การนำร่างระเบียบของสหกรณ์ และร่างข้อบังคับของสหกรณ์ ที่จัดทำโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์) มาใช้


การนำร่างระเบียบของสหกรณ์ และร่างข้อบังคับของสหกรณ์ ที่จัดทำโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์) มาใช้

ข้อบังคับของสหกรณ์ คือ มติของที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ (ที่ประชุมสมาชิกสหกรณ์หรือเจ้าของสหกรณ์ได้ตกลงกัน) หลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ ครั้ง ไม่ต้องลงมติซ้ำ ๆ นำมารวมกันเป็นเล่ม เพื่อสะดวกในการดำเนินการของสหกรณ์ให้บริการสมาชิกสหกรณ์    การแก้ไขข้อบังคับของสหกรณ์ แก้ไขได้โดยที่ประชุมใหญ่ โดยแก้ไขแล้วนำไปจดทะเบียนแก้ไขกับนายทะเบียนสหกรณ์ เมื่อนายทะเบียนรับจดแล้วจึงใช้ได้

ระเบียบของสหกรณ์ คือ มติของที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ (ที่ประชุมผู้แทนสมาชิกสหกรณ์ ได้ตกลงกัน) หลาย ๆ เรื่อง หลาย ๆ ครั้ง บางเรื่อง ซ้ำ ๆ กัน นำมารวมกันเป็นเล่ม เพื่อสะดวกในการดำเนินการสหกรณ์  การแก้ไขระเบียบสหกรณ์ แก้ไขโดยที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ แล้วแจ้งนายทะเบียนสหกรณ์
 

ร่างระเบียบ และร่างข้อบังคับของสหกรณ์ที่จัดทำโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นั้นก็เพื่อความสะดวกและเป็นแนวทางกว้าง ๆ  เปรียบเสมือนเสื้อโหล ที่จะไม่พอดีตัว ตัวไปปรับแก้อย่างรอบคอบให้เหมาะกับสหกรณ์ของท่านเอง ไม่มีร่างไหนที่จะพอดีเป๊ะกับสหกรณ์นั้น ๆ

การจะทำข้อบังคับ และระเบียบของสหกรณ์ขึ้นถือใช้ ต้องคำนึงถึง 
“สมาชิกสหกรณ์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” 
เนื่อง เพราะสมาชิกสหกรณ์เป็นทั้งเจ้าของและผู้ใช้บริการในคน ๆ เดียวกัน (Co Owner  Co Customer)

และสิ่งที่สำคัญคือ สหกรณ์ของท่านยังคงดำเนินไปตามนิยามสหกรณ์สากล

A co-operative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet their common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically-controlled enterprise.

สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการ  อันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกัน ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย 

ลิ้งค์ ร่างข้อบังคับของสหกรณ์
https://office.cpd.go.th/rlo/index.php/2016-05-23-07-13-21/2016-06-02-02-11-30/2016-06-02-02-26-39

ลิ้งค์ ร่างระเบียบของสหกรณ์
https://office.cpd.go.th/rlo/index.php/2016-05-23-07-13-21/2016-06-02-02-11-30/2016-06-02-02-27-11

ข้อบังคับและระเบียบของสหกรณ์ นั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง (พระไตรลักษณ์ข้อที่ 1)  อาจต้องแก้ไขกลับไป กลับมา เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป 

การแก้ไขต้องพิจารณาให้รอบคอบ สอดคล้องกับ บริบทของสหกรณ์ และสภาพแวดล้อมที่สหกรณ์ตั้งอยู่
สิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องใช้เวลาในการแก้ไขกลับคืน 

สหกรณ์ที่ตั้งขึ้นใหม่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ 
สหกรณ์ที่ตั้งขึ้นนานแล้วหากจะแก้ไขข้อบังคับและระเบียบควรพิจารณาแก้ไขเป็นข้อ ๆ คำนึงถึงข้อจำกัดและประสิทธิภาพการให้บริการสมาชิกให้มาก (สหกรณ์มิได้ดำเนินธุรกิจกับสมาชิก แต่ให้บริการสมาชิกสหกรณ์ให้ช่วยตนเองได้ และมาช่วยเหลือกัน ตามปรัชญาของการสหกรณ์ ช่วยตน ช่วยกัน self help mutual help เพื่อความสุขความเจริญ ของสมาชิก และสังคมที่สหกรณ์ตั้งอยู่) 

และการแก้ไขควรบันทึกเหตุผลและความจำเป็น ร่องรอย ในการแก้ไขไว้ในบันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และรายงานการประชุมใหญ่ไว้อย่างละเอียด หากต้องการแก้ไขกลับมาก็จะได้ทำได้สะดวก เหมือนการลงบัญชีเมื่อมีการแก้ไขต้องมีร่องรอยการแก้ไขให้ตรวจสอบได้ 

ด้วยความปรารถนาดีจาก 

พีระพงศ์ วาระเสน บ๊อบบี้
นัก การสหกรณ์ ด้วยหัวใจ 
วันจันทร์ที่ 3 มกราคม 2565

 

หมายเลขบันทึก: 695326เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2022 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2022 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท