การปรับตัวของของพอช.หน่วยงานของรัฐที่เป็นเครื่องมือพัฒนุมชน


 

 

#2เดือนก่อน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ภาคใต้  หรือที่เรียกย่อๆ “พอช.” ได้ชักชวนผมไปร่วมพูดคุยสถานการณ์ทางเศรษฐ สังคม และการเมือง กับการปรับตัวและการเคลื่อนตัวภาคชุมชน ท้องถิ่น และพอช. ในสถานการณ์ใหม่ เนื่องในโอกาสสัมมนาจัดทำแผนขับเคลื่อนประจำปีของพอช ใต้ . 
#ผมมองว่าสถานการณ์ทางสังคมและการเมืองอยู่ในสถานการณ์ที่น่าห่วงเอามากๆ ภาคประชาชน ประชาสังคม ถูกทำให้อ่อนแอ ตีบตันลงไปเรื่อย 
#นั่นหมายความว่าในแง่มุมชุมชน-เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพอช. ถือเป็นการทำลายคุณูปการที่พอช. เพียรสร้างมากว่า 20 ปี
#คุณูปการพอช. ต่อการเคลื่อนตัวภาคประชาชน-ชุมชน และ ท้องถิ่น ในทัศนะของผมจากการที่ได้แลกเปลี่ยนกับหลายๆคนคือ 
#1.การเป็น “ประตูแห่งความหวัง–หน้าต่างแห่งโอกาสของประชาชน-ชุมชน ในการเข้าถึงโอกาส ประสบการณ์ ความรู้สึกและแรงปรารถนาใหม่ๆ  
#2.การขยายงานพัฒนาในแนวราบที่กว้างขวาง ทำให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นได้รับการสนับสนุนมากขึ้นในเชิงปริมาณ 
#3.การเปิดช่องให้ชุมชน-เครือข่ายได้มามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ “กองทุนรัฐ” อย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่สุดเท่าที่หน่วยงานรัฐเคยมีมา 
#4.รูปการจัดตั้งงานพัฒนา ทำให้เกิด “ขบวน” “เครือข่ายใหม่” ในชุมชน ที่นำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ใหม่ใน “แนวราบ” ที่ “เทียมหน้าเทียมตา”  
#5.ที่ทำให้ปรับดุลอำนาจใหม่ที่เท่า ต่อรองกันได้ และมีส่วนสำคัญทำให้การอุปถัมภ์ ในระดับชุมชน ท้องถิ่นคลายตัวลง (บางระดับ บางพื้นที่ บางประเด็น) 
#อย่างไรก็ตามในสถานการณ์นี้ พอช. จึง
# 1.พยายามสร้าง/ ขยายสนามการการทำงานในระดับชุมชน ท้องถิ่นที่สามารถหนุนเนื่องไปสู่ระดับที่สูงขึ้นไป โดยเชื่อมโยง ประเด็น / พื้นที่ พ่วงการผลักดันกติกาสู่ลู่ทางใหม่ๆที่ใหญ่กว่า เช่น ธรรมนูญชุมชน วิสัยทัศน์จังหวัด(จัดการตนเอง) หนุนให้เกิดปัญญาชนชุมชน ผู้นำใหม่ ให้มากขึ้น และมีส่วนผสมคนหลากรุ่น 
#2.สร้าง / หา คู่ขาความร่วมมือกับ NGO, CSO หรือ องค์กรภาคีภาคประชาชน เพื่อขยายงานใน “เชิงคุณภาพ” “พื้นที่คุณภาพ” และ “ทางเลือกการพัฒนา”  เพื่อเกี่ยว/ ร้อย /หาช่อง/ สร้างกลไกใหม่ๆในการต่อรองข้างบน ไปพร้อมๆกับการเตรียม “คนใน” ที่ทำงานเชิง “คุณภาพ” จะทำให้เกิดการ “สานพลัง” ผลักดันกติกาที่ใหญ่กว่า เช่น ประชาธิปไตย พลเมือง ความไม่เป็นธรรมได้   
#3.  สร้างผู้สื่อข่าวภาคประชาชน เพราะศูนย์กลางของข้อมูลข่าวสารได้ถูกทะลายลง เปิดพื้นที่ โอกาสให้ชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น และคนตัวเล็กตัวน้อยได้สำแดงตัวตน อัตลักษณ์มากขึ้นเรื่อยๆ 
#และ 4. ชักชวนขบวนชุมชนมาร่วมกันออกแบบ ปฏิรูปพอช. ให้เป็นสถาบันการเรียนรู้ของประชาชนและเจ้าของ
#ขอบคุณสำหรับโอกาสและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ ถือเป็นข้อเสนอชั้นต้นที่อยากชวนถกครับ ………

บ้านวอญ่า18พย64(crจากข้อเสนอของอาจารย์ ณัฐพงศ์ิ จิตนรัตน์ ม

.ทักษิณพัทลุง)

 

หมายเลขบันทึก: 693385เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2021 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2021 10:07 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท