การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) น่าจะเป็นอย่างไร


แต่จะสอนให้คนอื่นพัฒนาเรื่องนี้ได้อย่างไร ผมพยายามมาหลายปี สอนให้ "คนรู้จักฟัง" นี่ยากจริงๆ เพราะ เมื่อเขาฟังไม่รู้เรื่องก็จะตีความส่งเดช ไปต่างๆนาๆ เรียกว่า คุยกันไม่รู้เรื่อง ไปไหนมา สามวาสองศอกเลยละครับ

 หลังจากผมได้ยินเรื่องการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อการจัดการความรู้นี้มาระยะหนึ่ง ทำให้ผมนึกถึงหนังสือที่ผมเคยอ่านเกี่ยวกับ การฟังอย่างไรจึงจะได้ยิน  

แค่ชื่อก็รู้แล้วว่าแปลมาจากภาษาต่างประเทศ แต่ผมก็ยังไม่เคยอ่านหนังสือการฟังอย่างลึกซึ้ง มาก่อน

ตอนนี้ก็พยายามถามคุณอุทัย อันพิมพ์ ว่ามีหนังสือให้อ่านบ้างไหม ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ 

ผมก็เลยถือโอกาสคิดเล่นๆ นำทางไปก่อน ถือเป็นการลับสมองเล่น พอได้หนังสือก็จะได้เปรียบเทียบว่าเราคิดเองกับที่คนอื่นคิดนั้นต่างมากน้อยแค่ไหน 

ผมเข้าใจว่าการฟังอย่างลึกซึ้งนั้น เป็นความสามารถที่ทำให้เราสามารถสื่อสารกันได้ดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน  

แต่ใครล่ะจะมีความสามารถในการฟังอย่างลึกซึ้งนั้น ยังเป็นปัญหาอยู่ และเรามีแนวทางที่จะพัฒนาได้อย่างไร 

ผมขอถอดจากประสบการณ์การทำงานก็แล้วกัน เปรียบเทียบระหว่างการฟังที่เราเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง และการฟังที่ไม่ค่อยเข้าใจก็แล้วกัน 

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการฟังอย่างลึกซึ้งที่ผมพอจะคิดได้ ก็คือ ผมได้อาศัยจาก

  •  การเตรียมการแบบมองประเด็นเชิงระบบ ถึงประเด็นที่จะมีคนพูด ว่า
    •  คนนำเสนอ
      •  เป็นใคร นิสัยใจคอเป็นอย่างไร
      •  เกี่ยวข้องหรือรู้เรื่องนั้นในมุมไหน
      •  นำเสนอด้วยวัตถุประสงค์และเป้าหมายใด
    •  เรื่องที่พูดนั้น
      •  เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร
      •  มีบริบทขอเรื่องเป็นอย่างไร
      •  มีสาระสำคัญเน้นไปทางไหน
      •  มีความละเอียดลึกซึ้งแค่ไหน ระดับไหน
  • เข้าใจศัพท์เฉพาะและความหมายที่นำเสนอ
    • เข้าใจภาษาถิ่น และภาษาวิชาการ
    •  มีการตีความหมายของคำ
    •  การพัฒนาความเข้าใจประเด็นในการนำเสนอ
    •  รีบจัดกรอบข้อมูลให้ได้
    •  ถ้าไม่เข้าใจต้อง
      •  รีบจับกรอบประเด็น และ
      • จับบริบทของเรื่องให้ได้
    • จัดกรอบข้อมูล
    •  วางข้อมูลที่ได้ บันทึกช่วยจำ ทั้งกรอบและข้อมูล
    •  ย้อนไปดูกรอบข้อมูล ปรับเปลี่ยน
    •  ตรวจสอบความสอดคล้องของสิ่งที่ได้ยินมา
    • ทบทวนทั้งคำ ความหมาย และบริบท
  • มีความพร้อมจะรับข้อมูลด้านต่างๆ 
    •   เมื่อมีการนำเสนอ เราก็สามารถรับข้อมูลได้โดยทันที 

แต่จะสอนให้คนอื่นพัฒนาเรื่องนี้ได้อย่างไร

ผมพยายามมาหลายปี สอนให้ "คนรู้จักฟัง" นี่ยากจริงๆ

เพราะ เมื่อเขาฟังไม่รู้เรื่องก็จะตีความส่งเดช ไปต่างๆนาๆ เรียกว่า คุยกันไม่รู้เรื่อง ไปไหนมา สามวาสองศอกเลยละครับ

ผมสังเกตว่าคนที่มีความสามารถด้านนี้ที่สูงมาก

พอผมถามอะไร

ท่านจะตอบแบบรู้ว่าผมถามเพื่ออะไร ทำไม และควรจะตอบอย่างไร จึงจะตรงคำถาม แบบไม่ต้องสาธยาย

แต่ส่วนใหญ่ที่ผมเจอ ต้องมีการแปลคำถาม สามพันห้าร้อยครั้ง ก็ยังตอบไม่ตรงคำถาม หรือ ไม่เข้าใจคำถาม ให้ถามใหม่ ประมาณนั้น

เรียกว่า กลับไปเกิดมาใหม่ดีกว่ามานั่งรอคำตอบครับ

ผมจึงคิดว่าน่าจะมาจาก 5 ประเด็น เป็นอย่างน้อย

1.    ความสามารถของคนถาม ให้เข้าใจง่าย 

2.    ความสามารถในการฟังของคนถูกถาม

3.    ความซับซ้อนของเรื่อง

4. ความสามารถในการตอบ

5. ความสามารถในการฟังของผู้ถาม

และประเด็นในการพูดผมว่าเรื่องนี้ยังมีความซับซ้อนพอสมควร

ใครจะช่วยให้ผมเข้าใจได้ดีขึ้นบ้างครับ

หรือถ้ามีข้อมูลหลักการ วิธีการแล้ว เติมมาให้หน่อยนะครับ

หมายเลขบันทึก: 69778เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 06:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

กราบเรียนอาจารย์  เมื่อสองวันก่อนผมได้ประชุมเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของผม  ถามเพื่อให้ช่วยกันตอบว่า อะไรคือสิ่งดีที่เราอยากให้เกิดขึ้นในหน่วยงานของเรา  และอะไรคือสิ่งไม่ดีที่เราไม่อยากให้มี     คำตอบของข้อหลังมักจะมีความนัย หรือมีเบื้องหลังอยู่ในนั้น  ซึ่งพอฟังแล้วผมพยายามคิดว่าอะไรคือสิ่งที่อยู่เบื้องหลังนั้น  อาจจะเป็นการฟังอย่างลึกส่วนหนึ่งไหมครับ

อีกประเด็นหนึ่งของการฟังกันไม่เข้าใจที่เกิดจากผู้พูดนั้น (ผมจับจากการประชุมเดียวกัน) คือบางครั้งความสามารถในการใช้ภาษาของผู้พูดยังไม่ดี หรือมิฉะนั้นก็ไม่มีคำที่เหมาะสมให้เลือกใช้  ผมเข้าใจว่าอาจจะเป็นเหตุหนึ่งที่พูดกันแล้วไม่รู้เรื่องซึ่งทางปรับปรุงคือต้องพยายามฟังอย่างลึก อย่างตั้งใจ จึงจะจับความเบื้องหลังนั้นออกมาได้

การฟังอย่างลึกซึ้ง   ผมเห็นว่าสอดคล้องกับหลักธรรม

   โยนิโสมนสิการ    คือ รับรู้ด้วยปัญญา

เรียน ท่านนายแพทย์ สาโรจน์ ผมยังนับถือหลักการของการมองเชิงระบบเป็นเครื่องมือนำทางในการทำความเข้าใจกันครับ และแนวคิดนี้แหละที่จะทำให้ทุกคนสัมพันธ์กันด้วยปัจจัยเชิงระบบ และทำให้คนเข้าในกันได้โดยง่ายครับ แต่ตำราฝรั่ง ที่ ดร. จันทวรรณ ฝาก ลิงค์ http://gotoknow.org/blog/think/24499 ไว้นั้น ไม่มีประเด็นรายละเอียด พอที่จะเข้าใจได้ง่าย ทำให้ผมเขียนเรื่องนี้ขึ้นมาครับ
ท่านขุนพลเม็กดำ ใช่ครับ แต่ปัญญาจะมาได้อย่างไร ถ้าไม่มีเส้นทางการคิด และพัฒนา ผมจึ่งนำมาเสนอเป็นตัวอย่างไงครับ อาจมีหลายเส้นทาง แต่สุดท้ายก็.....ปัญญา นั่นแหละครับ

การฝึกฝนจากการอ่าน การฟัง และปฏิบัติบ่อยๆ จะสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่งครับ

ด้วยความเคารพ

อุทัย

นั่นแหละครับที่เราต้องมาดูกันว่าแกนของการฝึกคื่ออะไร

  ในระหว่างที่พูด เราโง่

เพราะไม่มีความรู้อะไรเข้ามาในช่วงนั้น

  ในระหว่างการนั่งฟังอย่างตั้งใจ

ผู้ฟังจะฉลาดเพราะได้รับความรู้เต็มที่

ก็เลือกเอา จะพูดมากกว่าฟัง หรือฟังมากกว่าพูด

ถ้าวิเคราะห์เรื่องนี้ สุภาษิตอาจจะเพี้ยนก็ได้ที่ว่า

ปากเป็นเอก เลขเป็นโท

มันต้องยกเอาหูเป็นเอกสิ ใช่ไหมท่านเล่าฮู

ถึงว่าซิครับ

ช้างจึงไม่ต้องมีโทรศัพท์ก็คุยกันข้ามป่าได้

หรือนกอพยพไม่ต้องไปหาซื้อแผนที่เดินทางก็ไม่หลงทาง

แล้วใครมีสมองใหญ่หรือดีกว่ากันครับ

สรุปแล้วทุกคนต้องตั้งใจฟังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท