เราจะป้องกันโรคเบาหวานได้อย่างไร ?


โรคเบาหวาน คือ ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เพราะเซลล์ร่างกายขาด หรือพร่องอินซูลิน หรืออินซูลินด้อยคุณภาพจึงไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ น้ำตาลที่มากเกินไปนี้จะถูกขับออกทางไต ส่วนเซลล์ที่ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ ก็จะเสื่อมเร็ว และทำให้ร่างกายเหนื่อยอ่อน  อินซูลิน คือ ฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนซึ่งเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสจากกระแสเลือดเข้าไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ หากมีโรคของตับอ่อนจะส่งผลต่อการหลั่งอินซูลินได้ เนื่องจากเซลล์ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานขาดกลูโคสที่จะไปใช้เป็นพลังงาน จึงทำให้เหน็ดเหนื่อยง่าย และหิวบ่อย ส่วนกลูโคสในเลือดก็ต้องขับทิ้งไปทางไต ซึ่งออกมากับปัสสาวะ จึงทำให้ปัสสาวะบ่อยร่างกายก็ต้องการน้ำเข้าไปชดเชย ผู้ป่วยจึงมีอาการดังนี้ 1. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เป็นนิจ 2. ปัสสาวะบ่อย มีมดมาไต่ตอม 3. หิวบ่อย 4. กระหายน้ำบ่อย กินไม่รู้จักอิ่ม 5. ผิวแห้ง เกิดอาการคันบริเวณผิว ตาแห้ง 6. มีอาการชาที่เท้า หรือรู้สึกเจ็บแปลบๆ ที่ปลายเท้า หรือที่เท้า 7. ร่างกายซูบผอมลงผิดปกติ โดยไม่สามารถหาสาเหตุได้ 8. เป็นบาดแผลแล้ว หายยาก ฯลฯ

เราจะป้องกันเบาหวานได้อย่างไร ?

 

เราจะป้องกันเบาหวานได้อย่างไร ?

ดร. ถวิล  อรัญเวศ

          คำที่ว่า

       “การกินตามอยาก กินตามปาก อาจจะมากไปด้วยโรคภัย
       หากกินฝืนใจ อาจจะมีผลดีต่อสุขภาพ”
        น่าจะจริง ...............

 

       ชีวิตเรา เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ หรืออยู่มานาน เกิดมานาน อวัยวะต่าง ๆ ย่อมจะมีอการเสื่อมสึกหรอไปเป็น

ธรรมดา เช่นเดียวกับรถยนต์ที่เราขับขี่เมื่อใช้ไปนาน ๆ อะไหล่ย่อมจะสึกหลอ จำต้องนำเข้าศูนย์ที่ให้บริการ

คนก็เช่นกัน ต้องไปโรงพยาบาลตรวจสุขภาพเพื่อตรวจหาโรคหรือความบกพร่องของชขิ้นส่วนอวัยวะ

       พุทธภาษิตที่ว่า “อโรคยา ปรมา ลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ หรือเป็นลาภอย่างยิ่ง

ก็เรียก เป็นสัจธรรมที่เป็นอมตะตลอดมาและตลอดไป

       ความเป็นจริงแล้ว คนเราอยู่ในลักษณะ เกิด แก่เจ็บตาย เป็นธรรมดา เมื่ออายุเริ่มย่าง 50 ปีขึ้นไป คนเราอาจจะพบโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เพราะถ้าเปรียบกับรถ คือรถเก่า ใช้งานมามากแล้ว ถ้าไม่หมั่นรักษาสุขภาพตนเอง โรคในวัยผู้สูงอายุ คือ ความดัน เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น ก็จะตามมา

        โรคเบาหวาน คือ ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป เพราะเซลล์ร่างกายขาด หรือพร่องอินซูลิน หรืออินซูลินด้อยคุณภาพจึงไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ น้ำตาลที่มากเกินไปนี้จะถูกขับออกทางไต ส่วนเซลล์ที่ไม่สามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้ก็จะเสื่อมเร็ว และทำให้ร่างกายเหนื่อยอ่อน 

       อินซูลิน คือ ฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนซึ่งเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสจากกระแสเลือดเข้าไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ หากมีโรคของตับอ่อนจะส่งผลต่อการหลั่งอินซูลินได้

      เนื่องจากเซลล์ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานขาดกลูโคสที่จะไปใช้เป็นพลังงาน จึงทำให้เหน็ดเหนื่อยง่าย และหิวบ่อย ส่วนกลูโคสในเลือดก็ต้องขับทิ้งไปทางไต ซึ่งออกมากับปัสสาวะ จึงทำให้ปัสสาวะบ่อยร่างกายก็ต้องการน้ำเข้าไปชดเชย ผู้ป่วยจึงมีอาการดังนี้

        1. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เป็นนิจ

        2. ปัสสาวะบ่อย มีมดมาไต่ตอม

        3. หิวบ่อย

        4. กระหายน้ำบ่อย กินไม่รู้จักอิ่ม

        5. ผิวแห้ง เกิดอาการคันบริเวณผิว ตาแห้ง

        6. มีอาการชาที่เท้า หรือรู้สึกเจ็บแปลบๆ ที่ปลายเท้า หรือที่เท้า

        7. ร่างกายซูบผอมลงผิดปกติ โดยไม่สามารถหาสาเหตุได้

        8. เมื่อเกิดบาดแผลที่บริเวณต่างๆ ของร่างกายมักหายช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะแผลที่เกิดกับบริเวณเท้า

สายตาพร่ามัวในแบบที่หาสาเหตุไม่ได้

         ผู้ป่วยเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินจะมีอาการดังกล่าวรุนแรงและชัดเจน ส่วนเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลินจะมีอาการช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นแล้ว ก็จะมีอาการเบื้องต้นเหล่านี้ร่วมกับอาการแทรกซ้อน

เบาหวาน คืออะไร ?

     เบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติเนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง  เกิดจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลซึ่งได้จากอาหารที่รับประทาน เข้าไปใช้เป็นพลังงานในเซลล์ได้ตามปกติ ร่างกายขอคนเราจำเป็นต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต  พลังงานเหล่านี้ได้จากอาหารต่างๆ ที่รับประทานเข้าไป  โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งซึ่งถูกย่อยสลายกลายเป็นน้ำตาลกลูโคสในกระเพาะอาหารและถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดเพื่อส่งผ่านไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย  แต่การที่ร่างกายจะนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้นั้นมีความจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบหลักๆ 2 ชนิด  ได้แก่
       1. ฮอร์โมนจากตับอ่อน ชื่อ อินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่เป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์ของเนื้อเยื่อต่างๆ

       2. สารที่ทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน (สารGTF) หากในร่างกายของเรามีปริมาณสาร GTF น้อยกว่าปกติจะทำให้ ประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินลดน้อยลงไปด้วย 

       ดังนั้นหากกลไกทั้ง 2 อย่าง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งทำงานบกพร่อง จะทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ ได้ตามปกติ และทำให้น้ำตาลเหลือตกค้างอยู่ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ  (ในคนปกติ ก่อนรับประทานอาหารเช้าไป จะมีระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ70-99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  และหลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชั่วโมง  ระดับน้ำตาลจะไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  หรือมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) เมื่อในเลือดมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก  ไตจะกรองน้ำตาลออกมากับน้ำปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมีรสหวานโดยคนโบราณเรียกอาการปัสสาวะว่า เบา จึงเรียกภาวะนี้ว่า “ เบาหวาน”  มาจนปัจจุบัน 

 

GTF (จีทีเอฟ) คืออะไร

     GTF ย่อมาจาก "Glucose Tolerance Factor"

          เป็นองค์ประกอบของสารอาหารที่ช่วยควบคุมการทำงานของอินซูลิน ซึ่งช่วยในการลำเลียงกลูโคส  กรดอะมิโน และกรดไขมัน เข้าสู่เซลล์ให้เป็นปกติจึงจะสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ช่วยให้การเผาผลาญสารอาหารเหล่านี้เป็นไปอย่างปกติ โดย GTF จะไปกระตุ้นตับให้หลั่งอินซูลิน และช่วยให้อินซูลินสามารถทำงานร่วมกับตัวรับอินซูลิน(Insulin Receptor) ได้ไวขึ้น

      ในคนป่วยเบาหวาน จำนวนกว่า 80% มีภาวะขาดสาร GTF 10% ขาดตัวรับอินซูลิน 5-10% ขาด

อินซูลิน  ดังนั้น จึงถือได้ว่าภาวะการขาด GTF เป็นเหตุผลหลักที่นำสู่การเกิดโรคเบาหวาน

  

ใครเป็นผู้ค้นพบสาร GTF

     ดร.วอลเตอร์ เมิร์ส

       GTF ถูกค้นพบในปี พ.ศ.2500 (ค.ศ.1957) ในไตของสัตว์ โดย ดร.วอลเตอร์ เมิร์สผู้เชี่ยวชาญด้านสารอาหารและผลิตภัณฑ์อดีตประธานของ USDA ,USA อดีตที่ปรึกษาด้านสารอาหารและผลิตภัณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO)

      จากการค้นพบของ ดร.วอลเตอร์ เมร์ส พบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดเบาหวาน  เกิดจากการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินด้อยประสิทธิภาพลงอย่างมาก และสาเหตุของการด้อยประสิทธิภาพนั้น 80 % เกิดจากอินซูลินขาดสารเสริมประสิทธิภาพที่เรียกว่า GTF

         ในสภาวะปกติอินซูลินและ GTF จะถูกผลิตขึ้นที่ตับอ่อน  หลังจากนั้นอินซูลินจะถูกส่งไปกับกระแสเลือดพร้อมกับสารอาหารต่างเพื่อควบคุมระดับสารอาหารต่างๆให้เข้าสู่เซลล์ได้ในปริมาณที่เหมาะสม  ส่วนสาร GTF นั้นจะถูกส่งไปเก็บไว้ในเซลล์ต่างๆ เพื่อคอยช่วยเหลือให้การทำงานของอินซูลินทำงานได้เต็มที่

      ในคนที่สุขภาพเป็นปกติ  ปริมาณฮอร์โมนอินซูลินในกระแสเลือดและปริมาณสาร GTF ในเซลล์จะมีปริมาณที่สมดุลกัน  กลไกการควบคุมการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่เซลล์ก็จะเป็นไปได้ตามปกติ                      

      ในคนที่ป่วยเป็นเบาหวานนั้นเกิดได้ 3 กรณี                                                                                                 

        1. ปริมาณฮอร์โมนอินซูลินมีปริมาณเพียงพอ แต่ในเซลล์ขาดสาร GTF อย่างมาก (เบาหวานชนิดที่ 2 )         

        2. ปริมาณฮอร์โมนอินซูลินมีปริมาณไม่เพียงพอ  และในเซลล์ก็ขาดสาร GTF (เบาหวานชนิดที่ 2 )                           

       3. ร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลินโดยสิ้นเชิงและขาดสาร GTF ในเซลล์อีกด้วย ( เบาหวานชนิดที่ 1 )

         จากการวิจัยของ ดร.วอลเตอร์ เมิร์ส พบว่าเมื่อมีสาร GTF ปริมาณที่พอเหมาะภายในเซลล์ แม้จะมีอินซูลินปริมาณเล็กน้อยภายนอกเซลล์ก็จะส่งผลให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้นอย่างมาก และจากการวิจัยของ

ดร.แฟรงค์เหมา จากประเทศใต้หวัน ก็สนับสนุนงานวิจัยของ ดร.วอลเตอร์ เมริ์ส และเมื่อทำการวิจัยลึกซึ้งลงไปอีก พบว่าสาร GTF นั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินได้มากขึ้นถึง 240%       

       จากผลการวิจัยนี้จึงเป็นที่มาของการนำสาร GTF มาเป็นตัวช่วยในการบำบัดเบาหวาน  เพราะเมื่อผู้ป่วยรับประทานสาร GTF ในรูปแบบของ นมผง GT&F ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินกลับมาทำงานได้เท่ากับคนปกติ  ส่วนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 นั้นก็จะช่วยให้ลดปริมาณการฉีดอินซูลินได้ และอาการแทรกซ้อนต่างๆของผู้ป่วยเบาหวานทั้งสองชนิดก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ   

        สาเหตุนี้เองที่ ดร.เมอร์ส ได้สรุปผลการวิจัยไว้อย่างน่าตื่นเต้นว่า  " แท้จริงแล้วเบาหวานนั้นไม่ใช่โรคเป็นเพียงภาวะไม่สมดุลของสารอาหาร ( GTF ) ในร่างกายเท่านั้น "

       สำหรับผู้ป่วยที่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี หรือผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงมากนัก( 140 – 180 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) อาจตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะก็ได้  เพราะไตของเรามีความสามารถ ในการกั้นน้ำตาลได้ระดับหนึ่ง  คือประมาณ 180 – 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์   ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานหรือไม่จึงควรตรวจ ระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อเป็นการป้องกันอาการแทรกซ้อน จากเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ

 

การวินิจฉัยโรคเบาหวาน

       การวินิจฉัยว่าบุคคลใดเป็นเบาหวานหรือไม่นั้นจะพิจารณาจากระดับน้ำตาลในเลือดเป็นเกณฑ์โดยก่อนการตรวจจะต้องเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 คืน  กล่าวคือหลังเที่ยงคืนต้องไม่รับประทานอะไรเลย นอกจากน้ำเปล่า หลังจากนั้นเมื่อทำการวัดระดับน้ำตาลในเลือดก่อน รับประทานอาหารเช้าได้มากกว่า 140 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์  2 ครั้ง  หรือหากพบน้ำตาลในเลือดไม่ว่าเวลาใดมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์  เพียงครั้งเดียวร่วมกับมีอาการ เช่น ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง กระหายน้ำ กินจุ  น้ำหนักลด ฯลฯ  ให้ถือว่าเป็นเบาหวานได้เลยแต่ในปัจจุบัน สมาคมทางการแพทย์ของบางประเทศ มีความเห็นว่าบุคคลบางกลุ่ม ที่แม้ระดับน้ำตาลไม่สูงมากแต่ก็มีโรคแทรกซ้อนเช่นเดียวกับ

ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน  จึงให้ความเห็นว่า

         1. การมีระดับน้ำตาลในเลือด 126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ก่อนอาหารเช้า        

         2. ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหารมีค่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป และหากมีอาการของเบาหวานร่วมด้วยให้ถือว่าเป็นเบาหวานได้เลย

         โรคเบาหวาน เป็นโรคที่มีการค้นพบมาเป็นเวลานาน  และมีการพัฒนาการรักษามานานกว่า 80 ปี แต่ปัญหาผู้ป่วย เบาหวาน กลับยิ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนขณะนี้ถือว่าเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันดับต้นๆของโลก

          ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์สมัยใหม่จึงมีการวิจัยค้นพบ สาร GTF ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้

การทำงานของฮอร์โมนอินซูลินทำงานดีขึ้นถึง 240% จนเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์ นมผง GT&F ที่สามารถใช้ ฟื้นฟู โรค เบาหวานได้ที่ต้นเหตุของการเกิดโรค ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ฟื้นฟูแผลเรื้อรัง ฟื้นฟูอาการไตเสื่อม ภูมิแพ้ และฟื้นฟูโรคแทรกซ้อนจาก เบาหวาน ได้ทุกอาการ

         การค้นพบสาร GTF และการใช้ผลิตภัณฑ์นมผง GT&F จึงช่วยให้การฟื้นฟูเบาหวาน เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป

 วิธีป้องกันการเป็นโรคเบาหวาน

1.       ลดปริมาณอาหาร หรือการลดน้ำหนัก

       หลักสำคัญในการลดน้ำหนักคือ ต้องลดปริมาณอาหารลง เพื่อให้จำนวนแคลอรีที่ได้รับต่อวันน้อยกว่าที่ร่างกายใช้ คือต้องรับประทานแคลอรีน้อยลงวันละ 500-1,000 กิโลแคลอรี ซึ่งจะทำให้น้ำหนักลดลงได้ประมาณ 0.45-0.9 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ปริมาณอาหารที่ควรลดในเบื้องต้นคือ อาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ไขมัน และควรออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมทางกาย ที่เหมาะสม เพียงพอ และสม่ำเสมอ นอกจากนี้อาหารที่รับประทานควรเป็นอาหารตามหลักโภชนาการ หรืออาหารสุขภาพ

    2. การมีกิจกรรมทางกายหรือการออกกำลังกาย (physical activity or exercise)

      การออกกำลังกายไม่ว่าในรูปแบบใด หรือกิจกรรมออกแรงในการทำงาน หรือทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การเดิน การขึ้นลงบันได การเช็ดขัดถู การขุดดินทำสวน ที่ทำอย่างต่อเนื่องและใช้เวลานานพอ เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยควบคุมหรือลดน้ำหนัก เพราะทำให้ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อมัดต่างๆ ใช้พลังงานเพิ่มขึ้น และยังทำให้น้ำหนักตัวที่ลดลงแล้วไม่กลับเพิ่มขึ้นอีก การออกกำลังกายหรือการมีกิจกรรมออกแรงที่มากเพียงพอทำให้ภาวะดื้ออินซูลินลดลง ระดับน้ำตาลจะดีขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วย

    3. ไปพบแพทย์เป็นระยะ

        ยารักษาโรคเบาหวานวิธีการควบคุมรักษาโรคเบาหวาน

นอกจากการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องเหมาะสม และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดังที่กล่าวมาแล้ว จำเป็นต้องพบแพทย์เป็นระยะๆ ตามนัด และตรวจสุขภาพตามกำหนด เพื่อค้นหาหรือติดตามโรคแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งรับประทานยาหรือฉีดยาตามที่แพทย์แนะนำเป็นประจำ

     4. ธรรมะบำบัด หรือจิตบำบัด คือรู้จักรักษาสุขภาพจิตให้มีอารมณ์สดชื่น สบาย ไม่วิตกกังวลจนเกินไปทำใจให้สบาย ถือว่า โรคภัย เป็นสิ่งที่มีประจำสังขาร หนีไม่พ้น ไม่เครียด

     5. พึงเป็นคนมีจิตใจร่าเริง จะสามารถบรรเทาเบาหวานไปได้

 

อาการ 5 ต. ของเบาหวานจากการบอกเล่า

 

1.      ตา  ตาจะมีอาการพร่ามัว มีน้ำตาไหลออกมา

2.      ตีน จะมีอาการเป็นแผล รักษาหายยาก

3.      ไต ไตจะมีอาการวาย หรือไตวาย ต้องไปล้างไตบ่อยๆ

4.      ตับ มีโรคแทรกซ้อน จากตับ

5.      ตาย  ในที่สุดร่างกายก็ทนรับภาระเหล่านี้ไม่ไหว ก็ต้องตาย

 ขอให้ท่าน สุขกาย สุขใจ มีเงินใช้ไม่ขาดมือ

และปลอดภัยจากโรคร้าย และโควิด 19

ไปจนทุกภพทุกชาติ เทอญ

แหล่งข้อมูล

https://www.honestdocs.co/type-of-diabetic

http://thaigtf.com/a5/773-24.html

https://goo.gl/g9x48J


 


 

 

 


 

 


 

หมายเลขบันทึก: 693792เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2021 09:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ธันวาคม 2021 09:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท