ชีวิตที่พอเพียง ๔๑๓๓. คุณค่าของใจลอย 


 

หนังสือ The Wandering Mind : What the Brain Does When You’re Not Looking เขียนโดย Michael C. Corballis ศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโอ๊กแลนด์ นิวซีแลนด์    อธิบายกลไกที่เกิดขึ้นในสมองขณะที่เราใจลอย    และยืนยันว่า ใจลอยเป็นสิ่งที่มีคุณค่า

เมื่อเพ่งความสนใจไปที่เรื่องหนึ่ง สมองบางส่วนเท่านั้นทำงาน   แต่เมื่อใจลอย สมองกลับมาทำงานด้วย default mode network คือทำงานทั่วทั้งสมอง    และเป็นช่วงที่สมองมีความสร้างสรรค์สูง   

สมองมีความจำ ๓ ชั้น    ชั้นแรกเป็นความจำเพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่าการพูด การเดิน    ชั้นที่สอง เป็นชั้นความรู้   สมองใจลอยจะสามารถเข้าไปฉวยความรู้ที่เราสั่งสมไว้มากมายได้โดยเราไม่ต้องคิด    ชั้นที่สาม เรียกว่า episodic memory   เป็นความจำที่จำเพาะสำหรับแต่ละคน  และทำให้เราเป็นเรา     นี่คือส่วนของความจำที่สมองใจลอยมุ่งเข้าไปฉวยมาใช้งาน   

สมองเก็บความจำไว้คล้ายๆ เทปบันทึกภาพยนตร์   สามารถกรอกลับมาดูใหม่ได้   ดังกรณีเราหวนกลับไปคิดถึงเรื่องราวประทับใจในวัยเด็กบางเรื่องบ่อยๆ    และนั่นคือสมองส่วนใจลอยทำงาน    คนที่สมองส่วนนี้ชำรุด  ทำให้คิดถึงอดีตไม่ได้ ชีวิตจะทรมานมาก   

ยิ่งกว่านั้น ใจลอยยังลอยเข้าไปในใจของคนข้างเคียงได้ด้วย   เป็นความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์   ไม่ใช่เรื่องลี้ลับหรือความสามารถพิเศษ   คือเกิดขึ้นเมื่อสมองทำงานใน default mode network   

การเล่าเรื่อง (storytelling) เป็นปรากฏการณ์หนึ่งของใจลอย   ระหว่างเล่าเรื่อง ผู้เล่าใช้ทั้งความจำเรื่องราวที่ประสบ และจินตนาการเสริมเพื่อทำให้เรื่องราวสนุกสนานเร้าใจยิ่งขึ้น    และผมตีความว่า ผู้ฟังก็ใช้จินตนาการของตนเสริมเช่นเดียวกัน   

ใจลอยเป็นกลไกความสร้างสรรค์    จึงมีคนใช้ยา กัญชา หรือสุรา ช่วยให้สมองอยู่ใน default mode network    และสร้างสรรค์ศิลปะ นวนิยาย  และการสร้างสรรค์อื่นๆ   แต่ยาและสิ่งกล่อมประสาทเหล่านี้มีข้อเสียตรงที่เสพติด    เราสามารถฝึกให้ปล่อยใจลอยได้ โดยไม่ต้องใช้ยาช่วย     

ผมเขียนเรื่องคุณค่าของการปล่อยวางไว้ที่ (๑)   

วิจารณ์ พานิช

๒๙ พ.ย. ๖๔ 

 

  

หมายเลขบันทึก: 696237เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2022 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2022 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Thank you for this summary.I have had experiences of [free] wondering mind while practicing meditation. At times, the mind opens new perspectives that [trained] thinking ignores.

I suppose as a meditator, I fail many times but a a learner I know more free tools ;-)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท