ความจริงที่แปรเปลี่ยน


 

โควิด ๑๙ มาสอนเราหลากหลายเรื่อง    ผมขอร่วมขบวนการ “ไม่ปล่อยให้โอกาสเรียนรู้หลุดลอยไป”   โดยในบันทึกนี้ขอเสนอข้อเรียนรู้ว่า “ความจริง” หลากหลายเรื่อง มีลักษณะชั่วคราว ไม่ถาวร    และในบางกรณี เป็นมายา 

ช่วงต้นปี ๒๕๖๔ ตอนเริ่มการะบาดระลอกสาม และก่อนหน้านั้น เราตั้งความหวังกับวัคซีน    ว่าจะมาปราบโควิดให้หมดไป    เราคิดว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้วครบ ๒ เข็ม จะไม่ติดเชื้อ   และจะไม่เป็นคนแพร่เชื้อ   นั่นคือความรู้เก่า 

บัดนี้ เรารู้แล้ว ว่าสำหรับโควิด ๑๙  วัคซีนไม่เก่งถึงขนาดนั้น    แม้ฉีดครบแล้ว ก็ยังติดเชื้อได้ และแพร่เชื้อได้    เพียงแต่อาการไม่รุนแรง และป้องกันการเสียชีวิตได้มาก   

และเมื่อเกิดสายพันธุ์เดลต้า กลายเป็นสายพันธุ์หลัก เพราะแพร่เชื้อเก่ง แถมยังก่ออาการรุนแรง     เราก็รู้ว่า ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับโควิดจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะ (๑) เชื้อเปลี่ยน  (๒) เรารู้มากขึ้นจากการวิจัย   

จะเห็นว่า เวลานี้ผู้เชี่ยวชาญโรคและวัคซีนโควิดจะบอกทุกครั้งว่า ความเห็นที่ให้เป็นไปตามความรู้ในขณะนั้น   ต่อไปข้างหน้ามีความรู้เพิ่มขึ้น  ความเห็นที่ให้ไปอาจไม่จริง   

เรื่องแบบนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นกับโควิดเท่านั้น   ยังเกี่ยวข้องกับประเด็นที่มีความซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงทุกเรื่อง    เช่นสาเหตุของโรค   วิธีป้องกันโรค  วิธีบำบัดรักษา    การจัดการศึกษา   เรื่องสินค้าชนิดต่างๆ  เป็นต้น   จะมีข้อมูล และความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ในตำรา  เอกสาร โลกดิจิตัล  และผู้เชี่ยวชาญ  ที่มีหลายชุด เป็นความจริงต่างยุคสมัย    คนเราจึงต้องมีทักษะในการตรวจสอบ “ความจริง”    ว่าควรเชื่อชุดใด   ชุดใดเหมาะสมต่อสถานการณ์ของตน   

ยิ่งซับซ้อนขึ้นไปอีก ที่  “ความจริง” ชุดเดียวกัน   ที่ตีความโดยนาย ก  กับที่ตีความโดยนาย ข แตกต่างกันแบบตรงกันข้าม    เป็นการแปรเปลี่ยนจากการตีความที่ต่างกัน    ดังนั้น “ความจริง” ชุดเดียวกัน   อาจกลายเป็นร้อยชุดที่ต่างกันในความเข้าใจหรือความเชื่อของผู้คน   

ยังมีที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น    ที่โลกยุคข้อมูลข่าวสารระเบิด  เปิดโอกาสให้นักสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อหาผลประโยชน์ เอาไป “ดราม่า” ให้คนแตกตื่นหลงเชื่อ   เพื่อสร้างโอกาสแสวงประโยชน์ของนักต้มตุ๋นเหล่านั้น   

“ความจริง” ในยุคนี้ จึงไม่ได้มีไว้สำหรับเชื่อ   แต่มีไว้สำหรับตั้งคำถามตรวจสอบ   เพื่อตัวเราจะไม่ตกเป็นเหยื่อ   คนในยุคนี้ จึงต้องพัฒนาทักษะตรวจสอบความจริง   

วิจารณ์ พานิช

๒๗ ก.ย. ๖๔

               

หมายเลขบันทึก: 692611เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2021 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2021 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

There are a lot of views on this “ความจริง” (truth? reality? perception? –all from ‘people’ who receive/perceive it). We have ‘data’ (ranging from ‘fake’, guesswork, measure –by any or certain meter–, calculated/projected, accepted… to proven ‘fact’). We have ‘frames’ (theories, beliefs, laws, cultures/traditions, religions, statistics, histories,…) to fit the data into the frame. And we have ‘views’ on these renditions. These views will be discussed/contested with “narratives” (arguments ‘for’ and ‘against’ - as in the court of laws) and judged (by judges, juries, leaders, sages/gurus, bhikkhus/imams/priest/rabbi, followers,… - with different backgrounds, statuses, circumstances, positions, emotional/mental/.. states,..) –all ‘facts’ are results of previous ‘facts’. We have heard about “Kalama Sutta” (which cuts the knots by ‘self-considerations’, self-satisfaction, and self-confidence) telling people how to act on facts they know.

A new conceptual frame (I think) would be much like ‘a quantum theory – on facts’. The truth has infinite possibilities (or can assume infinitely many values) until it (the truth) is ‘measured’ (fixed/decided/changed/.. -becomes ‘history) ;-)

We are living in one of ‘real world’ webs of relations –as a Buddhist would say “webs of Kamma”. What we do will impact on the confusion we perceive. ;-) ;-)

ผมชอบประโยคนี้ครับ

“ความจริง” ในยุคนี้ จึงไม่ได้มีไว้สำหรับเชื่อ แต่มีไว้สำหรับตั้งคำถามตรวจสอบ เพื่อตัวเราจะไม่ตกเป็นเหยื่อ คนในยุคนี้ จึงต้องพัฒนาทักษะตรวจสอบความจริง

ขอบคุณครับอาจารย์

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท