กรมสมเด็จพระเทพฯ พระผู้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ สัมพันธไมตรีอันดีงามยิ่ง ระหว่าง ไทย - จีน


"กรมสมเด็จพระเทพฯ ผู้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์สัมพันธ์มิตรภาพจีน-ไทย"

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นหนึ่งในชาวต่างชาติ 6 คน ที่ได้รับการประกาศเกียรติยศ ด้วยรางวัลเหรียญมิตรภาพ ซึ่งเป็นรางวัลกิตติมศักดิ์ที่อนุมัติโดยคำสั่งประธานาธิบดี ในวาระครบรอบ 70 ปี การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน 

โดยรางวัลเกียรติยศนี้จะมอบให้แก่ชาวต่างชาติที่มีคุณูปการในการส่งเสริมความเป็นสมัยใหม่แก่สังคมนิยมจีน การสนับสนุน แลกเปลี่ยน และร่วมมือระหว่างจีนกับต่างประเทศ รวมถึงการพิทักษ์ไว้ซึ่งสันติภาพของโลก

กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 2 เม.ย. พ.ศ. 2498 ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา เป็นช่วงที่ไทยและจีนเริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต หลังจากนั้น 5 ปี พระองค์จึงทรงเริ่มศึกษาภาษาจีนกลางโดยได้รับพระราชานุเคราะห์จาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

“โตขึ้นก็รู้จักแล้ว สมัยนั้นสาธารณรัฐประชาชนจีนกับไทยยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกัน แต่ก็มีการติดต่อกันคือมีสถานีวิทยุปักกิ่งส่งกระจายเสียง” กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานสัมภาษณ์แก่สำนักข่าวซินหัวพระองค์พระราชทานสัมภาษณ์ว่าครั้งหนึ่งพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เคยมีพระราชดำรัสว่า “ชาวจีนเป็นผู้ที่ชอบหนังสือ ชอบวิชาการ 

ฉะนั้นการรู้ภาษาจีนทำให้มีโอกาสมีความรู้ใหม่ๆ ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ”ในพระราชนิพนธ์ “หยกใสร่ายคำ” (Verses of Clear Jade) ฉบับแปลไทย ที่ทรงแปลจากกวีนิพนธ์จีนโบราณ พระองค์ทรงแปลบทประพันธ์บทหนึ่งไว้ว่า “จะเป็นจีนเป็นไทยใช่ใครอื่น จงชมชื่นผูกจิตสนิทมั่น เด็ดผกาแทนใจผูกพัน แบ่งปันประดับเรือนเตือนตาเอย”

ระยะเวลา 38 ปีที่ผ่านมา พระองค์ทรงเปลี่ยนพระราชดำรัสของพระองค์ให้เป็นความจริงได้ ด้วยการอุปถัมภ์ความร่วมมือไทย-จีน ทั้งในด้านวัฒนธรรม การศึกษา และด้านอื่นๆ พระองค์เสด็จฯ ยังหลายมณฑล เขตปกครองตนเอง และบรรดาเมืองใหญ่ เกือบทุกแห่งทั่วประเทศจีน พระราชนิพนธ์ต่างๆ ของพระองค์จึงเป็นแหล่งความรู้ในการศึกษาประเทศจีนอันกว้างใหญ่แห่งนี้ให้กับชาวไทย

ในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศจีนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2524 กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ เยือนนครปักกิ่ง ซีอาน เฉิงตู และคุนหมิง หลังจากนั้น พระองค์ทรงถ่ายทอดประสบการณ์ลงในพระราชนิพนธ์ท่องเที่ยว “ย่ำแดนมังกร” โดยทรงบรรยายสิ่งที่พระองค์ได้ทอดพระเนตรให้พสกนิกรชาวไทยได้อ่าน

หลังจากนั้น 9 ปี พระองค์เสด็จฯ เยือนจีนเป็นครั้งที่สอง โดยเสด็จฯ เยือนแถบตะวันตกของประเทศตามแนวเส้นทางสายไหมโบราณ ตั้งแต่นครซีอาน เรื่อยไปจนถึงเมืองคัชการ์ เขตปกครองตนเองซินเจียง แล้วจึงทรงถ่ายทอดประสบการณ์ลงใน “มุ่งไกลในรอยทราย” พระราชนิพนธ์ท่องเที่ยวเล่มที่สองด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจีน-ไทย เมื่อปี พ.ศ. 2543 กระทรวงศึกษาธิการของจีนจึงทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลมิตรภาพภาษาและวัฒนธรรมจีนแด่กรมสมเด็จพระเทพฯ

หลายปีที่ผ่านมา ความสนพระทัยประเทศจีนของพระองค์ยังขยายไปสู่ด้านเทคโนโลยีและการศึกษา พระองค์จึงมีพระราชดำริให้ก่อตั้งสถาบันขงจื่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานศึกษาที่พระองค์ทรงจบการศึกษา โดยการก่อตั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง 

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 กรมสมเด็จพระเทพฯ เสด็จฯ เยือนนครเทียนจิน ทางตอนเหนือของจีน เพื่อส่งเสริมความพยายามทวิภาคีในด้านอาชีวศึกษา และช่วยให้นักเรียนไทยได้รับทุนจากทางการนครเทียนจินสำหรับการฝึกอบรมระยะสั้นหรือศึกษาต่อในนครเทียนจิน 

นอกจากนี้ยังมีโครงการการศึกษาตามแนวทางจีนในวิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2559 พระองค์พระราชทานสัมภาษณ์ว่า “ที่สำคัญคือมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของไทยได้มีโอกาสทำงานวิจัยร่วมกับโครงการวิจัยของจีน ที่ลำพังประเทศไทยจะไม่มีโอกาสเช่นนี้”

“คนจีนขยันขันแข็ง มีวัฒนธรรมที่ดีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว น่าจะก้าวหน้ามาก น่าจะมีการค้นคว้าทางเทคโนโลยีเพิ่มยิ่งๆ ขึ้น เพื่อให้เจริญยั่งยืนและมั่นคง” พระองค์ทรงมีพระราชดำรัส
 

 

 

บันทึกจากเพจ  เรารักกรมสมเด็จพระเทพรัตนฯ Our Beloved HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=382434539923902&id=100044720760918

 

พีระพงศ์ วาระเสน  บ๊อบบี้                               ผู้บันทึก
อดีตผู้ประสานงานโครงการ ฯ
วันจันทร์ที่ 20 กันยายน  2564
 

หมายเลขบันทึก: 692495เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2021 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2021 08:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท