อุดมศึกษา 2050


 

เว็บไซต์ Inside Higher Ed ลงบทความ Learning in 2050 น่าอ่านมาก  แม้จะเขียนจากบริบทอเมริกัน   เราก็เอามาคิดต่อ ให้เข้ากับบริบทไทยได้   เวลา ๓๐ ปีไม่นานนะครับ    แต่ก็นานพอที่จะทำให้ผมไม่มีโอกาสเห็น

มิติที่น่าสนใจได้แก่  (๑) การเรียนอุดมศึกษาใน ๓๐ ปีข้างหน้าต้องดีกว่าสภาพในปัจจุบัน    โดยมีการเรียนรู้และปรับตัวไปตลอดเส้นทาง   อย่างที่เราเรียนรู้จากสถานการณ์โควิดในขณะนี้   (๒) มีการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในระดับ transformation   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการเรียนรู้และการสอน ที่เป็น inclusive pedagogy     (๓) เน้น equity  และ access มากขึ้น   (๔) เป็น blended learning มากขึ้น   (๕) มีธรรมชาติเป็น collaborative process มากขึ้น ทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านจัดการเรียนรู้ เช่นร่วมมือกับนักออกแบบการเรียนรู้ (learning designer)   ซึ่งผมขอเพิ่มว่า ควรร่วมมือกับผู้เรียนด้วย โดยเฉพาะศิษย์เก่า  (๖) ลดบทบาทของการถ่ายทอดความรู้ตามด้วยการทดสอบ (summative evaluation)  แทนที่ด้วยการสร้างความรู้ใส่ตัว (constructivist pedagogy approach)   (๗) สถาบันและอาจารย์มีบทบาทส่งเสริมและบริบาลการเรียนรู้ของศิษย์แบบครบทุกด้าน   ไม่ใช่เฉพาะด้านวิชาการ   

เขาบอกว่า ในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา มีพัฒนาการของอุดมศึกษามากมาย ดังเสนอในหนังสือ Learning Innovation and the Future of Higher Education (2020)   

ผมทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับบทความนี้    ส่วนที่ไม่เห็นด้วยคือ ๓๐ ปียาวนานพอที่เราจะร่วมกันใช้พลังของ complex-adaptive systems เอื้อให้มีสิ่งดีๆ ผุดบังเกิด (emergent) ขึ้นแก่อุดมศึกษาไทยได้    การผุดบังเกิดนี้ คาดเดาไม่ได้    แต่เอื้อให้เกิดได้    โดยส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์แนวราบในระบบ    ให้เกิดความสร้างสรรค์ได้ในทุกระดับ ทุกภาคส่วนของระบบ 

ผมเชื่อว่า อุดมศึกษาใน ๓๐ ปีข้างหน้าจะมีลักษณะ self-directed มากขึ้นอย่างมากมาย    วันนี้ลูกสาวมาช่วยแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ตัวนี้ของผมรวน    เขาเปิดหาคำแนะนำจากอินเทอร์เน็ต ลองไปลองมาไม่ถึงหนึ่งชั่วโมงก็เรียบร้อย พร้อมมีคำอธิบายให้พ่อใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธียิ่งขึ้น    แม้เวลานี้ ความรู้ก็หาง่าย หากรู้จักวิธีหา   

วิจารร์ พานิช

๑๘ ธ.ค. ๖๔

       

หมายเลขบันทึก: 696433เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2022 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2022 18:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท