พุทธธรรมกับการฝึกหัดครู


 

หนังสือพุทธธรรมกับการฝึกหัดครู บันทึกคําบรรยายพิเศษ ของ พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) ในการประชุมสัมมนาทางวิชา การ จัดโดย สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ ณ โรงแรมสวนบัวรีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม์ ๑๔ กันยายน ๒๕๓๗ ประเทืองปัญญายิ่งนัก

ในหน้า ๖๐ ท่านย้ำว่า การศึกษาล้มเหลวเพราะละเลยความสุข    ขยายความต่อได้ว่า การศึกษาต้องชัดเจนเรื่องความสุข    เพื่อให้การศึกษาเข้าถึงความเป็นมนุษย์    และช่วยให้รู้จัก “ร่วมสุข”   ไม่ใช่เอาแต่สุขของตนฝ่ายเดียว    นี่คือจริยธรรมของมนุษย์    ความสุขของบุคคล เป็นสันติสุขของสังคม   

หัวข้อบทที่ ๕ หน้า ๑๐๖ คือ “ได้ความเป็นครู เมื่อเกิดความเป็นนักเรียน” สื่อสารหัวใจของความเป็นครู ... ครูต้องเป็น “นักเรียนรู้”   โดยผมขออนุญาตขยายความว่า    การทำหน้าที่ครูที่ดีนั้น ต้องเรียนรู้เรื่อยไปไม่จบสิ้น   ไม่ใช่ว่าจบปริญญาตรี โท เอก  หรือเป็นครูเชี่ยวชาญพิเศษแล้วก็หยุดเรียนรู้ได้    นี่คือจริยธรรมของครู   

หัวใจของเรื่องครู  หน้า ๑๑๑ บอกว่า “ครูที่มีความเป็นครู  เป็นผู้สร้างความเป็นนักเรียนให้เกิดขึ้น   เริ่มด้วยการทำให้เด็กเป็นผู้มีกัลยาณมิตร เหมือนเปิดสัญญาณของความเป็นนักเรียนขึ้นมา” 

ที่หน้า ๑๑๒  ครูทำหน้าที่หนุนให้นักเรียนเรียนรู้จาก ๒ ปัจจัยของสัมมาทิฏฐิแห่งการเรียนรู้  คือ (๑) ปรโตโฆษะ  เสียงบอกจากผู้อื่น  และ (๒) โยนิโสมนสิการ รู้จักคิดพิจารณา ซึ่งภาษาการศึกษาสมัยใหม่เรียกว่า critical reflection          

โดยครูเข้ามาเป็นสื่อนำในการสร้างความเป็นนักเรียนด้วย บุพนิมิตของการศึกษา ๗ ประการ ที่อ่านได้จากหน้า ๑๑๒ ของหนังสือ   

ผมชอบข้อความในหน้า ๑๑๔ ที่บอกว่า การทำงานของครูมี ๒ ระดับ คือ (๑) ระดับเปลือกหุ้ม คือ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้  (๒) ระดับเนื้อตัว คือ เป็นกัลยาณมิตร สร้างสรรค์ความเป็นนักเรียน  ที่จะพัฒนาก้าวไปในการศึกษา   

อีกประเด็นหนึ่งที่ลึกล้ำมากคือเรื่อง การศึกษาจัดตั้ง กับ การศึกษาที่แท้   อ่านเอาเองนะครับ   เป็นการเตือนว่า การศึกษาอาจพาไปในทางมิจฉาทิฏฐิก็ได้  พาไปในทางสัมมาทิฏฐิก็ได้   

ไม่น่าเชื่อว่า ศาสตร์ด้านการเรียนรู้สมัยโบราณสองพันหกร้อยปี    ผ่านการตีความที่ลุ่มลึก  มาบรรจบสอดคล้องกับศาสตร์การเรียนรู้สมัยใหม่ได้

วิจารณ์ พานิช

๑๓ ก.ย. ๖๔

 

หมายเลขบันทึก: 692736เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2021 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2021 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

May I comment on this “…ไม่น่าเชื่อว่า ศาสตร์ด้านการเรียนรู้สมัยโบราณสองพันหกร้อยปี ผ่านการตีความที่ลุ่มลึก มาบรรจบสอดคล้องกับศาสตร์การเรียนรู้สมัยใหม่ได้…”?1. the book (or the subject of ‘learning in Buddhism’) is written by a modern monk using modern (Thai) language –So there are terminologies of similarity;2. the ‘learning in Buddhism’ is over 2,600 years old though most time lays hidden (in the Tipitaka and Pāli language) – modern learning/teaching theories are surprisingly similar in foundational concepts as the ancient ones;3. I think the learning bases (or ways to learn) as described in Buddhist text are by listening (and looking); by copying (or actually following a recipe); then by thinking (about parts, processes and prices of the part and the processes - often gets summed up as analysis and synthesis of the system). Copying is usually the most used way of learning, it gets called ‘drill’, ‘exercise’, ‘practice’, ‘training’, ‘hands on’, ‘on the job’, ‘following the procedure/recipe/the book’,…

In most cases, we hear “monkeys see, monkeys do”. We don’t hear “monkeys see, monkey think”, yet, I think. ;-)

ชอบข้อความนี้ “การศึกษาต้องชัดเจนเรื่องความสุข เพื่อให้การศึกษาเข้าถึงความเป็นมนุษย์ และช่วยให้รู้จัก “ร่วมสุข” ไม่ใช่เอาแต่สุขของตนฝ่ายเดียว”

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท