาติสลาฟ (Slav)ในคาบสมุทรบอลข่าน อันมีเชื้อสาย

เดียวกับรัสเซียเป็นบริเวณที่มีประชากรเป็นชาวสลาฟ กรีก และเตริ์ก ให้มีความแตกต่าง ในด้านสังคม ภาษา วัฒนธรรมและ

ประวัติศาสตร์ของชนชาติ

 

 

                                                              คาบสมุทรบอลข่านในปัจจุบัน

ชนวนสงคราม

     วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เกิดการลอบปลงพระชนม์ อาร์ช ดยุก ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ 

(Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ขณะเสด็จเยือนกรุงซาราเจโว

 เมืองหลวงของแคว้น บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา โดย กัฟรีโล ปรินซีป  (Gavrilo Princip) นักชาตินิยมชาวเซอร์เบีย 

  ออสเตรีย-ฮังการีเชื่อว่า เซอร์เบียอยู่เบื้องหลังในการกระทำดังกล่าว จึงยื่นคำขาดต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย เป็นข้อเรียกร้อง 

10 ประการ ซึ่งมีเจตนาทำให้ยอมรับไม่ได้และจุดชนวนสงครามขึ้น

 

         

                         Archduke Francis Ferdinand                                     Gavrilo Princip

 

ผลของสงครามโลกครั้งที่ 1

      1. ด้านสังคม  มีทหารเข้าร่วมในสงครามประมาณ 65 ล้านคน เสียชีวิตประมาณ 13 ล้านคน  บาดเจ็บประมาณ 20 ล้านคน 

พิการตลอดชีวิตประมาณ 7 ล้านคน 

ด้านเศรษฐกิจ

          สงครามมีการทุ่มงบประมาณอย่างมหาศาลใช้ในการทำสงครามทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ได้บชัยชนะในสงคราม ไว้ว่าจะเป็นอาวุธที่ทันสมัยต่างๆซึ่งได้ทำความเสียหายต่อทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้างเป็นวงกว้าง ทั้งประเทศที่ชนะสงครามและแพ้สงครามประเทศที่แพ้สงครามต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม และประเทศที่ชนะสงครามก็ต้องดูแลผู้ประสบภัยจากสงคราม จนทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ไปทั่วโลก

หมายเลขบันทึก: 698474เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2022 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2022 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท