คำแนะนำแก่สหกรณ์ประเภทสหกรณ์ร้านค้า กรณีศึกษา ร้านสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดน จำกัด


คำแนะนำแก่สหกรณ์ประเภทสหกรณ์ร้านค้า กรณีศึกษา ร้านสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดน จำกัด 

ร้านสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดน จำกัด เป็นสหกรณ์ประเภทร้านค้า สมาชิกร่วมมือร่วมใจกันตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการรวมกันซื้อระหว่างกันตามปรัชญาของการสหกรณ์ ช่วยตน ช่วยกัน (self help mutual help)

ต่างจาก สหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นห้องทดลอง สำหรับนักเรียนในการฝึกภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติในการศึกษาวิชาการสหกรณ์ สหกรณ์นักเรียนตั้งขึ้นมาเพื่อการศึกษามิได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะ “การสหกรณ์” สหกรณ์นักเรียนเป็นสหกรณ์อเนกประสงค์ หากเป็นสหกรณ์จริงหรือจดทะเบียนคงเป็นสหกรณ์ประเภท สหกรณ์เครดิตยูเนียน หรือสหกรณ์ประเภท สหกรณ์บริการ 

ร้านสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดน จำกัด สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่สหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้เป็นอย่างดี

พิจารณาจากรายงาน การสอบบัญชีร้านสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดน จำกัด ปีสิ้นสุด วันที่ 31 ตุลาคม 2564                  

                    ร้านสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดน  จำกัดผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นในรายงานผู้สอบบัญชีอย่างไม่มีเงื่อนไข

                    1. ร้านสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดน จำกัด จดทะเบียน เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2527   
เป็นสหกรณ์ประเภท สหกรณ์ร้านค้า  สหกรณ์ให้บริการรวมกันซื้อสินค้าของสมาชิกสหกรณ์เพียงด้านเดียว ทั้งบริการเงินสด และบริการเงินเชื่อ 

การบริการของสหกรณ์คิดจาก สมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) เป็นหลัก ร้านสหกรณ์มิได้ขายสินค้าให้กับสมาชิก (เจ้าของสหกรณ์) สมาชิกร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด ไม่ได้ ซื้อสินค้าจากสหกรณ์ ฯ แต่เป็นการรวมกันซื้อของสมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของ) เพื่อให้เกิด การประหยัดเนื่องจากระดับขนาด (Economies of scale) แล้วนำมาแจกจ่ายกันตามความต้องการของสมาชิกผู้ใช้บริการ 

ตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 3 ส่วนการขายสินค้าให้กับผู้ที่มิใช่สมาชิก นั้นเป็นการเอื้ออาทรต่อสังคม (Concern for community) ตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 7 เอื้ออาทรต่อสังคม (concern for community) ในทางวิชาการสหกรณ์แล้ว สหกรณ์ประเภท สหกรณ์ร้านค้า จะต้องดำรงความเป็นสหกรณ์ไว้ โดยให้บริการสมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) ตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 3 ในปริมาณที่มากกว่า การให้บริการแก่บุคคลภายนอก ตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 7

                             จากการให้บริการรวมกันซื้อของสมาชิก เมื่อสิ้นปีแล้วสหกรณ์มีส่วนเกิน (surplus) จากการให้บริการสมาชิก ก็สามารถจ่ายเงินเฉลี่ยคืน (patronage refund) ให้แก่สมาชิกสหกรณ์ทั้งสมาชิกผู้ใช้บริการรับฝากเงิน และสมาชิกผู้ใช้บริการเงินกู้ได้ 

ตามหลักวิชาการสหกรณ์ ในหลักการสหกรณ์สากลที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิกสหกรณ์ พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนร่วมของสหกรณ์ 

สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด (ถ้ามี) มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใด ประการหนึ่งหรือทั้งหมด จากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของส่วนเกินนี้ต้องนำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของการใช้บริการของสหกรณ์ (transactions with the co-operative )

 และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ (3rd Principle: Member Economic Participation  : Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their 

co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following purposes: developing their co-operative, possibly by setting up reserves, part of which at least would be indivisible; benefiting members in proportion to their transactions with the co-operative; and supporting other activities approved by the membership. ) 

                    2. ในปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม 2564 สหกรณ์ให้บริการรวมกันซื้อสินค้าแก่สมาชิกสหกรณ์ตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 3 ในการให้บริการสินค้าผ่อนชำระระยะยาว เพิ่มขึ้น จาก 4,271,025.26 บาท ในปี 2563 เป็น 2,557,288.26 บาท 

                    3. สหกรณ์ควรให้ความรู้ในเรื่อง “หลักวิชาการสหกรณ์” แก่สมาชิกสหกรณ์ และผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง ตามหลักการสหกรณ์สากล ที่ 5 การศึกษา อบรม และข่าวสาร : พึงให้การศึกษา การฝึกอบรม แก่มวลสมาชิกผู้แทนจากการเลือกตั้ง ผู้จัดการ พนักงาน เพื่อบุคคลเหล่านั้น สามารถช่วยพัฒนาสหกรณ์ของตนได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถให้ข่าวสาร แก่สาธารณชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่เยาวชน และผู้นำทางความคิดในเรื่อง คุณลักษณะและคุณประโยชน์ของสหกรณ์ได้

                              3.1 ลักษณะของสหกรณ์ (nature) ตามนิยามสหกรณ์สากล : สหกรณ์เป็นองค์การอิสระ ของบุคคล ซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น (needs) และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจร่วมกัน เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย สมาชิกของสหกรณ์ ตั้งมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์ เปิดเผย รับผิดชอบต่อสังคม และเอื้ออาทรต่อผู้อื่น

                              3.2 คุณประโยชน์ของสหกรณ์ (benefit)

                              3.2.1 คุณประโยชน์ของสหกรณ์ที่เป็นตัวเงิน (tangible benefit) เช่น เงินปันผล (dividend) เงินเฉลี่ยคืน (patronage refund) ดอกเบี้ยรับ ฯลฯ

                              3.2.2 คุณประโยชน์ของสหกรณ์ที่ไม่เป็นตัวเงิน (intangible benefit) เช่น การพึ่งพาและรับผิดชอบตนเอง ประชาธฺิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม ความสามัคคี การแบ่งปัน การเอื้ออาทรต่อสังคม ฯลฯ

 

                              4. สหกรณ์อาจให้บริการประชุมใหญ่สมาชิกสหกรณ์ เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์เข้าถึงโอกาสในการประชุมใหญ่และโอกาสในการเข้าถึงการเลือกตั้งผู้แทนของสหกรณ์ ได้โดยสะดวกและประหยัด ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมการให้บริการในปัจจุบัน ด้วยการประชุมใหญ่ และการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชกำหนด ว่าด้วยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 
                            
                             5.สหกรณ์ ควรให้ความรู้ในเรื่อง “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” แก่สมาชิกสหกรณ์และผู้เกี่ยวข้องอย่่างสม่ำเสมอและทั่วถึง เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ
                              5.1 สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างพอประมาณ 
                              5.2 สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างมีเหตุผล
                              5.3 สมาชิกสหกรณ์สามารถใช้จ่ายเงินได้อย่างมีภูมิคุ้มกัน 
                              5.4 ใช้จ่ายเงินตามเงื่อนไขหลักวิชาการที่ถูกต้อง
                              5.5 ใช้จ่ายเงินตามเงื่อนไขหลักธรรมของศาสนา
                              อันจะก่อให้เกิดเสถียรภาพและความยั่งยืนแก่สหกรณ์  

                              6. เนื่องจากมีตำรวจตระเวนชายแดน กระจายอยู่ทั่วประเทศ  ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ร้านสหกรณ์ตำรวจตระเวนชายแดน จำกัด อาจสามารถให้บริการผ่านระบบอีเล็กทรอนิกส์ได้ โดยรับชำระเงินผ่าน mobile banking ได้ เพื่อความสะดวกในเข้าถึงบริการแก่สมาชิกสหกรณ์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 

                              7. สหกรณ์สามารถให้บริการสมาชิกสหกรณ์ในการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการ และการประชุมท้้งการประชุมใหญ่ และการประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ผ่านสื่ออีเล็คทรอนิกส์ได้ ภายใต้พระราชกำหนดว่าด้วย การประชุมผ่านสืออีเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 ได้ เพื่อการให้บริการสมาชิกสหกรณ์ที่กระจายได้อยู่ทั่วประเทศ ให้มีความสะดวกในการใช้บริการอย่างทั่วถึง

                               พีระพงศ์ วาระเสน บ๊อบบี้
                               นักการสหกรณ์ด้วยหัวใจ 💚
                               13 กุมภาพันธ์  2565              
                               

 

หมายเลขบันทึก: 697684เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2022 05:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2022 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท