บำนาญ (บำเหน็จ) ตกทอด


ผู้เขียน ขออนุญาตใช้คำว่า “บำนาญตกทอด” (ก็อันเดียวกันกับบำเหน็จนั้นแหละ) คือ เงินที่รัฐจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ทายาทของผู้รับเงินบำนาญที่ถึงแก่ ความตาย ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว (ทายาท คือบุตร คูสมรส บิดามารดา) หรือบุคคลที่ ข้าราชการบำนาญระบุชื่อไวในหนังสือแสดงเจตนา (กรณีไม่มีทายาท) โดยจ่ายเป็นเงินกอนครั้งเดียว เป็นเงิน จำนวน 30 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน หักเงินบำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับไปแล้ว (ถ้ามี) วิธีคำนวณ บำเหน็จตกทอด คือ เงินบำนาญเดือนสุดท้าย + ช.ค.บ. (ถ้ามี) x 30) – บำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับไปแล้ว

60 ปีที่พากเพียรสู่วันเกษียณที่ภาคภูมิ

“บำนาญ (บำเหน็จ) ตกทอด คืออะไร ?”
ดร.ถวิล  อรัญเวศ

     อาชีพรับราชการ แม้จะเป็นอาชีพที่มีรายได้ในสายตาของ

หลาย ๆ คน อาจจะไม่สูงนัก แต่ก็เป็นอาชีพที่มีเกียรติ และ

สามารถคุ้มครองตนเองและบุคคลในครอบครัวได้ แม้ว่า

สวัสดิการพยาบาลปัจจุบันอาจจะไม่แตกต่างกันสำหรับ

ข้าราชการและประชาชนทั่วไปก็ตาม เพราะคนเข้าถึง

สาธารณสุขได้ถ้วนหน้าทุกวันนี้  แต่ก็ถือว่าก่อนที่เราจะ

ได้มาเป็นข้าราชการหรือข้าฯของแผ่นดิน เราได้ผ่าน

การแข่งขันกับผู้คนเป็นจำนวนมากมาหลายด่าน คู่ต่อสู้ฃ

หลายคน กว่าจะผ่านเกณฑ์และเข้าเส้นชัย จนบางคน

อาจจะท้อใจก่อนเลยไม่สู้ต่อ เช่น ผ่านด่านความสามารถทั่วไป
ความสารถเฉพาะตำแหน่ง และความเหมาะนสมกับตำแหน่ง
ถือว่าเป็นอาชีพที่เข้ายากและอาจจะออกง่ายถ้าไม่สามารถ
ดำรงตนอยู่ในจรรยาบรรณของวิชาชีพ  และสิ่งที่ภาคภูมิใจ
คือเราได้ผ่านการฝึกฝนอบรมมามาก โดยเฉพาะวิชาชีพครู
ซึ่งเป็นวิชาชีพชั้นสูงอีกวิชาชีพหนึ่ง เพราะคนที่จะมาเป็นครูได้
ต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีทางการศึกษา

หรือปริญญาตรีด้านอื่น ๆ ที่ ก.ค.ศ.รับรอง เช่นเดียวกับ

คนที่จะมาเป็น ส.ว.ได้ ต้องจบปริญญาตรีหรือเทียบเท่าก่อน

    สิ่งที่น่าภาคภูมิใจอีกอย่างคือ ข้าราชการที่เกษียณและได้รับ

บำนาญ เวลาตายยังให้ความอบอุ่นแก่ครอบครัวที่อยู่ข้างหลัง

คือจะมีบำนาญตกทอดให้ด้วย (กรณียังไม่ได้รับบำนาญ ก็จะเป็น

บำเหน็จตกทอด และถ้ายังไม่ได้รับเงินดำรงชีพ ก็จะได้รับ

บำเหน็จตกทอดเต็มจำนวน)

 

บำนาญ (บำเหน็จ) ตกทอด คืออะไร ?

       ผู้เขียน ขออนุญาตใช้คำว่า “บำนาญตกทอด” (ก็อันเดียวกันกับบำเหน็จนั้นแหละ)   
คือ เงินที่รัฐจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญที่ถึงแก่ความตาย 
ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว (ทายาท คือบุตร คูสมรส บิดามารดา) หรือบุคคลที่ 
ผู้รับาราชการบำนาญระบุชื่อไวในหนังสือแสดงเจตนา (กรณีไมมีทายาท) 
โดยจายเปนเงินกอนครั้งเดียว

เปนเงิน จำนวน 30 เทาของบำนาญรายเดือน หักบำเหน็จ
ดำรงชีพ (ถามี)  วิธีคำนวณบำเหน็จตกทอด คือ (เงินบำนาญเดือน

สุดท้าย + ช.ค.บ. (ถ้ามี) x 30) – บำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับไปแล้ว

 

สูตรคำนวณบำนาญตกทอด

     = บำนาญ + ช.ค.บ. (ถ้ามี) ) x 30–บำเหน็จดำรงชีพที่
ได้รับไปแล้ว

     เช่น  คุณขาว รับบำนาญเดือนละ 47,000 บาท

ก่อนตายได้รับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว 2 ครั้ง ๆ ละ 200,000

บาท รวม 400,000 บาท (ไม่มีเงิน ช.ค.บ.)

    เงินบำนาญตกทอด คือ 47,000x30= 1,410,000 บาท

และนำเงินบำเหน็จดำรงชีพที่รับไปแล้ว 400,000 บาท ก็จะเหลือ

สุทธิ 1,010,000 บาท

       สัดส่วนการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้ทายาทตามกฎหมาย ดังนี้

1. คู่สมรส 1 ส่วน

 2. บุตร 2 ส่วน (บุตร 3 คนขึ้นไปให้ได้รับ 3 ส่วน)

3. บิดา/มารดา 1 ส่วน

        ลองนำไปหารดู (เช่น ทั้งหมด 5 ส่วน)

หมายเหตุ :

1.ถ้าไม่มีทายาทตามลำดับ 1 –3 ให้จ่ายให้แก่ผู้ที่ผู้รับบำนาญได้

 แสดงเจตนาจะมอบให้ฯไว้ ตามแบบแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับ

บำเหน็จตกทอด

2. หากผู้รับบำนาญไม่มีทายาทและไม่ได้แสดงเจตนาฯ ตามแบบที่กำหนด 
ถือว่าการจ่ายบำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติ (เงินตกเป็น

ของแผ่นดินก็เรียก)

ตัวอย่างที่ 2

     นางดำรับบำนาญเดือนละ 24,000 บาท + ชคบ.1,500 บาท

     ได้รับบำเหน็จดำรงชีพที่รับไป 2 ครั้ง คือครั้งแรก

ตอนเกษียณ 200,000 บาท ครั้งที่ 2 ตอนอายุ 65 ปี 160,000บาท

  บำนาญตกทอด = 25,500 x 30 เท่า  = 765,000 บาท

หัก บำเหน็จดำรงชีพที่รับไป 2 ครั้ง (200,000 + 160,000)

 บำนาญตกทอดที่ทายาทจะได้รับทั้งหมด

 = 765,000 – 360,000 = 405,000 บาท

 

 

เอกสารสำหรับการขอรับบำนาญตกทอด

          กรณีผู้รับบำนาญเสียชีวิตทายาทตามกฎหมายหรือผู้ที่ผู้รับบำนาญได้แสดงเจตนา
ระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ ต้องจัดเตรียมเอกสาร หลักฐานมาติดต่อกับส่วนราชการผู้เบิก

เช่น ถ้าครูสังกัด สพฐ. ก็คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

เพื่อดำเนินการยื่นเรื่องขอรับเงินบำเหน็จตกทอดดังนี้

1. สำเนาใบมรณะบัตรของผู้รับบำนาญ

2. หลักฐานของทายาทตามกฎหมาย หรือ ผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดง

เจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด แล้วแต่กรณี คือ

    2.1 หลักฐาน – บิดาของผู้รับบำนาญ

ที่ เอกสาร-หลักฐาน

1. สำเนาทะเบียนบ้าน

2. สำเนาใบมรณะบัตร/หนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้กรณีบิดาตายไปก่อนแล้ว

3. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบสำคัญการสมรส/หลักฐานการหย่ากับมารดา /หนังสือรับรองของ
ผู้ควรเชื่อถือได้ที่รับรองว่า บิดามารดาสมรสก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 (กรณีไม่มี
หลักฐานสมรส) /ทะเบียนบ้าน/สูติบัตรของบุตรร่วมบิดามารดาเดียวกันซึ่งเกิดภายในปี 2478 หรือก่อนนั้น

4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อและเลขที่บัญชีเงินฝากฯ ประเภทออมทรัพย์ สะสมทรัพย์ 
หรือกระแสรายวัน ยกเว้นบัญชีเงินฝากประเภทประจำ

2.2 หลักฐาน – มารดาของผู้รับบำนาญ

เอกสาร-หลักฐาน

     1. สำเนาทะเบียนบ้าน

     2. สำเนาใบมรณบัตร/หนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้กรณีมารดาตายไปก่อนแล้ว

     3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อและเลขที่บัญชีเงินฝากฯประเภทออมทรัพย์ 
สะสมทรัพย์ หรือกระแสรายวันยกเว้นบัญชีเงินฝากประเภทประจำ

2.3 หลักฐาน – คู่สมรสตามกฎหมายของผู้รับบำนาญ

เอกสาร-หลักฐาน

1. สำเนาทะเบียนบ้าน

2. สำเนาทะเบียนสมรส/ใบสำคัญการสมรส

3. สำเนาใบมรณบัตร/หนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้กรณีคู่สมรสตายไปก่อนแล้ว

4. สำเนาทะเบียนการหย่า/ ใบสำคัญการหย่า/คำสั่งศาลกรณีที่มี

การหย่า

5. สำเนาคำพิพากษา/คำสั่งศาลที่แสดงว่าคู่สมรสคนใดเป็นคู่

สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่มีการสมรสซ้อน

6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อและเลขที่บัญชีเงิน

ฝากฯประเภทออมทรัพย์ สะสมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน

ยกเว้นบัญชีเงินฝากประเภทประจำ

2.4 หลักฐาน – บุตรของผู้รับบำนาญ

1. สำเนาทะเบียนบ้าน

2. สำเนาทะเบียนการรับบุตรบุญธรรม กรณีที่เป็นบุตรบุญธรรม

3. สำเนาใบมรณะบัตร /หนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้ 
กรณีบุตรคนใดได้ตายไปก่อนแล้ว

4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อและเลขที่บัญชีเงิน

ฝากฯประเภทออมทรัพย์ สะสมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน ยกเว้น

บัญชีเงินฝากประเภทประจำ

(กรณีไม่มีทายาทตามกฎหมาย)

2.5 หลักฐาน –บุคคลที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับ

 บำเหน็จตกทอด

เอกสาร-หลักฐาน

1. สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประชาชน

2. แบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด

3. สำเนาใบมรณะบัตร /หนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้ กรณีบิดา มารดา 
ของผู้รับบำนาญเสียชีวิต

4. กรณีผู้รับบำนาญมีคู่สมรส และ หรือ บุตร และเสียชีวิต

ให้แนบสำเนาใบมรณบัตร/หนังสือรับรองการตายของผู้ที่ควรเชื่อถือได้

5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อและเลขที่บัญชีเงินฝากฯประเภท
ออมทรัพย์สะสมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน ยกเว้น

บัญชีเงินฝากประเภทประจำ

  

สรุป

       บำนาญตกทอด (บำเหน็จตกทอด) คือ เงินที่รัฐจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
ให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญที่ถึงแก่ความตาย ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว 
สูตรการคิดบำเหน็จตกทอด

     = เงินบำนาญ + ช.ค.บ. (ถ้ามี) ) x 30–บำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับไปแล้ว ตอนเกษียณ 
และรับอีกครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 65 ปีและครั้งที่ 3
เมื่ออายุ 70 ปี (ถ้าเงินบำนาญมีคุณสมบัติครบ)

       สัดส่วนการจ่ายเงินบำนาญตกทอด (บำเหน็จตกทอด)
ให้ทายาทตามกฎหมาย ดังนี้

1. คู่สมรส 1 ส่วน

 2. บุตร 2 ส่วน (ถ้ามีบุตร 3 คนขึ้นไปให้ได้รับ 3 ส่วน)

3. บิดา/มารดา 1 ส่วน

     หลักฐานการรับเงินบำเหน็จตกทอดดังนี้

1. สำเนาใบมรณะบัตรของผู้รับบำนาญ

2. หลักฐานของทายาทตามกฎหมาย หรือ ผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดง

เจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด แล้วแต่กรณี คือ สำเนา
ทะเบียนบ้าน สำเนามรณบัตรบิดามารดาหรือบุตร(กรณี
ซึ่งตายไปก่อนแล้ว) และสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
หน้าที่มีชื่อและเลขที่บัญชีเงินฝากฯประเภทออมทรัพย์
สะสมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน ยกเว้นบัญชีเงินฝาก
ประเภทประจำ

  หมายเหตุ

      เงินช่วยพิเศษ 3 เดือน 

      (การขอรับเงินช่วยพิเศษ  ต้องยื่นขอรับภายใน 1 ปี
นับแต่วันที่ข้าราชการ ผู้รับบำนาญ ลูกจ้างประจำ หรือ
ลูกจ้างชั่วคราว ผู้มีสิทธิได้รับเงินเดือน
บำนาญ หรือค่าจ้าง แล้วแต่กรณี
ถึงแก่ความตาย)

       เงินที่เมื่อผู้รับบำนาญเสียชีวิตแล้ว รัฐจะจ่ายเงิน
ช่วยเหลือให้แก่บุคคลที่

ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาให้เป็นผู้รับเงินช่วยพิเศษ
หรือทายาทตามกฎหมายของผู้รับบำนาญ เพื่อใช้ใน
การจัดการงานศพให้แก่ผู้รับบำนาญ

สูตรคำนวณ

เงินช่วยพิเศษ = (บำนาญ+ช.ค.บ.(ถ้ามี) ) x 3 เท่า

     ตัวอย่าง ครูเขียว รับเงินบำนาญเดือนละ 40,700 บาท

ทายาทก็จะได้รับเงินช่วยพิเศษ 3 เดือน

การจ่ายเงินช่วยพิเศษ จะจ่ายตามลำดับผู้มีสิทธิ ดังนี้

1. ผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษ

2. คู่สมรส (กรณีถ้าผู้รับบำนาญไม่ได้แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษ)

3. บุตร (กรณีมีบุตรหลายคน บุตรจะต้องลงชื่อยินยอมให้บุตรคนใด

คนหนึ่งขอรับ และต้องไม่มีบุคคลตามลำดับที่ 1 และ 2 แล้ว)

 4. บิดามารดา (กรณีไม่มีบุคคลตามลำดับที่ 1 – 3 แล้ว)

5. บุคคลใดบุคคลหนึ่ง/หน่วยงานต้นสังกัดที่ดำเนินการจัดงานศพ

ให้ผู้รับบำนาญ(กรณีไม่มีบุคคลตามลำดับที่ 1 – 4 แล้ว)

 

แหล่งข้อมูล

 

https://bit.ly/3omn4vE

https://bit.ly/3ojhVo4

http://www.bophoyhealth.com/images/sub_1572590775/retire-gov.pdf

https://bit.ly/3zSZEQT

 


 


 

หมายเลขบันทึก: 692644เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2021 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2021 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์ ดร. ถวิล อย่างสูงที่กรุณาเขียนเรื่องนี้อย่างละเอียดที่สุดเท่าที่เคยอ่านมา ส่วนตัวคงต้องรีบรวบรวมหลักบานต่าง ๆให้พร้อมแล้ว หลังจากที่คิดจะทำทุกปีที่ผ่านมา เป้นบทความที่มีประดยชนืมากค่ะ

อย่างไรก็ดี ขอคำแนะนำอาจารย์ด้วย กรณีสามีภรรยาเป้นข้าราชการทั้งคู่ ไม่มีบุตร และบิดามารดาทั้งสองฝ่ายเสียชิวิตแล้ว ดังนั้นต่างก็เป็นทายาทของกันและกัน การทำหนังสือแสดงเจตนา ต้องทำหรือไม่ และจะระบุชื่อบุคคลอื่นอีกหนึ่งคนเป้นทายาทเพิ่มไว้ด้วย ได้หรือไม่ ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท