ประวัติชุมชน


1.ด้านกายภาพ

ประวัติความเป็นมา

ตำบลดอนรวก ในอดีตนั้นได้เล่าขานกันว่า เดิมตำบลดอนรวกประชาชนส่วนใหญ่ ที่มาอาศัยอยู่มีเชื้อสายชนชาวจีนที่อพยพกันมาประกอบอาชีพในเขตพื้นที่นี้ เนื่องจากพื้นที่ราบลุ่มและเต็มไปด้วยป่าไม้รวก ชาวบ้านจึงได้พากันขนานนามว่า “บ้านดอนรวก” มาจนถึงปัจจุบัน

คำขวัญประจำตำบลดอนรวก

“ชุมชนลาวครั่ง โด่งดังหลวงพ่อแดง แหล่งเกษตรอินทรีย์ ประเพณีแห่ธง ดงลานจักสาน  สระใหญ่ของโบราณ  ตำนานขึ้นศาลเจ้าพ่อ”

วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

ชุมชนน่าอยู่ มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม สนับสนุนเวทีประชาคมตำบล ประชาชนอยู่ดีกินดีตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ

1. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ

2. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

3. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ตลอดจนความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

4. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน

5. ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง

6. ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

7. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น

8. จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

1.1 ที่ตั้งของตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก เลขที่ 201 หมู่ 2 ตำบลดอนรวก อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม 73150 ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอำเภอดอนตูมประมาณ ๑๕ กิโลเมตร

เนื้อที่​  

- มีพื้นที่  ๑๒  ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ  ๖,๑๒๙  ไร่

มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้

ทิศเหนือ​ติดต่อกับ   ตำบลห้วยด้วน​อำเภอดอนตูม​จังหวัดนครปฐม

ทิศใต้​ติดต่อกับ   ตำบลทุ่งน้อย​​อำเภอเมืองนครปฐม  ​จังหวัดนครปฐม

​    ตำบลมาบแค​​อำเภอเมืองนครปฐม  ​จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก​ติดต่อกับ   ตำบลแหลมบัว​อำเภอนครชัยศรี     ​จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันตก​ติดต่อกับ   ตำบลมาบแค​​อำเภอเมืองนครปฐม  ​จังหวัดนครปฐม

​    ตำบลห้วยด้วน​อำเภอดอนตูม​จังหวัดนครปฐม

 

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่พื้นที่ภาคกลางของประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศมีที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าไม้และภูเขา พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว ทำสวน ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ มีคลองชลประทานผ่านพื้นที่ของตำบลดอนรวก ทั้ง ๕ หมู่บ้าน

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม มีฝนตกชุกในฤดูฝน ในฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด ส่วนในฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อน โดยฤดูร้อนจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงที่สุด ๔๐.๑ องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์  โดยจะมีอากาศหนาวเย็นเป็นช่วงๆ มีอุณหภูมิต่ำที่สุด ๑๒ องศาเซลเซียส

อุณหภูมิ เขตตำบลดอนรวก อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐมมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ ๒๗.๙องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด ๓๓.๔ องศาเซลเซียส  อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด ๒๒.๓ องศาเซลเซียส    

​ ฤดูร้อน  อากาศจะร้อนและแห้ง เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม  อุณหภูมิสูงสุดจะอยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม

​ ฤดูฝน  เริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนทิ้งช่วงในระยะเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งในระยะเดือนที่ฝนทิ้งช่วงนี้ จะยังคงมีฝนตก แต่ปริมาณของน้ำฝน  อาจไม่เพียงพอต่อการเกษตร  

​ ฤดูหนาว  อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยจะมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนและมองโกเลียแผ่ลงมาเป็นช่วงๆ ทำให้อากาศของจังหวัดหนาวเย็นเป็นระยะๆ ช่วงที่อากาศหนาวที่สุดอยู่ระหว่างเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม  

1.4 ลักษณะของดิน

​ดินในตำบลดอนรวก ลักษณะทั่วไปเป็นดินเหนียว มีสีน้ำตาลปนเทา ระบายน้ำไม่ดี คุณภาพของดินเป็นกรดจัดเหมาะสำหรับทำนา ทำไร่ พืชผักและไม้ผล แต่ต้องปรับปรุงดิน

1.5 ลักษณะของน้ำ

แหล่งน้ำธรรมชาติ

1. ลำน้ำสายท่าเรือบางพระ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร

2. แหล่งน้ำชุมชน 1 แห่ง (สระใหญ่)

3. ระบบคลองชลประทานโครงการส่งน้ำและระบายน้ำ ครอบคลุมทั้ง 5 หมู่บ้าน

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

- บ่อบาดาล​จำนวน​        16​จุดได้แก่

หมู่ 1​จำนวน​4​จุด

หมู่ 2​จำนวน​4​จุด

หมู่ 3​จำนวน​3​จุด

หมู่ 4​จำนวน​3​จุด

หมู่ 5​จำนวน​2​จุด

  1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

​  ​ - ไม่มี 

2. ด้านการเมือง/การปกครอง

2.1 เขตการปกครอง

จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลย มี 5  หมู่บ้าน   ได้แก่

​หมู่ที่ 1 ​บ้านดอนรวกเล็ก​นายวุฒินันท์​ท้าวกัลยา​ผู้ใหญ่บ้าน

​หมู่ที่ 2​บ้านสวนใหม่​นางสาวนงค์รัก​ชูราศรี​​กำนันตำบลดอนรวก

​หมู่ที่ 3​บ้านสระสี่เหลี่ยม​นายสมชาย​เหล่าสิม​ผู้ใหญ่บ้าน

​หมู่ที่ 4​บ้านห้วยกรด​นายสมศักดิ์​บูชาพิมพ์​ผู้ใหญ่บ้าน

​หมู่ที่ 5​บ้านดอนรวกใหญ่​นายศิริชัย​แก้วสุภา​​ผู้ใหญ่บ้าน

 

การเมืองการปกครอง

สภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก ประกอบด้วย สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จำนวน  ๕ หมู่บ้าน  หมู่บ้านละ ๒ คน รวมทั้งสิ้น 1๐ คน  มีหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติและควบคุมตรวจสอบการบริหารงานของฝ่ายบริหาร มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี   โดยมีรายนามดังต่อไปนี้

1.นายอาณัติ​นันทานนท์​สมาชิกสภา อบต. ดอนรวก หมู่ที่ 2

ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

2.นายสมควร​แพทย์ประสิทธิ์​สมาชิกสภา อบต. ดอนรวก หมู่ที่ 3

รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

3.นายสมศักดิ์​โลหิตา​สมาชิกสภา อบต. ดอนรวก หมู่ที่ 3

เลขาสภาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

4.นายกิตธวิท ​แสนคำ​สมาชิกสภา อบต. ดอนรวก หมู่ที่ 1

5.นายชัยศรี​อินกงลาด​สมาชิกสภา อบต. ดอนรวก หมู่ที่ 1

6.นายเอกชัย​ผุยรอด​สมาชิกสภา อบต. ดอนรวก หมู่ที่ 2

7.นายทองม้วน​สังข์จันทร์​สมาชิกสภา อบต. ดอนรวก หมู่ที่ 4

8.นายมล​กันหา​สมาชิกสภา อบต. ดอนรวก หมู่ที่ 4

9.นายสุบิน​มะลิวัลย์​สมาชิกสภา อบต. ดอนรวก หมู่ที่ 5

10.นายมนัส​คำยิ่งยง​สมาชิกสภา อบต. ดอนรวก หมู่ที่ 5

การบริหาร

​องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน ๑ คน และมีผู้ช่วยผู้บริหาร คือ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๒ คน  และเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ๑ คน  มีหน้าที่บริหารกิจการองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น โดยมีรายนามดังต่อไปนี้

​1. นายชาตรี ​​โพธิ์ทองนาค​นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

​2. นางณัชชาภรณ์​หมื่นสา​รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

​3.                -ลาออก-​​รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

​4. นางสาวนฤมล​นันทานนท์​เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

2.2 การเลือกตั้ง

  ​แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 5 เขต ได้แก่

หมู่ที่ 1 ​บ้านดอนรวกเล็ก​

​หมู่ที่ 2​บ้านสวนใหม่​

​หมู่ที่ 3​บ้านสระสี่เหลี่ยม​

​หมู่ที่ 4​บ้านห้วยกรด​

​หมู่ที่ 5​บ้านดอนรวกใหญ่​

3. ประชากร

3.1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจำนวนประชากร

ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี

   ปี พ.ศ. ชาย  (คน) หญิง  (คน) รวม(คน)
พ.ศ. 2559 1,904 1,964 3,868
พ.ศ. 2560 1,917 1,986 3,903
พ.ศ. 2561 1,917 1,986 3,903
พ.ศ. 2562 1,950 1,988 3,938
พ.ศ. 2563 1,988 2,037 4,025

 

 

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

  ​จำนวนครัวเรือน       1,155     ครัวเรือน

​       ​จำนวนประชากร    ชาย 1,918คน  ​หญิง 2,035 คน  รวม  4,025 คน

                           ​(ข้อมูล ณ เดือน สิงหาคมพ.ศ.2564)

 

ช่วงอายุ  (ปี) ชาย  1,896 คน หญิง  1,962 คน รวม
แรกเกิด - 3 ปี   79 คน 68 คน 157 คน
4 - 10 ปี   164 คน 155 คน 312 คน
11 - 20 ปี   226 คน 224 คน 452 คน
21 - 30 ปี   306 คน 262 คน 568 คน
31 - 40 ปี   290 คน 298 คน 588 คน
41 - 50 ปี   350 คน 345 คน 695 คน
51 - 60 ปี   259 คน 298 คน 557 คน
61 - 70 ปี   146 คน 189 คน 335 คน
71 - 80 ปี   68 คน 90 คน 158 คน
81 - 90 ปี   26 คน 40 คน 66 คน
91 ปีขึ้นไป   5 คน 7 คน 12 คน
รวม 1,924 คน 1,976 คน 3,900 คน

 4.สภาพทางสังคม

4.1 การศึกษา ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวกประกอบด้วย

 

- โรงเรียนในสังกัดสำนักงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๒ แห่ง

​1.โรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม

​2.โรงเรียนวัดสุขวราราม

- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง

​1.ศูนย์เด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จำนวน ๑แห่ง

4.2 สาธารณสุข

   -  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลดอนรวก  จำนวน     1​แห่ง

4.3 อาชญากรรม

 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

   -  สถานีตำรวจชุมชน​จำนวน           ๑​แห่ง

   -  เจ้าหน้าที่ อปพร.​จำนวน​         16 ​คน

   -  เจ้าหน้าที่ อส.ตร.​จำนวน          13​คน

   -  เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำ  ​จำนวน           2  ​นาย

4.4 ยาเสพติด

​​กีฬาและนันทนาการ / พักผ่อน

​             ​สนามกีฬาเอนกประสงค์      ​2    ​แห่ง

​             ​สนามฟุตบอล​      ​1    ​แห่ง

                      ​สนามตะกร้อ​     ​1    ​แห่ง

​ลานเครื่องออกกำลังกาย​2​แห่ง

4.5 การสังคมสงเคราะห์

​​มวลชนจัดตั้ง

 

กลุ่มชมรมผู้สูงอายุ       1     ชมรม

กลุ่มสตรี​         ​1     กลุ่ม

กลุ่ม อสม.​         ๕     กลุ่ม

5. ระบบบริการพื้นฐาน

5.1 การคมนาคมขนส่ง

- ทางหลวงแผ่นดิน​จำนวน​1​สาย

- ถนนลาดยาง​จำนวน​​20​สาย

- ถนนลูกรังเชื่อมระหว่างหมู่บ้านต่างๆ​จำนวน​14​สาย

- ถนนดินเชื่อมหมู่บ้าน                           จำนวน​-​สาย

- หมู่บ้านที่มีถนนลาดยางใช้ในหมู่บ้าน​จำนวน​5​หมู่บ้าน

5.2 การไฟฟ้า

- หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้ามีทุกหมู่บ้าน อัตราการใช้ไฟฟ้าของประชากร 100 เปอร์เซ็นต์

5.3 การประปา

​-ประชากรมีประปาใช้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก ทุกครัวเรือน

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

- บ่อบาดาล​จำนวน​        12​จุดได้แก่

หมู่ 1​จำนวน​4​จุด

หมู่ 2​จำนวน​4​จุด

หมู่ 3​จำนวน​3​จุด

หมู่ 4​จำนวน​3​จุด

หมู่ 5​จำนวน​2​จุด

5.4 โทรศัพท์

- มีโทรศัพท์ มือถือใช้   80 เปอร์เซ็นต์

5.5 ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์

- มีจุดบริการไปรษณีย์ จำนวน 1 แห่ง

 

6.ระบบเศรษฐกิจ

6.1 การเกษตร

องค์กร/กลุ่ม ด้านการเกษตร

​-วิสาหกิจชุมชน จำนวน 3  กลุ่ม ดังนี้

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงปลาดุกหมู่ที่ 4 ตำบลดอนรวก

วิสาหกิจชุมชนพืชสมุนไพรไทยพื้นบ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลดอนรวก

วิสาหกิจชุมชนผักแปลงใหญ่ห้วยด้วนดอนรวก หมู่ที่ 1 ตำบลดอนรวก

 

-กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

​ไม่มี

-กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร  จำนวน 3 กลุ่ม  ดังนี้

• กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตรผลิตสารชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยหมัก ผักตบชวา หมู่ 1ตำบลดอนรวก

• กลุ่มส่งเสริมอาชีพ การเกษตร ปลูกผักในโรงเรือน หมู่ 1,2,5 ต.ดอนรวก

• กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร ปลูกผักในโรงเรือน หมู่ 3,4 ต.ดอนรวก

-กลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียน จำนวน 1 กลุ่ม ดังนี้

• กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนวัดสุขวราราม

-แปลงใหญ่พืชผักห้วยด้วนดอนรวก 1 กลุ่ม

6.2 การประมง

วิสาหกิจชุมชน จำนวน 1  กลุ่ม ดังนี้

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงปลาดุก หมู่ที่ 4 ตำบลดอนรวก

 

6.3 การปศุสัตว์

​ข้อมูลการปศุสัตว์ภายในตำบลดอนรวก

ลำดับที่ ประเภทสัตว์ จำนวน (ตัว) เกษตรกร (ราย)
1 สุกร 40 2
2 โคเนื้อ 86 7
3 ไก่พื้นเมือง 4,141 79
4 เป็ดไข่ 2,000 1

6.4 การบริการ

ศูนย์บริการประชาชน

- ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนระดับตำบล (ศอชต.)

- ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

- ศูนย์ข้อมูลข้อมูลข่าวสารองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

- ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์องค์การบริหารส่วนตำบลดอนรวก

 

6.5 การท่องเที่ยว

​แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี ดังนี้

1. ประเพณีทำขนมจีนแบบโบราณ ณ วัดสระสี่เหลี่ยม

2. ประเพณีลอยกระทง ณ บริเวณริมคลองชลประทาน หมู่ที่ 5 บ้านดอนรวกใหญ่ และ บริเวณสระใหญ่ หมู่ที่ 3 บ้านสระสี่เหลี่ยม

3. ประเพณีบุญข้าวจี่ ณ วัดสระสี่เหลี่ยม

4. ประเพณีแห่งหางธง ณ วัดสระสี่เหลี่ยม และวัดสุขวราราม ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี

6.6 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

​ตำบลดอนรวกมีกลุ่มอาชีพด้วยกัน 10 กลุ่ม ดังนี้

๑. ผลิตภัณฑ์น้ำฟักข้าว

๒. น้ำส้มเกล็ดหิมะ

๓. สบู่ฟักข้าว

๔. ข้าวไรซ์เบอรี่

๕. ปุ๋ยอัดเม็ด

๖. เห็ดฟาง

๗. ปลานิลแดดเดียว

๘. ข้าวต้มมัดยอดตาล

๙.กล้วยแปรรูป

๑๐.ผักปลอดสาร

6.7 แรงงาน

​ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้าง

 

 

7.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

7.1 การนับถือศาสนา

​ประชาชนตำบลดอนรวก นับถือศาสนาพุทธ

7.2 ประเพณีและงานประจำปี

ที่ปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่

๑. วันสงกรานต์ จัดในวันที่ ๑๓ – ๑๕ เมษายน ของทุกปี มีพิธีสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

๒. ประเพณีท้องถิ่น เช่น ประเพณีบุญข้าวจี่ , ประเพณีทำขนมจีน , ประเพณีแห่หางธง ฯลฯ

3. วันสำคัญทางพุทธศาสนาต่างๆ เช่น งานวันลอยกระทง วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษาฯลฯ

4. วันรัฐพิธีต่างๆ เช่น วันจักรี วันฉัตรมงคล วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เป็นต้น

7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

​ภาษาลาวครั่ง

7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

​ผลิตภัณฑ์จักรลาน

8.ทรัพยากรธรรมชาติ

8.1 น้ำ

1. ลำน้ำสายท่าเรือบางพระ

8.2 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรดิน

- ลักษณะทั่วไปเป็นดินเหนียว มีสีน้ำตาลปนเทา ระบายน้ำไม่ดี คุณภาพของดินเป็นกรดจัดเหมาะสำหรับทำนา ทำไร่ พืชผักและไม้ผล แต่ต้องปรับปรุงดิน

ทรัพยากรน้ำ

ตำบลดอนรวกมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ คือ ลำน้ำสายท่าเรือบางพระ

 

 

หมายเลขบันทึก: 696315เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2022 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2022 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท