วิเคราะห์ cross-over trial ด้วย NCSS 2021


โครงสร้างของ cross-over trial 
    ที่เปรียบเทียบระหว่างการรักษาแบบ A และ B โดยในอาสาสมัครคนเดียวกันจะได้การรักษาทั้งสองแบบ แต่แบ่งเป็นกลุ่มตามลำดับการได้ A ก่อน หรือ B ก่อน คือมี ‘sequence’ ต่างกัน
1. Treatment period : cross over ที่นิยมทำที่สุดคือ AB→ BA  มีสอง period 
2. Washout period :   ช่วงห่างระหว่างแต่ละ treatment  เพื่อให้ผลจากการรักษาแรกหมดไปเสียก่อน
3. Assessment before and after แต่ละ treatment period : ผลต่างระหว่างการรักษา A กับ B คือ ค่าต่างระหว่าง assesment 2 กับ 1 (diffperiod1)  เทียบกับ  ค่าต่างระหว่าง assesment 3 กับ 2 (diffperiod2) ของผู้เข้าร่วมวิจัยทุกคน 

ดังตัวอย่าง(1) กลุ่ม A หรือ sequence1 รับการใช้ HAL training คือการใช้กายอุปกรณ์ช่วยพยุงตัวก่อนใน period 1 แล้วจึงรับ conventional training ใน period 2   มี wash-out period เท่ากับ 1 สัปดาห์
ขณะที่กลุ่ม B หรือ sequence 2 ได้ conventional training ก่อนใน period 1 แล้วจึงรับ HAL training ใน period 2

 


การวิเคราะห์ทางสถิติของ cross-over trial 
มีความซับซ้อนกว่า Trial ทั่วไปเนื่องจากมีข้อที่ต้องวิเคราะห์สามประการคือ(2)
1. Carry over effect เนื่องจาก สมมติฐานของ cross-over เป็นการเปรียบเทียบภายในคนเดียวกัน ผลของการรักษาที่ค้างอยู่ในตัวจึงถือเป็น bias ที่ทำให้ไม่สามารถประเมินประสิทธิภาพการรักษาที่ต่างกันได้

2. Period effect  เป็นผลจากการ measurement ที่ต่างกันในแต่ละ period of treatment  เช่นผลจากห้องปฎิบัติการที่ทำการทดสอบคนละครั้ง อาจมีความแตกต่างจากปริมาณน้ำยา ความต่างจึงไม่ได้เป็นผลจากการรักษา

3. Sequence effect เป็นผลจากการถูกจัดเป็นกลุ่มที่ได้ sequence แบบ AB หรือ BA 

ทางสถิติสามารถทดสอบว่ามี carry over effect และ period effect ได้ แต่ไม่สามารถทดสอบ sequence effect ได้ การดูกราฟ Response-period ช่วยบอกได้ว่ามี effect เหล่านี้หรือไม่ (2)



NCSS 2021  
1.ผู้เขียนได้ใช้สิทธิอาจารย์ มีอีเมล์ของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย ซื้อ license 12 ปีในราคาลดกว่า 90% จาก https://onthehub.com/ (อาจมีโปรโมชันเป็นช่วงๆต้องตรวจสอบดูค่ะ)
2.การเตรียมข้อมูลทำดังตัวอย่างด้านซ้ายมือ โดย diff1 หมายถึง ผลของ period1 (Assesment 2-Assesment1)   และ diff2 หมายถึง ผลของ period2 (Assessment3-Assesment2)
3.เลือก Analysis → T-test → 2x2 cross over study
4. ใส่ค่าตามช่อง  ที่สำคัญคือการกำหนด label ถ้ากำหนด label1 เป็น R (control)  และ label2 เป็น T (treatment) หมายความว่า กลุ่ม sequence1 จะเป็น R→T  และกลุ่ม sequence2 เป็น T→ R  ตรงนี้ถ้าสับสนจะทำให้การแปลผลกลับตะละปัดทีเดียว


5. หลังจากกดปุ่ม run จะปรากฎผลทางสถิติ treatment effect, carry over effect และ period effect มาดังรูป

5. การเลือกว่าจะใช้ paired -T test หรือ Mann-Whitney ดูที่การ test for normal distribution โดยเฉพาะค่า Shapiro-Wilk หากมากกว่า 0.05 แสดงว่าสามารถ assume normal distribution และใช้ T-test ได้


6. กราฟ Response-period เส้นจะลากระหว่างการรักษา A-A กับ ฺB-B ดังนั้นหากจะเปรียบเทียบกับรูปแบบตาม reference 2 ซึ่งเป็นเส้น A-B, B-A ต้องลากเส้นตัดดังตัวอย่าง  

ภาพที่ 1 ไม่มี carry over และไม่มี period effect แต่ยังมี sequence effect

ภาพที่ 2 กรณีไม่มี carry-over ไม่มี sequence แต่น่าจะมี period effect 
 



การเขียนวิจัย Cross over trial ควรยึดตาม Consort extension to randomized control trial (3)



Reference
1.Sczesny-Kaiser M, Trost R, Aach M, Schildhauer TA, Schwenkreis P, Tegenthoff M. A Randomized and Controlled Crossover Study Investigating the Improvement of Walking and Posture Functions in Chronic Stroke Patients Using HAL Exoskeleton – The HALESTRO Study (HAL-Exoskeleton STROke Study). Front Neurosci. 2019 Mar 29;13:259.
2.Wang T, Malone J, Fu H, Heilmann C, Qu Y, Huster WJ. Crossover design and its application in late‐phase diabetes studies. J Diabetes. 2016 Sep;8(5):610–8.
3.Dwan K, Li T, Altman DG, Elbourne D. CONSORT 2010 statement: extension to randomised crossover trials. BMJ. 2019 Jul 31;l4378.

หมายเลขบันทึก: 693595เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2021 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2021 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Hello again. Long time no see ;-)

I had to look up ‘crossover study’ (on Wikipedia) and inform myself of the need for a crossover trial, its benefits and disadvantages. This study (of yours) must be really important to invest time (getting participants agreements, collecting data, and using a not-free statistical analysis package) and worth posting. But I found no information on the ‘study’, the reason for using crossover trial or any ‘learning’ from this trial (do we have to wait for the ‘publication’ –some 12 months to go?). I think promoting a commercial tool is not a role of researchers.

ยินดีต้อนรับ คิดถึงหมอ ป เสมอค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณ Sr สำหรับคำถามและคำแนะนำ ไม่ได้เขียนมานานมากค่ะ เขียนก็ไม่จบเพราะถูก distract ไปหลายวัน ^_^ สำหรับรายละเอียดงานวิจัยนี้จะมาเขียนต่อค่ะ บทความนี้จุดประสงค์แชร์ให้ advisee อ่านค่ะ เพราะกว่าจะงมวิธีใช้และวิธีแปลความหมายก็นานพอควร แต่ไม่มีเจตนาโฆษณา NCSS2021 แต่อย่างใดค่ะ สำหรับผู้ชำนาญโปรแกรมสถิติใช้โปรแกรมอื่นได้แน่นอนค่ะ

สวัสดีค่ะพี่แก้ว รูปแบบใหม่ของ gotoknow ไม่รู้ว่าจะตอบกับแบบ quote ข้อความยังไงคะ นานมากที่ไม่ได้เขียน ลืมค่ะ 555

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท