ระบบการศึกษาของเด็ก  กว้างกว่าระบบโรงเรียน


 

ผมได้ชื่อบันทึกนี้ ตอน ๑๑ น. เศษ วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๔   ระหว่างร่วมสัมมนาแผน ๓ ปี (๒๕๖๕ - ๒๕๖๗) ของแผนงานพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ของ กสศ.   ที่ได้สาระอย่างสร้างสรรค์สุดๆ    โดยที่ทีมวิทยากร นำโดยคุณเปา บอกว่าใช้แนวทาง DE    

ผู้เข้าร่วมประชุม ๕๕ ท่าน เห็นพ้องกันว่า เป้าหมายสุดท้ายคือผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน   และผมอ่านระหว่างประโยคของคำอภิปรายที่หลากหลายว่า    กลไกเพื่อผลลัพธ์นั้นคือโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้เชิงรุก และมีกลไกสนับสนุนต่างๆ ที่พูดกันครบถ้วนดีมาก   

แต่ผมเถียง    ว่าจัดคุณภาพโรงเรียนให้ดีแค่ไหน ก็ยังพัฒนานักเรียนได้จำกัด    เพราะยังมี “พื้นที่ 2/3” ที่มีบทบาทสำคัญต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน   โดยผมได้อธิบายรายละเอียดไว้เมื่อ ๔ ปีที่แล้ว ที่ gotoknow.org/posts/635072  

ผมเชื่อว่า หากจะให้เยาวชนของเรามีการเรียนรู้เพื่อวางรากฐานสมรรถนะที่ดีและครบด้าน สำหรับการมีชีวิตที่ดี เป็นพลเมืองดีในอนาคตที่ VUCA    เราต้องไม่หลงพัฒนาเฉพาะระบบโรงเรียน     กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าโรงเรียนและครูไม่สำคัญ    โรงเรียนและครูสำคัญมาก   แต่เราต้องไม่หลงดำเนินการเฉพาะที่โรงเรียนและครู อย่างที่แล้วๆ มา     ต้องดำเนินการให้เด็กได้รับการฝึกฝนกล่อมเกลาเรียนรู้แบบไม่รู้ตัวจากสภาพแวดล้อมรอบตัวด้วย   

ระบบการศึกษาต้งเป็นระบบการศึกษาของเด็ก    ไม่ใช่ระบบการศึกษาของครู ของโรงเรียน หรือของกระทรวงศึกษาธิการ 

ระบบการฬึกษา ต้องเป็นระบบจัดการ ระบบนิเวศการเรียนรู้ (learning ecosystems) ของเด็ก    ที่กว้างกว่าโรงเรียน     

หากไม่จัดระบบต่างๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ซึมซับฝึกฝนตนเอง ตลอด ๒๔ ชั่วโมงของแต่ละวัน     หลงจัดเฉพาะเวลา ๘ ชั่วโมงที่นักเรียนอยู่ในโรงเรียน   คุณภาพของพลเมืองในอนาคตของเราจะไม่ดีขึ้น

วิจารณ์ พานิช

๓ ม.ค. ๖๕

 

หมายเลขบันทึก: 696065เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2022 19:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2022 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท