การเรียนออนไลน์ไม่ได้ผลในยุคโควิด


หนึ่งปีครึ่ง เด็กไทยเป็นล้านๆคนถูกบังคับให้ละทิ้งจากวิชาพละ, โรงเรียน, เพื่อนๆ, และสนามเด็กเล่น เพื่อที่จะศึกษาชั้นเรียนเทียมผ่านรูปแบบออนไลน์ขึ้น

ชั้นเรียนออนไลน์ยิ่งดูเหมือนจะไม่ได้เรื่องกว่าปกติ: นักเรียนกับครูต้องพบเจอกับประสบการณ์ที่น่าเจ็บปวดในตอนเรียนออนไลน์ สำหรับพ่อแม่ พวกเขาพบว่าไม่รู้จะกระตุ้นลูกๆของเขาให้เรียนในที่บ้านได้อย่างไร

ปัจจัยภายนอกอื่นๆ มีบทบาทอย่างยิ่งกับการเรียนออนไลน์ เช่น การขาดแคลนไฟฟ้าในพื้นที่ชนบท, การขาดเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเข้าอินเตอร์เน็ตที่เสถียร, และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับการเรียนที่บ้าน

ปัญหาเหล่านี้ยังคงมีอยู่ แม้กระทั่งตอนนี้ แต่คำถามที่ใหญ่กว่านั้นยังลงลึกเข้าไปอีก นั่นคือ ถึงแม้จะไม่มีไวรัส การเรียนรู้ออนไลน์เป็นเพียงโอกาสเดียวที่นักเรียนจะได้รับองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารอย่างเดียวเท่านั้นเหรอ?

แล้วทำไมรูปแบบของอนาคตทางการศึกษาสำหรับผู้คนจึงแสดงถึงประสบการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจได้เพียงนั้น?

ปัญหาการเรียนการเรียนออนไลน์ไม่ได้จำกัดที่ประเทศไทยเท่านั้น ประเทศอื่นๆพยายามจะหาวิธีการในการแก้ปัญหา เช่น ให้ยืมคอมพิวเตอร์ไปใช้ในบ้าน หรือจ่ายเงินพิเศษสำหรับครอบครัวเพื่อการเรียนออนไลน์

ประเทศอื่นๆยังทำให้เกิดการเยี่ยมบ้านเพื่อช่วยเหลือนักเรียน หรือสร้างศูนย์ชุมชนสำหรับนักเรียนเพื่อการศึกษา

การแก้ไขเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทย รัฐมนตรีศึกษาที่ตระหนักรู้ในปัญหาให้แจกเงิน 2,000 เพื่อครอบครัว เพื่อการเรียนออนไลน์ ไม่เห็นต้องกล่าวเลยว่าการช่วยเหลือนั้นยังไม่เพียงพอเสียด้วยซ้ำ

คำถามคือเหตุใดระบบที่ต้องใช้เวลามากจึงนำมาปรับกับการเรียนรู้ออนไลน์?

ประสบการณ์ที่เจ็บปวดทำให้นักเรียนจำนวนมากกว่า 8,600 คนเริ่มไม่ยอมเรียนออนไลน์อีกต่อไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา การรณรงค์นำโดย “กลุ่มนักเรียนเลว” ที่เน้นถึงความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษา

การไม่ยอมเรียนออนไลน์ทำให้นักเรียนกว่าเกือบทั้งหมดของประเทศเข้าร่วมเพื่อแสดงถึงความเป็นทุกข์กับกระทรวงศึกษา

กลุ่มกล่าวว่ากระทรวงไม่สามารถสร้างหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ หรือนำเสนอความช่วยเหลือที่เพียงพอกับนักเรียน

ภาพนี้ตรงกันข้ามกับวิสัยทัศน์การเรียนออนไลน์ในประเทศไทยในอนาคต ตามข้อมูลของธนาคารโลก การใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศกำลังขึ้นไปถึง 70% ในปี 2019 ทั้งในเอเชียและแปซิฟิกโดยเฉลี่ย

ประมาณ 99.9 % ของประชากรสามารถเข้าถึงไฟฟ้าในระดับเดียวกัน

การลงทะเบียนการใช้มือถือมีประมาณ 130 ล้านคน บ่งชี้ว่าคนไทยมีเครื่องมือในเน็ตมากกว่า 1 อย่าง

ข้อเท็จจริงเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลซึ่งจำเป็นต่อการเรียนออนไลน์อยู่ในระดับดีพอสมควร ถึงแม้ว่าจะไม่สมบูรณ์ก็ตาม

แต่พื้นฐานที่เสียเปรียบของนักเรียนจะส่งผลอันยิ่งใหญ่ต่อการทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นบานทางดิจิทัลนั้นได้

การสำรวจเมื่อไม่นานมานี้ โดย Equitable Education Fund (EEF) ระบุว่า 88% ของนักเรียนที่ยากจนมากไม่สามารถจะเข้าถึงไฟฟ้าและเครื่องมือไฟฟ้าที่ใช้ในการเรียนออนไลน์ได้

การสำรวจจัดทำขึ้นใน 29 จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 และยังค้นพบอีกว่านักเรียนเกือบจะ 295,000 คนที่มีภาวะยากจนระดับสูง รวมทั้งนักเรียนเกือบ 40,000 คนไม่ได้เข้าชั้นระหว่างเปิดเทอมเพราะความยากจน ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ ม. ต้น

เมื่อพูดถึงทางสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มเด็กๆออกมาพูดถึงความไม่สบายใจระหว่างเรียนออนไลน์ บางคนมีเครื่องมือที่ไม่สนับสนุนกับเครื่องมือการเรียนรู้ หรือพ่อแม่ของพวกเขาไม่สามารถจะซื้อเครื่องมือที่มีคุณภาพนั้นได้ เป็นเหตุให้พวกเขาจำเป็นต้องหยุดเรียนกลางคัน

ในหลายๆกรณี ครูมักจะด่านักเรียนถึงเรื่องความขี้เกียจ และไม่กระตือรือร้นในการเรียน ดูเหมือนว่าพวกครูจะตำหนิเป็นรายบุคคล มากกว่าตำหนิระบบการศึกษา

เห็นได้ชัดเจนเลยว่า สิ่งนี้ไม่ใช่ความผิดของนักเรียน ไม่ใช่ความผิดของโครงสร้างพื้นฐาน และความก้าวหน้าในตัวดิจิทัลเอง จริงๆแล้วมันเป็นผลจากนโยบายทางการศึกษาที่ไม่ก่อให้เกิดความเท่าเทียมในหมู่นักเรียนได้ จนสุดท้ายคือกาขาดการช่วยเหลือคนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนได้

เป็นเวลาหลายเดือน กระทรวงฯทำตัวเฉื่อยชา ในขณะที่ใสแต่นโยบายที่ไม่ก่อให้เกิดความยืดหยุ่นสำหรับการจัดการทางออนไลน์เลย

ครูหลายคนก็ยึดติดอยู่กับตัวบ่งชี้ทางหลักสูตรก่อนที่จะมีโรคระบาดโควิดที่ตั้งขึ้นโดยกระทรวง ทำให้พวกครูใช้เวลานานในการทุ่มกับการสอนบรรยายทางออนไลน์ และให้การบ้านกับเด็กๆเยอะมากๆ วิธีการนี้ไม่เหมาะกับการเรียนออนไลน์

ตัวบ่งชี้ทางหลักสูตรถูกวิพากษ์โดยคณะวิพากษ์ (progressive pedagogues) ที่ไม่เชื่อในการจัดการแบบบนลงล่างในระบบราชการไทย

ทฤษฎีของกระทรวงแสดงให้เห็นว่าไม่เชื่อครูที่กำลังดูแลลูกศิษย์ของตนเอง จริงๆแล้วพวกครูทั่วประเทศต่างรู้สึกทุกข์ใจกับการกดดันของกระทรวงโดยการประเมินครู

แทนที่จะให้เวลากับนักเรียน พวกครูยังถูกบังคับให้ทำงานที่กระทรวง พวกเขาต้องทำงานให้ได้ตามมาตรฐานกับตัวบ่งชี้คุณภาพ

ในเดือนมิถุนายน รัฐมนตรีศึกษา ตรีนุช เทียนทอง กล่าวว่าเธอกำลังปรับตัวบ่งชี้มาตรฐานให้ลดลงสำหรับครูและนักเรียน แต่ผลก็ยังไม่เกิด นำไปสู่กลุ่มนักเรียนเลวออกมาหยุดการเรียนออนไลน์ที่ผ่านมา

มันเป็นเวลาสายเกินไปสำหรับนักเรียนที่จะหยุดการเรียนไว้แบบนี้

หลังจาก 20 เดือนที่ต้องอยู่กับโรคระบาดโควิด กระทรวงศึกษาได้เริ่มต้นการให้เงิน 2,000 บาทฟรีๆกับนักเรียน 11 ล้านคน ใช้เงินประมาณ 22 พันล้านบาท

จริงๆแล้วเป็นแค่เงินครอบครัว 79 บาทต่อเดือนเพื่ออินเตอร์เน็ตมือถือ และอินเตอร์เน็ตบ้านแค่ 2 เดือนเท่านั้น ผลรวมยังไม่พอสำหรับความเสถียรทางอินเตอร์เน็ตเลยด้วยซ้ำ

เงิน 2,000 บาทนี้เป็นเงินเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยที่กระตุ้นให้ผู้คนซื้อขายและไปเที่ยว นี่ก็แสดงว่ารัฐบาลไม่เคยเห็นหัวนักเรียนเลย

กระทรวงศึกษาฯสามารถทำได้ดีกว่านี้ กระทรวงจะต้องต่อรองกับรัฐบาลในการให้อินเตอร์เน็ตที่เสถียรและฟรีกับนักเรียน รัฐจะต้องให้เครื่องมือการเรียนรู้ออนไลน์ให้แก่นักเรียนที่มีรายได้น้อย

สมควรใช้วิกฤตนี้เป็นโอกาสในการลงทุนให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานทางอินเตอร์เน็ต และชุมชนที่ยากจน ในขณะที่ยังต้องสร้างการเรียนรู้ดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ และหลักสูตรที่สามารถเข้าถึงได้ทุกคนโดยไม่ต้องคำนึกว่าเขามีฐานะการเงินอย่างไร ซึ่งมันภาระงานที่กระทรวงต้องทำมาก่อนช่วงที่ไม่มีโควิดเลยด้วยซ้ำ

การเรียนรู้ออนไลน์จะยังคงเป็ฯองค์ประกอบที่สำคัญในการศึกษาหลังจากโควิด เพราะว่ามันจะทำให้ความรู้และทักษะเข้าถึงผู้คนได้ในลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีพ

โรคระบาดได้แสดงให้เราเห็นถึงข้อเสียของความไม่เท่าเทียมกันทางการเรียนรู้ที่ยังไม่ถูกแก้ไข และการตอบสนองอย่างช้าๆถึงดิจิทัลทางการศึกษา เราไม่สามารถปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไปโดยง่าย เราต้องให้ความใส่ใจกับเรื่องดังกล่าวด้วย

แปลแลเรียบเรียงจาก

Paritta Wangkiat. Online learning falls short in Covid era.

https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/2180675/online-learning-falls-short-in-covid-era

หมายเลขบันทึก: 692622เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2021 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2021 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท