ปรัชญาอินเดีย (6)


เหตุผลของการแปลผลงานคลาสสิคของ ศ.ดร.ราธกฤษณัน เรื่อง ปรัชญาอินเดีย (Indian Philosophy) มีดังนี้ 1.การที่เราจะศึกษาพระพุทธศาสนาให้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง ควรจะเข้าใจปรัชญาแนวคิดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูด้วย เนื่องจากว่าปรัชญาคำสอนของศาสนาพราหมณ์เป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับพระพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อในพระพรหมเทพเจ้าผู้สร้าง พระวิษณุเทพเจ้าผู้รักษา พระอิศวรเทพเจ้าผู้ทำลาย และเทพเจ้าต่าง ๆ มากมาย แต่พระพุทธศาสนาไม่เชื่อความมีอยู่ของเทพเจ้าเหล่านี้ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูสอนว่าความจริงสูงสุด (อาตมันหรือปรมาตมัน) เป็นอัตตา แต่พระพุทธศาสนาสอนว่าความจริงสูงสุด (นิพพาน) และธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเชื่อในระบบวรรณะ แต่พระพุทธศาสนาปฏิเสธระบบวรรณะ พุทธและพราหมณ์เปรียบเสมือนด้านทั้งสองด้านของเหรียญอันเดียวกัน ดังนั้นถ้าเราเข้าใจปรัชญาแนวคิดของศาสนาพราหมณ์ก็จะทำให้เราเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สมบูรณ์และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น 2.ศ.ดร.ราธกฤษณัน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทจาก Madras Christian College ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมัทราส (University of Madras) ศ.ดร.ราธกฤษณัน เป็นชาวมัทราสที่ถือกำเนิดในวรรณะพราหมณ์ของอินเดียใต้ และผมมีโอกาสได้ไปใช้ชีวิตศึกษาปริญญาโทที่ Madras Christian Collegeและปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยมัทราส ประเทศอินเดียเป็นเวลา 7 ปี ระหว่างปี 2002-2010 ดังนั้น การแปลงานวรรณกรรมคลาสสิคของ ศ.ดร.ราธกฤษณันจึงเป็นเสมือนการทดแทนบุญคุณของชาวมัทราสและเป็นการบูชาคุณของประเทศอินเดีย 3.ในฐานะที่เป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อีสานใต้ ดังนั้นเหตุผลที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการสรรสร้างอารยธรรมขอมอันยิ่งใหญ่ที่ปรากฎในพื้นที่อีสานใต้จะชัดเจนขึ้น เมื่อเราเข้าใจปรัชญาแนวคิด ความเชื่อ คำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พูดง่าย ๆ คือ หนังสือปรัชญาอินเดียของท่านราธกฤษณันจะช่วยให้เราเข้าใจว่าอารยธรรมขอมอันยิ่งใหญ่ในอดีตเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

 

 

                                                                           บทที่ 2

                                                                บทสวดแห่งฤคเวท

พระเวททั้ง ๔-ส่วนของคัมภีร์พระเวท : มันตระ, พราหมณะ,อารัณยกะ,อปนิษัท-ความสำคัญของการศึกษาบทสวด-วันเวลาและการประพันธ์-มุมมองที่แตกต่างของคำสอนในบทสวด-แนวโน้มทางปรัชญาของบทสวด-ศาสนา-เทพเจ้า-ธรรมชาตินิยมและมานุษยวิทยา-สวรรค์และโลกมนุษย์-พระวรุณ-ฤตะ-พระสุริยะ-พระอุษา-พระโสมะ-พระยม-พระอินทร์-เทพและเทวี-การจัดแบ่งประเภทของเทพในพระเวท-ความโน้มเอียงต่อชีวิตนักบวช-เอกภาพของธรรมชาติ-แรงกระตุ้นที่เป็นหนึ่งของจิตวิญญาณเชิงตรรกะ-ประเด็นเรื่องจิตสำนึกทางศาสนา-พหุเทวนิยม-วิศวกรรมัน-พฤหัสปติและหิรัณยะครรภะ-กำเนิดของการสะท้อนและการวิจารณ์-ความไม่เพียงพอทางปรัชญาของเอกเทวนิยม-เอกนิยม-ปรัชญาและศาสนา-มุมมองทางจักรวาลวิทยาของบทสวดในพระเวท-นิษาทิยะ ศุกตะ-ความสัมพันธ์ของโลกและสภาวะสูงสุด-ปุรุษะ ศุกตะ-ศาสนาเชิงปฏิบัติ-การสวดมนต์-การบูชายัญ-กฎเกณฑ์ทางจริยธรรม-กฎแห่งกรรม-พรตนิยม-วรรณะ-ชีวิตในโลกหน้า-หนทางสองสายของพระเจ้าและบิดา-นรก-การเกิดใหม่-บทสรุป

                                                                        คัมภีร์พระเวท

                                                                      (The Vedas)

          คัมภีร์พระเวทเป็นเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดในฐานะบันทึกทางจิตวิญญาณของมนุษย์ที่เรามี วิลสัน (Wilson) เขียนว่า: "เมื่ออักษรแห่งฤคเวท (Rg-Veda) และยชุรเวท (Yajur Vedas) ถูกบันทึกเสร็จสิ้น เราจะอยู่ในความครอบครองของความเพียงพอแห่งวัตถุดิบสำหรับการชื่นชมต่อผลลัพธ์ที่จะได้มาจากพระเวท และเป็นปัจจัยต้นทุนที่แท้จริงของชาวฮินดูทั้งทางการเมืองและทางศาสนา ณ วันที่เทียบเคียงกับบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักขององค์การทางสังคม -ก่อนหน้ารุ่งอรุณของอารยธรรมกรีก - ก่อนร่องรอยที่เก่าแก่ที่สุดของจักรวรรดิอัสซีเรียที่ค้นพบ - ร่วมสมัยอาจมีงานเขียนภาษาฮีบรูที่เก่าแก่ที่สุดและเกิดหลังเฉพาะราชวงศ์อียิปต์ อย่างไรก็ตาม เรายังรู้เพียงเล็กน้อยยกเว้นชื่อที่เป็นหมัน ; พระเวทให้ข้อมูลมากมายแก่เราเกี่ยวกับสิ่งที่น่าสนใจที่สุดในการพินิจเรื่องราวสมัยโบราณ มีพระเวท 4 คัมภีร์ คือ ฤคเวท ยชุรเวท  สามเวท และอาถรรพเวท พระเวท 3 คัมภีร์แรกสอดคล้องกันไม่เพียงแต่ในชื่อ รูปแบบ และภาษาเท่านั้น แต่ในเนื้อหาด้วย ในบรรดาคัมภีร์พระเวทนั้น ฤคเวทเป็นประธานของพระเวททั้งหมด บทเพลงสวดที่ได้รับการดลใจซึ่งชาวอารยันนำมาจากถิ่นฐานเดิมก่อนหน้านี้มาสู่อินเดียในฐานะที่เป็นสมบัติล้ำค่าที่สุดของพวกเขา โดยทั่วไปแล้ว ในความเชื่อมสัมพันธ์ต่อการกระตุ้นให้สมบัติล้ำค่า (พระเวท) เกิดขึ้นเมื่อชาวอารยันปะทะกับผู้บูชาเทพเจ้าจำนวนมหาศาลอื่น ๆ ในประเทศใหม่ของพวกเขา ฤคเวท (Rg-Veda) คือคัมภีร์ชุดนั้น สามเวทเป็นที่รวบรวมพิธีกรรมอย่างบริสุทธิ์ บทสวดส่วนใหญ่พบในพระเวท และแม้แต่บทสวดที่มีลักษณะเฉพาะก็ไม่มีบทเรียนที่โดดเด่นเป็นของตนเอง ล้วนถูกจัดเตรียมไว้เพื่อขับร้องบวงสรวง คัมภีร์ยชุรเวท (Yajur-Veda) ก็เป็นเช่นเดียวกับคัมภีร์สามเวท (Sama-Veda) ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับพิธีกรรมเช่นกัน คัมภีร์ชุดนี้ทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของศาสนาเชิงพิธีกรรม วิทนีย์ (Whitney) เขียนว่า: "ในสมัยพระเวทตอนต้น การบวงสรวงสังเวยยังคงเป็นการอุทิศตนอย่างไม่ผูกมัด ไม่ผูกมัดในหน้าที่ของคณะนักบวชผู้มีอภิสิทธิ์ ไม่ได้ควบคุมในรายละเอียดปลีกย่อย แต่ปล่อยให้เป็นไปตามแรงกระตุ้นที่เป็นอิสระของผู้ที่ถวายของบูชาพร้อมกับเพลงสวดและบทสวดฤคเวท (Rg-Veda) และสามเวท (Sama-Veda) เพื่อปากของผู้ถวายจะไม่เงียบในขณะที่มือของเขากำลังนำเสนอของขวัญต่อพระเจ้าด้วยหัวใจที่กระตุ้นเร้า อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป พิธีกรรมกลายเป็นลักษณะที่เป็นทางการมากขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดกลายเป็นการเลื่อนไหลของการกระทำเดี่ยวที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวดและละเอียดถี่ถ้วน ไม่เพียงแต่โคลงกลอนรวมกับบทสวดที่ถูกอ้างอิงในระหว่างพิธีเท่านั้น แต่ยังมีการจัดตั้งตัวเองเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาของถ้อยวาจา สูตรของถ้อยคำ ตั้งใจให้ประกอบการกระทำแต่ละอย่างของงานทั้งหมดเพื่ออธิบาย สารภาพ อวยพร ให้ความหมายเชิงสัญลักษณ์หรืออื่นๆ ที่คล้ายกัน…สูตรการบวงสรวงบูชาเหล่านี้ได้รับชื่อว่ายชุรเวท (Yajur-Veda) จากรากศัพท์ Yaj หมายถึง เสียสละ ยชุรเวทประกอบด้วยสูตรเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเป็นร้อยแก้วและบางส่วนเป็นกลอน เรียงตามลำดับที่จะใช้ในการบูชายัญ”  ชุดคัมภีร์สามเวทและยชุรเวทจะต้องแต่งขึ้นในช่วงเวลาระหว่างการรวบรวมฤคเวท (Rg-Veda) และยุคศาสนาพราหมณ์ (Brahmanism) เมื่อศาสนาพิธีกรรมได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างดี  อาถรรพเวท (Atharva-Veda) ไม่ได้รับยกย่องให้เป็นพระเวทมาเป็นเวลานาน แม้ว่าตามความคิดของเรา อาถรรพเวทจะมีความสำคัญต่อฤคเวท (Rg-Veda) เท่านั้น เพราะมันเป็นชุดประวัติศาสตร์ของเนื้อหาอิสระ วิญญาณที่แตกต่างแผ่ซ่านไปทั่วพระเวทซึ่งเป็นการสร้างความคิดในยุคหลัง มันแสดงให้เห็นผลของจิตวิญญาณประนีประนอมที่ชาวอารยันยุคพระเวทนำมาใช้ในมุมมองของเทพเจ้าใหม่ที่บูชาโดยชนชาติดั้งเดิมของประเทศซึ่งพวกเขาค่อยๆ ปราบลงอย่างช้าๆ

                   คัมภีร์พระเวทประกอบด้วย 3 ส่วนที่เรียกว่า มันตระ พราหมณะ และอุปนิษัท ประมวลชุดบทสวดมนต์หรือบทสวดสรรเสริญเรียกว่า สัมหิตา คัมภีร์พราหมณะรวมเอาศีลธรรมและหน้าที่ทางศาสนา อุปนิษัทและอรัณยกะเป็นส่วนสุดท้ายของคัมภีร์พราหมณะที่กล่าวถึงปัญหาทางปรัชญา อุปนิษัทมีภูมิหลังทางจิตของความคิดที่ตามมาทั้งหมดของประเทศ  ในบรรดาอุปนิษัทในยุคแรกนั้น ไอตาเรยะ (Aitareya) และเกาษีตะกี (Kausitaki) เป็นของคัมภีร์ฤคเวท เกนะ (Kena) และฉานโฑคยะ (Chandogya) เป็นของคัมภีร์สามเวท อีษา (Isa) และไตติริยะ (Taitiriya)  และพราหฑารัณยะกะ (Brahadaranyaka) เป็นของคัมภีร์ยชุรเวท และปรัสณะ (Prasna) และมุณฑกะ (Mundaka) เป็นของคัมภีร์อถรรพเวท อารัณยกะนั้นอยู่ระหว่างพราหมณะและอุปนิษัท ตามชื่อของมัน มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นวัตถุแห่งการทำสมาธิสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในป่า พวกพราหมณ์อภิปรายถึงพิธีกรรมที่คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนจะถือปฏิบัติ แต่เมื่ออยู่ในวัยชราเขาไปอยู่ในป่า จำเป็นต้องมีพิธีกรรมบางอย่างมาทดแทน และนั่นก็มีให้ในอารัณยกะ แง่มุมเชิงสัญลักษณ์และจิตวิญญาณของลัทธิบูชายัญถูกไตร่ตรองในอารัณยกะ และการทำสมาธินี้ใช้แทนการแสดงพิธีบูชายัญ คัมภีร์อารัณยกะก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างพิธีกรรมของพราหมณะ (Brabmanas) กับปรัชญาของอุปนิษัท (Upanisads) ในขณะที่บทสวดสรรเสริญเป็นการสร้างสรรค์ของนักกวี พราหมณะเป็นผลงานของนักบวช และอุปนิษัทเป็นผลของการเข้าสมาธิของมุนีผู้เป็นปราชญ์ ศาสนาแห่งบทสวดสรรเสริญธรรมชาติ ศาสนาแห่งกฎหมายของพราหมณ์ และศาสนาแห่งวิญญาณของอุปนิษัทสอดคล้องอย่างใกล้ชิดกับพัฒนาการ 3 ขั้นตอนในแนวความคิดของปรัชญาเฮเกล (thesis, antithesis, synthesis) เรื่องพัฒนาการทางศาสนา แม้ว่าในระยะหลังขั้นตอนทั้งสามจะดำรงอยู่เคียงข้างกัน ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบทสวด (Hymns)ได้รับการพัฒนาในสมัยก่อนอุปนิษัท ในลักษณะเป็นความศรัทธาดื่มด่ำของการบูชาพระเวท ในขณะเดียวกันเป็นการประท้วงต่อต้านศาสนาของพราหมณ์

 

                                  ความสำคัญของการศึกษาบทสวดในคัมภีร์พระเวท

                                  (Importance of the Study of the Vedic Hymns)

                   การศึกษาเพลงสวดของฤคเวท (Rg-Veda) เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับวัตถุดิบที่เพียงพอสำหรับความคิดของชาวอินเดีย ไม่ว่าเราจะคิดอย่างไร ตำนานกึ่งรูปแบบหรืออุปมาเปรียบเทียบอย่างหยาบ ๆ ความคลุมเครือหรือองค์ประกอบที่ยังไม่สมบูรณ์พร้อม ยังคงเป็นที่มาของแนวปฏิบัติและปรัชญาในยุคหลังของชาวอินโด-อารยัน และการศึกษาสิ่งเหล่านี้ก็จำเป็นสำหรับความเข้าใจที่ถูกต้องของแนวคิดที่เพียงพอ เราพบความสดชื่น ความเรียบง่าย และมนต์เสน่ห์ที่อธิบายไม่ถูกในฐานะลมหายใจของฤดูใบไม้ผลิหรือดอกไม้ในยามเช้า เกี่ยวกับความพยายามครั้งแรกของจิตใจมนุษย์ต่อการทำความเข้าใจและแสดงความลึกลับของโลก

                    ข้อความของพระเวทที่เรามีได้มาถึงเราจากช่วงเวลาของกิจกรรมทางปัญญานั้นเมื่อชาวอารยันพบทางเข้าอินเดียจากบ้านเดิมของพวกเขา ชาวอารยันนำความคิดและความเชื่อบางอย่างมาพัฒนาและดำเนินต่อในดินแดนของอินเดีย การเรียบเรียงและการรวบรวมบทสวดเหล่านี้ต้องใช้เวลานาน แมกซ์ มึลเลอร์ (Max Muller) แบ่งภาคของสัมหิตา (Samhita) ออกเป็น 2 ส่วนที่เรียกว่าคำฉันท์ (Chandas) และมันตระ (Mantra)

                      ในสมัยก่อนมีการแต่งบทสวดสรรเสริญ มันเป็นยุคสร้างสรรค์ที่โดดเด่นด้วยบทกวีที่แท้จริงเมื่ออารมณ์ของมนุษย์หลั่งไหลออกมาเป็นบทเพลง เราจึงไม่มีร่องรอยของการบูชายัญ การอธิษฐานเป็นเครื่องบูชาเพียงอย่างเดียวที่มอบให้กับพระเจ้า ประการที่สองคือช่วงเวลาของการรวบรวมหรือการจัดกลุ่มอย่างเป็นระบบ ตอนนั้นเองที่เพลงสวดถูกจัดเรียงในรูปแบบเดียวกับที่เรามีในปัจจุบัน ในช่วงเวลานี้ แนวความคิดเกี่ยวกับการบูชายัญค่อย ๆ พัฒนาไปอย่างช้าๆ เมื่อเพลงสวดถูกเรียบเรียงและรวบรวมเป็นเรื่องของการคาดเดา เรามั่นใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจุบันก่อนคริสตศตวรรษที่ 15 พระพุทธศาสนาซึ่งเริ่มแพร่หลายในอินเดียเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสตกาล สันนิษฐานว่าไม่เพียงแต่การมีอยู่ของบทสวดในพระเวทเท่านั้น แต่ยังรวมถึงวรรณกรรมเกี่ยวกับพระเวททั้งหมด รวมทั้งคัมภีร์พราหมณะและอุปนิษัทด้วย เพื่อให้ระบบการบูชายัญของพราหมณ์ถูกสถาปนาอย่างมั่นคง กว่าที่ปรัชญาอุปนิษัทจะเจริญเต็มที่ย่อมต้องใช้เวลาอีกนาน การพัฒนาความคิดที่ปรากฎในวรรณกรรมอันกว้างใหญ่นี้ต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งพันปีช่วงเวลานี้ไม่นานเกินไปหากเราจดจำความหลากหลายและการเติบโตที่วรรณกรรมปรากฎ นักวิชาการอินเดียบางคนกำหนดช่วงเวลาบทสวดในพระเวทประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนคนอื่นๆ ให้ 6000 ปีก่อนคริสตกาล  ติลัก (Tilak) ผู้ล่วงลับไประบุเวลาบทสวดสรรเสริญเมื่อประมาณ 4500 ปีก่อนคริสตกาล, คัมภีร์พราหมณะ 2500 ปีก่อนคริสตกาล, อุปนิษัทตอนต้นประมาณ 1600 ปีก่อนคริสตกาล จาโคบี (Jacobi) ระบุเวลาบทสวดพระเวทไว้ประมาณ 4500 ปีก่อนคริสตกาล โดยสรุปทั่วไประยะเวลาที่เกิดบทสวดในพระเวทตกประมาณศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช และเชื่อมั่นว่าวันเวลาของเราจะไม่ถูกท้าทายว่าเร็วเกินไป

             ฤคเวทสัมหิตา (Rg-Veda Samhita) หรือชุดคัมภีร์ประกอบด้วยเพลงสวดหรือสุกตะ (suktas) 1,017 บทครอบคลุมทั้งหมดประมาณ 10,600 บท แบ่งออกเป็น 8 อัษฎกะ (astakas) แต่ละอันมี 8 อาธยายะ (adhyayas) หรือบทซึ่งแบ่งออกเป็นวรรค (vargas) หรือกลุ่ม บางครั้งก็แบ่งออกเป็น 10 มณฑล (mandalas) หรือวงกลม ส่วนหลังเป็นภาคที่ได้รับความนิยมมากกว่า มณฑลชุดแรกประกอบด้วยเพลงสวด 191 เพลง และกำหนดโดยผู้แต่งหรือฤษี (Rsis) (ผู้พยากรณ์หรือปราชญ์) ที่แตกต่างกันประมาณ 15 คน เช่น เคาตมะ (Gautama) กาณวะ (Kanva) เป็นต้น

              ในการเรียบเรียงบทสวดสรรเสริญมีหลักการที่เกี่ยวข้อง บรรดาเทพผู้ที่ถูกกล่าวถึงก่อนคือพระอัคนี (Agni)  พระอินทร์ (Indra) ถูกกล่าวถึงเป็นลำดับที่สอง จากนั้นก็เป็นเทพเจ้าที่เหลือ มณฑลทั้ง 6 ถัดไปถูกกำหนดให้เป็นตระกูลกวีเดี่ยว และมีการจัดเรียงแบบเดียวกันในมณฑลที่ 8 เราไม่มีลำดับที่แน่นอน มันถูกกำหนดให้เหมือนมณฑลแรกกับผู้เขียนที่แตกต่างกัน มณฑลที่ 9 ประกอบด้วยบทสวดสรรเสริญที่บูชาพระโสมะ บทสวดสรรเสริญของมณฑลที่ 8 และ 9 มีอยู่มากมายในคัมภีร์สามเวทด้วย มณฑลที่ 10 ดูเหมือนจะเป็นส่วนเสริมในภายหลัง อย่างไรก็ตาม บทนี้มีมุมมองที่เป็นปัจจุบันในช่วงสุดท้ายของการพัฒนาบทสวดของพระเวท

             สีสันดั้งเดิมของกวีนิพนธ์เกี่ยวกับการให้ข้อคิดทางวิญญาณก่อนหน้านี้ถูกทำให้ป่วยด้วยความคิดทางปรัชญาที่ซีดเซียว บทสวดสรรเสริญที่เก็งความจริงทางปรัชญาเกี่ยวกับจุดกำเนิดของการสร้างโลกและจักรวาล ฯลฯ เป็นต้น เมื่อรวมกับการสร้างทฤษฎีนามธรรมเหล่านี้แล้ว ถูกพบมนต์เสน่ห์เกี่ยวกับความเชื่อโชคลางและการไล่ผีที่อยู่ในยุคอาถรรพเวท (Atharva-Veda) ในขณะที่การเก็งความจริงทางปรัชญาบ่งบอกถึงความเจริญของจิตใจซึ่งปรากฏครั้งแรกในบทสวดสรรเสริญ คุณลักษณะนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อถึงเวลานั้นชาวอารยันต้องคุ้นเคยกับหลักคำสอนและการปฏิบัติของชาวอินเดียและทั้งสองนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ที่ชัดเจนของจุดกำเนิดภายหลังของคัมภีร์เล่มที่ 10

 

                                                  คำสอนของคัมภีร์พระเวท

                                              (The Teaching of the Vedas)

               มุมมองที่แตกต่างกันของจิตวิญญาณของบทสวดสรรเสริญในพระเวทนั้นเกิดขึ้นโดยนักปราชญ์ที่มีความสามารถซึ่งทำให้พระคัมภีร์โบราณเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการศึกษาชีวิตของพวกเขา ไฟลเดเรอร์ (Pfleiderer) กล่าวว่า "คำอธิษฐานไร้เดียงสาเหมือนเด็กในยุคแรกแห่งฤคเวท (Rg-Veda)” พิเชษฎ์ (Pictet) ยืนยันว่าฤคเวทของชาวอารยัน (Aryans) แสดงถึงลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ไม่ว่าจะคลุมเครือและดึกดำบรรพ์ก็ตาม โรท (Roth) และธยานันทะ สารัสวตี (Dayananda Sarasvati) ผู้ก่อตั้งอารยสมาช (Arya Samaj) เห็นด้วยกับทัศนะนี้ ราม โมหัน รอย (Ram Mohan Roy) ถือว่าเทพเจ้าในพระเวทเป็น "การแสดงเชิงเปรียบเทียบของคุณลักษณะของเทพเจ้าสูงสุด" ตามทัศนะของคนอื่น ๆ ที่เกิดราวกับดอกเห็ด บทสวดสรรเสริญของฤคเวท (Rg-Veda) เป็นองค์ประกอบของการบูชายัญในเผ่าพันธุ์ดึกดำบรรพ์ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพิธีกรรม เบอร์ไจจ์เน (Bergaigne) เชื่อว่าบทสวดสรรเสริญทั้งหมดเป็นการเปรียบเทียบ ศายะนะ (Sayana) อรรถกถาจารย์อินเดียที่มีชื่อเสียงใช้การตีความธรรมชาติของเทพเจ้าที่ปรากฎในบทสวดสรรเสริญซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนักปราชญ์ยุโรปสมัยใหม่ บางครั้งศายะนะ (Sayana) ตีความบทสวดสรรเสริญว่าเป็นจิตวิญญาณของศาสนาพราหมณ์ในภายหลัง ความคิดเห็นที่แตกต่างกันเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมองว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เพราะพวกเขาชี้ให้เห็นถึงลักษณะที่แตกต่างกันของชุดคัมภีร์ฤคเวท (Rg-Veda) เท่านั้น เป็นงานที่แสดงถึงความคิดของนักคิดรุ่นต่อๆ มา และจึงมีชั้นความคิดที่แตกต่างกันอยู่ภายใน โดยหลักการ เราอาจกล่าวได้ว่า ฤคเวทเป็นตัวแทนของศาสนาในยุคที่ไม่ซับซ้อน เพลงสวดจำนวนมากนั้นเรียบง่ายและไร้เดียงสา แสดงถึงจิตสำนึกทางศาสนาของจิตที่เป็นอิสระจากความคิดซับซ้อนทางปรัชญาในภายหลัง  นอกจากนี้ยังมีบทสวดสรรเสริญที่อยู่ในยุคของพราหมณะที่เป็นรูปแบบและเป็นทางการภายหลัง มีบางส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคัมภีร์เล่มหลัง ๆ ซึ่งรวบรวมผลงานที่เปี่ยมวุฒิภาวะของปฏิกิริยาทางจิตสำนึกแสดงความหมายของโลกและสถานที่มนุษย์ดำรงอยู่ เอกเทวนิยม (Monotheism) บ่งบอกถึงบทสวดสรรเสริญบางบทของฤคเวท (Rg-Veda) ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบางครั้งเทพเจ้าหลายองค์ถูกมองในฐานะเป็นชื่อและการแสดงออกที่แตกต่างกันของสภาวะความเป็นสากล (Universal Being) แต่ลัทธิเอกเทวนิยม (ในฤคเวท) นี้ ยังไม่ถือเป็นเอกเทวนิยมที่เฉียบแหลมของโลกสมัยใหม่ 

                อรพินโท โฆส (Aurobindo Ghos) นักปราชญ์รหัสยนิยมผู้ยิ่งใหญ่ชาวอินเดีย่ มีความเห็นว่าพระเวทนั้นเพียบพร้อมไปด้วยคำแนะนำเกี่ยวกับหลักคำสอนที่เป็นความลับและปรัชญารหัสยนิยม  เขามองว่าเทพเจ้าของบทสวดสรรเสริญเป็นสัญลักษณ์ของโครงสร้างทางตรรกจิตวิทยา (Psycho-logical Function) พระสุริยะ (Surya) หมายถึงความฉลาด พระอัคนี (Agni) หมายถึงความตั้งใจ และพระโสมะ (Soma) หมายถึงอารมณ์ความรู้สึก  สำหรับอรพินโท พระเวทนั้นเป็นศาสนาลึกลับที่สอดคล้องกับลัทธิออพิค (Orphic) และเอลยูซิเนียน (Eleusinian) ของกรีกโบราณ "สมมติฐานที่ข้าพเจ้าเสนอคือฤคเวท (Rg-Veda) เป็นเอกสารสำคัญฉบับเดียวที่ยังคงอยู่สำหรับเราตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของความคิดของมนุษย์ซึ่งความลึกลับทางประวัติศาสตร์ของเอลยูซิเนียน (Eleusinian) และออพิค (Orphic) เป็นเศษซากที่ล้มเหลวเมื่อความรู้ทางจิตวิญญาณและจิตใจของเผ่าพันธุ์ถูกปิดบังด้วยเหตุผลที่ยากแก่การตัดสินในขณะนี้ ในม่านที่มีรูปและสัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรมและวัตถุซึ่งปกป้องความรู้สึกจากคำดูหมิ่นและเปิดเผยต่อผู้ประทับจิต หลักการสำคัญประการหนึ่งของไสยศาสตร์คือความศักดิ์สิทธิ์และเป็นความลับของความรู้ตนเองและความรู้ที่แท้จริงของเหล่าทวยเทพ พวกเขาคิดว่าปัญญานี้ไม่เหมาะกับจิตใจของมนุษย์ธรรมดา บางทีอาจถึงขั้นอันตราย หรืออาจถึงขั้นวิปริตและการใช้ในทางที่ผิดและสูญเสียคุณธรรมได้หากเปิดเผยต่อวิญญาณที่ยังหยาบกระด้างและไม่บริสุทธิ์ ดังนั้นพวกเขาจึงโปรดปรานการมีอยู่ของการบูชาภายนอกที่มีประสิทธิภาพ แต่ไม่สมบูรณ์แบบสำหรับความหยาบกระด้างและวินัยภายในสำหรับผู้ประทับจิต และสวมภาษาของพวกเขาด้วยคำพูดและภาพซึ่งมีความรู้สึกทางจิตวิญญาณเท่าเทียมกันสำหรับผู้เลือกและความรู้สึกที่เป็นรูปธรรมสำหรับมวลสามัญชน ผู้บูชาบทสวดสรรเสริญในพระเวทเกิดขึ้นและสร้างขึ้นบนหลักการเหล่านี้" 

                 เมื่อเราพบว่ามุมมองนี้ไม่เฉพาะกับมุมมองสมัยใหม่ของนักวิชาการชาวยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการตีความดั้งเดิมของศายนะ (Sayana) และสำนักปรัชญาปูรวะมีมางสา (Purva-Mimamsa) ซึ่งเป็นสำนักปรัชญามีที่มีความโดดเด่นในการตีความพระเวท เราต้องลังเลที่จะทำตามการชี้นำของอรพินโท โฆส (Aurobindo Ghosh) ไม่ว่ามุมมองของเขาจะดูแยบยลเพียงใด ไม่น่าจะเป็นไปได้ที่ความก้าวหน้าทั้งหมดของความคิดของชาวอินเดียจะค่อยๆ หายไปจากความจริงทางจิตวิญญาณสูงสุดของบทสวดสรรเสริญในคัมภีร์พระเวท สอดคล้องกับสิ่งที่ทราบกันโดยทั่วไปของการพัฒนามนุษย์ และง่ายกว่าที่จะยอมรับได้ว่าศาสนาและปรัชญาในยุคหลังๆ เกิดขึ้นจากข้อเสนอแนะที่หยาบ ๆ และแนวคิดทางศีลธรรมเบื้องต้นและความทะเยอทะยานทางจิตวิญญาณของจิตใจในยุคแรกๆ มากกว่าที่จะเป็นการเสื่อมถอยของความสมบูรณ์แบบดั้งเดิม

         ในการตีความจิตวิญญาณของบทสวดสรรเสริญในพระเวท เราเสนอให้นำเอาทัศนะของบทสวดสรรเสริญเหล่านี้ที่คัมภีร์พราหมณะและอุปนิษัทยอมรับหลังจากนั้น ผลงานในภายหลังเหล่านี้เป็นความต่อเนื่องและการพัฒนามุมมองของบทสวดสรรเสริญ ขณะที่เราพบความก้าวหน้าจากการบูชาพลังธรรมชาติภายนอกสู่ศาสนาฝ่ายวิญญาณของอุปนิษัทที่เข้าใจได้ง่ายตามกฎของการเติบโตทางศาสนาตามปกติมนุษย์ทุกที่ในโลก ซึ่งเริ่มต้นที่ภายนอกและไปสู่ภายใน - อุปนิษัทไม่สนใจการบูชาธรรมชาติในยุคแรก ๆ แต่เพียงพัฒนาข้อเสนอแนะของศาสนาขั้นสูงที่มีอยู่ในพระเวท การตีความนี้สอดคล้องกับวิธีการทางประวัติศาสตร์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ของวัฒนธรรมมนุษย์ยุคแรก ๆ และสอดคล้องกับมุมมองคลาสสิคของอินเดียที่ศายนะ (Sayana) นำเสนอ

 

                                                   แนวโน้มทางปรัชญา

                                           (Philosophical Tendencies)

                ในฤคเวท (Rg-Veda) เรามีถ้อยคำที่แสดงถึงความเร่าร้อนของจิตวิญญาณดั้งเดิม แต่เป็นกวีซึ่งแสวงหาที่หลบภัยจากคำถามดื้อรั้นของความรู้สึกและสิ่งต่าง ๆ ภายนอก บทสวดสรรเสริญเป็นแนวปรัชญาในขอบเขตที่พวกเขาพยายามอธิบายความลึกลับของโลก ไม่ใช่ด้วยความเข้าใจที่ลึกซึ้งเหนือมนุษย์หรือการเปิดเผยที่ไม่ธรรมดา แต่ด้วยแสงแห่งเหตุผลที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ จิตที่เปิดเผยของบทสวดสรรเสริญในพระเวทไม่ใช่ประเภทใดประเภทหนึ่ง มีจิตวิญญาณแห่งกวีผู้เพียงแต่ใคร่ครวญถึงความงามของท้องฟ้าและความมหัศจรรย์ของแผ่นดิน และทำให้จิตวิญญาณดนตรีของพวกเขาคลายภาระของตนด้วยการแต่งบทสวดสรรเสริญ เทพเจ้าอินโด-อิหร่านของธยาอุส (Dyaus) วรุณะ (Varuna) อุษา (Usas) มิตระ (Mitra) ฯลฯ เป็นผลงานของจิตสำนึกเชิงกวีนี้ คนอื่นที่มีอารมณ์กระตือรือร้นมากขึ้นพยายามปรับโลกให้เข้ากับจุดประสงค์ของตนเอง ความรู้เกี่ยวกับโลกเป็นประโยชน์แก่ตนในฐานะเป็นเครื่องชี้นำทางชีวิต และในช่วงเวลาของการพิชิตและการต่อสู้ เทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่เช่นพระอินทร์ก็ถูกสถาปนาขึ้น แรงกระตุ้นทางปรัชญาที่เป็นอัจฉริยะ ความปรารถนาที่จะรู้และเข้าใจโลกเพื่อประโยชน์ของตนเอง แสดงให้เห็นเฉพาะเมื่อสิ้นสุดช่วงเวลาของพายุและความเครียดนี้เท่านั้น ในตอนนั้นเองที่มนุษย์ได้นั่งลงเพื่อสงสัยในพระเจ้าที่พวกเขาบูชาอย่างงมงายและไตร่ตรองถึงความลึกลับของชีวิต ในช่วงเวลานี้เองที่มีคำถามซึ่งจิตใจของมนุษย์ไม่สามารถให้คำตอบที่เพียงพอได้ กวีในพระเวทอุทานว่า: "ฉันไม่รู้ว่าฉันเป็นอะไร; ลึกลับ, ถูกผูกมัด, จิตใจของฉันล่องลอยไป" แม้ว่าเชื้อโรคของปรัชญาที่แท้จริงจะปรากฎขึ้นในช่วงหลัง แต่มุมมองของชีวิตที่สะท้อนอยู่ในบทกวีและการฝึกฝนบทสวดในพระเวทก็ยังให้ความรู้ เนื่องจากประวัติศาสตร์ในตำนานเกิดขึ้นก่อนโบราณคดี เคมี การเล่นแร่แปรธาตุ และดาราศาสตร์โหราศาสตร์ ตำนานและกวีนิพนธ์มาก่อนปรัชญาและวิทยาศาสตร์ แรงกระตุ้นของปรัชญาพบการแสดงออกครั้งแรกในตำนานและศาสนา ในที่นั้นเราพบคำตอบสำหรับคำถามของการดำรงอยู่ขั้นสุดท้ายที่ผู้คนโดยทั่วไปเชื่อ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากจินตนาการ ซึ่งสันนิษฐานว่าสาเหตุในตำนานจะอธิบายโลกแห่งความเป็นจริง เมื่อเหตุผลค่อยๆ เพิ่มขึ้นเหนือจินตนาการ ความพยายามที่จะแยกแยะสิ่งที่ถาวรออกจากสิ่งที่เป็นจริงของโลกถูกสร้างขึ้น การคาดเดาเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาเกิดขึ้นแทนที่การสันนิษฐานในตำนาน องค์ประกอบถาวรของโลกถูกทำให้เป็นมลทิน และด้วยเหตุนี้จักรวาลวิทยาจึงสับสนกับศาสนา ในช่วงแรกของการไตร่ตรองอย่างที่เรามีในคัมภีร์พระเวท ตำนาน จักรวาลวิทยา และศาสนาจะพบปะปนกัน จะเป็นที่สนใจอย่างยิ่งที่จะอธิบายความคิดเห็นสั้น ๆ ของเพลงสวดภายใต้สาขาทั้ง 4 ของปรัชญา นั่นคือเทววิทยา จักรวาลวิทยา จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์

 

                                                                  เทววิทยา

                                                                 (Theology)

 

                      การเติบโตทางศาสนาในช่วงหลายศตวรรษไม่สามารถเป็นความเชื่อที่เรียบง่ายและโปร่งใสที่ยอมรับคำจำกัดความและการจำแนกที่ง่าย ลักษณะเด่นของบทสวดสรรเสริญคือลักษณะพหุเทวนิยมที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ พระเจ้าจำนวนมากได้รับการตั้งชื่อและนมัสการ ทว่าบทเพลงสรรเสริญบางเพลงทำให้เราตกใจด้วยปรัชญานามธรรมอันสูงส่งของพวกเขา และจากเทพเจ้าหลายองค์ดั้งเดิมไปจนถึงปรัชญาที่เป็นระบบ มันเป็นหนทางยาวไกล สามขั้นของความคิดสามารถแยกแยะได้ในศาสนาที่เกิดจากเพลงสวดของฤคเวท (Rg-Veda) ซึ่งเป็นลัทธิพหุเทวนิยมแบบธรรมชาติ จากนั้นก็เป็นลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) และเอกนิยม (monism) ในที่สุด

                        จุดสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการอภิปรายนี้คือคำว่า "เทวดา" (Deva) เป็นธรรมชาติที่เข้าใจยากและใช้เพื่อบ่งบอกถึงสิ่งต่างๆ มากมาย "เทวดาเป็นผู้ให้ (กำเนิด) มนุษย์" พระเจ้า (God) เป็นเทวดา (deva) เพราะพระองค์ทรงให้กำเนิดโลก บัณฑิตผู้ให้ความรู้แก่เพื่อนมนุษย์ก็เป็นเทวดาเช่นกัน พระอาทิตย์ พระจันทร์ และท้องฟ้าเป็นเทวดา เพราะให้แสงสว่างแก่สรรพสิ่งทั้งปวง บิดามารดาและมัคคุเทศก์ทางจิตวิญญาณก็เป็นเทวดาเช่นกัน แม้แต่แขกผู้มาเยือนก็เป็นเทวดา เราต้องพิจารณาเฉพาะแนวความคิดว่าด้วยเทวดาซึ่งอย่างน้อยก็ตอบคร่าวๆ ถึงแนวคิดสมัยใหม่ที่ระบุว่าพระเจ้า (God) หมายถึง ความสว่างไสว

                         กระบวนการสร้างพระเจ้าในพื้นที่แห่งจิตใจมนุษย์นั้นไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในที่อื่นอย่างในพระเวท เรามีความสดชื่นและความรุ่งโรจน์ในยามเช้าของจิตใจมนุษย์ที่ยังคงหลงเหลือจากกิจวัตรในอดีตหรือกิจวัตรที่ตายตัว ไม่มีจุดเริ่มต้นใดในประวัติศาสตร์ของความคิด และเราต้องเริ่มต้นที่ไหนสักแห่ง เราอาจเริ่มต้นด้วยการระบุตัวตนของเทพเจ้าในพระเวทบางแง่มุมด้วยพลังแห่งธรรมชาติบางอย่าง และชี้ให้เห็นว่าเหล่าทวยเทพค่อยๆ ถูกฟูมฟักให้เป็นเทพแห่งศีลธรรมและเหนือมนุษย์ได้อย่างไร ผู้หยั่งรู้ในเพลงสวดเวทที่เก่าแก่ที่สุดยินดีในสัญญะแห่งธรรมชาติด้วยวิธีที่ไม่รู้สึกตัวง่าย ๆ ของตัวเอง

                        โดยพื้นฐานแล้วมีอารมณ์แบบกวี พวกเขาเห็นสิ่งต่าง ๆ ของธรรมชาติด้วยความรู้สึกและพลังแห่งจินตนาการที่เข้มข้นจนทำให้สิ่งต่าง ๆ อบอวลไปด้วยจิตวิญญาณ พวกเขารู้ว่าการรักธรรมชาติเป็นอย่างไร และหลงทางในความอัศจรรย์ของรุ่งอรุณและพระอาทิตย์ขึ้น กระบวนการลึกลับเหล่านั้นซึ่งส่งผลต่อการบรรจบกันของจิตวิญญาณและธรรมชาติ สำหรับพวกเขา ธรรมชาติคือการดำรงอยู่ซึ่งพวกเขาสามารถถือศีลมหาสนิทได้ แง่มุมอันรุ่งโรจน์บางอย่างของธรรมชาติกลายเป็นหน้าต่างแห่งสวรรค์ ซึ่งพระเจ้ามองลงมายังแผ่นดินโลกที่ไม่นับถือพระเจ้า ดวงจันทร์และดวงดาว ทะเลและท้องฟ้า รุ่งอรุณและราตรีถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การบูชาธรรมชาติเช่นนี้เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของศาสนาพระเวท ในไม่ช้าการสะท้อนที่เยือกเย็นก็เข้ามา ความพยายามที่จะเจาะเข้าไปในธรรมชาติภายในของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว มนุษย์กำลังยุ่งอยู่กับการสร้างเทพเจ้าตามแบบของเขา ศาสนาของมนุษย์ที่ยังไม่พัฒนาทั่วโลกนั้นเป็นแบบมานุษยวิทยา เราไม่สามารถยอมรับในความโกลาหลของโลกทางกายภาพ เราพยายามที่จะเข้าใจมันในทางใดทางหนึ่งและมาถึงทฤษฎีบางอย่างของชีวิตด้วยความเชื่อมั่นว่าการมีสมมติฐานบางอย่างดีกว่าไม่มีเลย โดยธรรมชาติแล้ว เราคาดการณ์ถึงสิทธิ์เสรีของเราเองและอธิบายปรากฏการณ์ตามสาเหตุทางวิญญาณของพวกมัน เราตีความทุกสิ่งโดยเปรียบเทียบธรรมชาติของเราเองและเจตจำนงที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทางกายภาพ ทฤษฎีนี้ไม่ควรสับสนกับลัทธิบูชาผี เพราะทฤษฎีนี้ไม่สอดรับกับภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสากลของธรรมชาติ เป็นลัทธิพหุเทวนิยมประเภทหนึ่งที่ปรากฏการณ์อันน่าทึ่งของธรรมชาติ ซึ่งอินเดียมีมากจนกลายเป็นเทวดา สัญชาตญาณทางศาสนาเผยตัวออกมาในลักษณะนี้ ในช่วงเวลาแห่งความรู้สึกทางศาสนาอย่างลึกซึ้ง เมื่อมนุษย์หลุดพ้นจากภยันตรายที่ใกล้เข้ามา หรือตระหนักถึงการพึ่งพาพลังอันยิ่งใหญ่ของธรรมชาติอย่างเต็มที่ เขารู้สึกถึงความเป็นจริงของการทรงสถิตของพระเจ้า เขาได้ยินเสียงของพระเจ้าในพายุและเห็นมือของพระองค์ในความเงียบของคลื่น ในช่วงปลายยุคสโตอิกเราพบกับแนวความคิดที่คล้ายคลึงกัน “พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว กฎหมาย และมนุษย์ที่กลายเป็นเทพเจ้า” เป็นสิ่งที่ดีที่พระเวทของชาวอารยันมีศรัทธาในความเป็นจริงของโลกที่มองไม่เห็น ชาวอารยันไม่สงสัยในเรื่องนี้ พระเจ้าทรงมีอยู่แท้จริง ลัทธิธรรมชาตินิยมและมานุษยวิทยาดูเหมือนจะเป็นขั้นตอนแรกของศาสนาในพระเวท

                   ตอนนี้เป็นเรื่องธรรมดาของประวัติศาสตร์ที่ชาวอารยันสมัยพระเวทและชาวอิหร่านสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มเดียวกันและแสดงความใกล้ชิดและความคล้ายคลึงกันอย่างมาก ชาวอารยันมาจากถิ่นฐานเดิมของพวกเขาสู่อินเดียและอิหร่านที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ และในดินแดนตะวันออกกลางนั้น พวกเขาอาศัยอยู่เป็นเผ่าพันธุ์เดียวที่ไม่มีการแบ่งแยก จนถึงความจำเป็นของชีวิต ต้องการที่ว่าง จิตวิญญาณแห่งการผจญภัยบังคับให้พวกเขาจากแผ่นดินเกิดและพเนจร ในการแสวงหาดินแดนใหม่ในทิศทางต่างๆ นั่นคือเหตุผลที่เราพบความสัมพันธ์มากมายในศาสนาโบราณและแนวคิดเชิงปรัชญาของอินเดียและเปอร์เซีย ดร.มิลส์ (Dr.Mills) กล่าวว่า "คัมภีร์อเวสตะใกล้ชิดกับพระเวทดั้งเดิมมากกว่าพระเวทในภาษาสันสกฤตที่เป็นมหากาพย์" มีความต่อเนื่องของภาษาอยู่ เมื่อชาวอารยันมาที่อินเดียผ่านแคว้นปัญจาบ พวกเขาพบชาวอินเดียพื้นเมืองซึ่งพวกเขาเรียกว่า ทัสยุ (Dasyu) ซึ่งต่อต้านการรุกล้ำอย่างเสรี ทัสยุ (หรือทาส) เหล่านี้มีผิวสีเข้ม กินเนื้อวัวและดื่มด่ำกับการบูชาผีพื้นเมือง เมื่อชาวอารยันพบพวกเขา ชาวอารยันต้องการที่จะอยู่ห่างจากพวกเขา ชาวอารยันมีจิตวิญญาณอันพิเศษเฉพาะที่เกิดจากความภาคภูมิใจของเผ่าพันธุ์และความเหนือกว่าของวัฒนธรรมที่พัฒนาไปสู่จิตวิญญาณของระบบวรรณะในภายหลัง ความวิตกกังวลในการรักษาศาสนาของตนให้บริสุทธิ์จากการปนเปื้อนทำให้ชาวอารยันรวบรวมวรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์ของตนเอง คำว่า สัมหิตา (Samhita) ซึ่งแปลว่า "บทประมวลคำสอน" แสดงให้เห็นว่าเพลงสวดของฤคเวท (Rg-Veda) ถูกรวบรวมในช่วงเวลาที่ชาวอารยันและผู้ที่ไม่ใช่ชาวอารยันพบกันบนดินแดนของอินเดีย เราจะเริ่มสเก็ตภาพของเทพเจ้าในพระเวทกับเหล่าเทพอินโด-อิหร่านที่เผ่าพันธุ์พี่น้องทั้งสองมีเหมือนกันก่อนการแยกจากกัน ความรู้สึกของความไม่บริบูรณ์ของโลกนี้ ความอ่อนแอของมนุษย์ ความต้องการจิตวิญญาณที่สูงขึ้น ผู้นำทาง เพื่อน ความช่วยเหลือที่มนุษย์สามารถพึ่งพิงได้ ผู้ที่เขาสามารถดึงดูดจิตใจจากความทุกข์ได้ เป็นธรรมดาของหัวใจที่เจ็บป่วยของมนุษย์ เมื่ออายุยังน้อยนั้น ไม่มีอะไรสามารถตอบความรู้สึกนี้สำหรับท้องฟ้าที่ไร้ขอบเขตและเจิดจ้าได้ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวอาจเปลี่ยนไป พายุสลายและเมฆเคลื่อนตัวออกไป แต่ท้องฟ้าคงอยู่ตลอดไป  ธยาอุส (Dyaus) ไม่ได้เป็นเพียงเทพของชาวอินโดอิหร่านเท่านั้น แต่ยังเป็นเทพแห่งอินโด-ยูโรเปียนอีกด้วย พระองค์ยังคงอยู่ในกรีซในฐานะเซอุส (Zeus) ในอิตาลีในฐานะจูปีเตอร์ (Jupiter) (พระบิดาบนสวรรค์) และท่ามกลางชนเผ่าติวโตนิค (Teutonic) เช่น ไทร์ (Tyr) และ ทยิ (Tyi) แต่เดิมเทพเจ้าหมายถึงแสงสว่าง และต่อมาถูกนำไปใช้กับวัตถุที่เปล่งแสงสว่างทั้งหมด ดวงอาทิตย์ ท้องฟ้า ดวงดาว รุ่งอรุณ กลางวัน ฯลฯ มันกลายเป็นคำทั่วไปที่หมายถึงลักษณะทั่วไปของสิ่งที่ส่องแสงทั้งหมด ในไม่ช้าโลกก็ถูกทำให้เป็นเทวดา สวรรค์และโลกในตอนเริ่มต้นอาจมีเพียงลักษณะทางกายภาพของความกว้างใหญ่ ความยิ่งใหญ่ไพศาลและประสิทธิผล คุณลักษณะที่กำหนดให้กับโลกเช่น "น้ำผึ้งที่ให้ผลผลิต" "เต็มไปด้วยน้ำนม" แต่สวรรค์และโลกในยุคแรกๆ ก็มีคุณสมบัติของมนุษย์เช่น "ไม่ผุพัง" "พ่อ" และ "แม่" คุณสมบัติทางศีลธรรม เช่น การให้พร สัพพัญญู และความชอบธรรมก็ถูกเพิ่มเข้ามาด้วย อาจเป็นไปได้ว่ามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องจากกายภาพไปสู่บุคคลและจากบุคคลไปสู่สวรรค์ โลกและสวรรค์เป็นสิ่งแรกที่ถูกบูชาทั่วโลก แม้ว่าในตอนแรกโลกและสวรรค์ถูกมองว่าเป็นสิ่งมีชีวิตอิสระ ในไม่ช้าก็เข้าสู่การเป็นพันธมิตรด้วยการแต่งงาน(ระหว่างโลกและสวรรค์) โลกถูกมองว่าเป็นมารดาที่มีผลดก ถูกสวรรค์ชุบให้ชุ่ม ในเพลงสวดของโฮเมอร์ โลกถูกกล่าวถึงว่าเป็น "พระมารดาของทวยเทพ" ภรรยาของสวรรค์แห่งดวงดาว โลกและสวรรค์เป็นพ่อแม่สากลที่ให้ชีวิตแก่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดและให้วิธีการดำรงชีวิตแก่พวกเขา ในพระเวท โลกและสวรรค์มักจะถูกกล่าวถึงในเลขคู่ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งสองก่อตัวขึ้น แต่มีแนวคิดเดียวสำหรับทั้งหมดระหว่างดวงอาทิตย์ รุ่งอรุณ ไฟ ลมและฝนเป็นลูกหลานของโลกและสวรรค์ โลกและสวรรค์เป็นพ่อแม่ของมนุษย์และเทพเจ้า เมื่อจำนวนเทพเจ้าเพิ่มขึ้น คำถามก็เกิดขึ้นว่าใครสร้างสวรรค์และโลก “พระองค์เป็นผู้สร้างสรรค์ที่เฉลียวฉลาดที่สุดในหมู่เทพเจ้า ผู้สร้างสิ่งที่ชาญฉลาด (สวรรค์และโลก) ที่ทำให้เรายินดีกับสิ่งสารพัด ผู้ทรงวัดความเที่ยงธรรมทั้งสองด้วยปัญญาของพระองค์ และสถาปนาโลกและสวรรค์บนเครื่องอุปถัมภ์อันเป็นนิรันดร์” พลังสร้างสรรค์นี้ถูกกำหนดให้กับพระอัคนี (Agni) พระอินทร์ (Indra) หรือพระโสมะ (Soma) เทพเจ้าอื่นๆ ก็ถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อเป็นเกียรติแก่สิ่ง(โลกและสวรรค์)นี้เช่นกัน

 

หมายเลขบันทึก: 693594เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2021 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ธันวาคม 2021 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท