สื่อสารกับหนูอย่างไรดี HOW BEST TO TALK


ช่วงนี้กุ้งมีเคสคนไข้เด็ก Palliative care ให้มีโอกาสได้ร่วมดูแลถี่ๆ 

ประเด็นที่มักจะพบในการดูแลผู้ป่วยเด็กในช่วงนี้ก็มักจะเป็นเรื่องการสื่อสาร

ทำให้ย้อนนึกถึงผู้ป่วยเด็กคนหนึ่งที่เคยได้ดูแลและได้บันทึกไว้เพื่อให้ตัวเองได้เรียนรู้ 

และวันนี้อยากจะแบ่งปันให้ทุกท่านได้ร่วมเรียนรู้ 

ถอดบทเรียน กระบวนการสื่อสาร และการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะท้าย  

19 กันยายน  2561 :  แรกรับ

8 ตุลาคม 2561 :  สื่อสารเรื่องตัวโรคและค้นหาการรับรู้และการยอมรับ

19/9/2561 :      วันแรกสื่อสารกับคุณพ่อ คุณแม่

ประเด็นของการรับรู้ตัวโรคของพ่อแม่  พ่อแม่ทราบว่าโรครักษาไม่ได้แล้วอาจารย์รัฐพล  แพทย์ที่เชี่ยวชาญทางด้าน CHEST  ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้ให้ข้อมูลถึงการดำเนินโรคและการจัดการตัวโรคมาสุดหนทาง แต่เมื่อถามพ่อแม่ว่า น้องรู้หรือไม่ว่าโรครักษาไม่หายพ่อ แม่บอกว่าน้องยังมีหวังว่าจะรักษาให้หาย รอ MRI   รอฉายแสง  

จากนั้นติดตามเยี่ยมทุกวัน ยกเว้นวันเสาร์ -อาทิตย์

แต่ละวันที่เข้าเยี่ยม

  1. ประเมิน physical symptom ถามไถ่อาการไม่สุขสบาย  dyspnea score

Best score 0-1-2 และคะแนน 4  ขึ้นไปคือเหนื่อยแล้ว

ช่วงแรกที่เข้าไปดูแลร่วม แพทย์ ให้ยา fentanyl infusion continuous 

ในบทบาทการทำงานของ PPC SPECIALIST สามารถให้ข้อ suggest เรื่องการจัดการ symptom  เสนอหารืออาจารย์รัฐพล   และ Resident  ขณะ ward  round 

อาจารย์  agree   และ ให้ปรับเป็น morphine  ซึ่ง  morphine จะ effective  ในการจัดการ dyspnea  ได้ดีกว่า  fentanyl

Symptomatic Drug Treatment for Breathlessness (รศ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล)

Morphine

  • • Opioid naïve 2.5-5 mg. (0.15 mg/kg PO) q 4-6 ชม.

ถ้าได้ opioid อยู่ให้เพิ่มขนาดขึ้น 30-50 %

Benzodiazepines

  • • Lorazepam, Diazepam เพื่อลด anxiety/panic
      Lorazepam 0.05-0.1 mg/kg IV,PO,SL (max 2 mg) ทุก 4–6 ชม.
  • • Subcut. Midazolam ใช้ใน terminal phase

คือตอนนี้  คนไข้ใช้  fentanyl ต่อมา switch  เป็นมอร์ฟินแล้วได้ mo 30 mg per day 

สรุปได้เริ่มเป็นมอร์ฟีนและประเมินอาการในแต่ละวัน ดีขึ้น dyspnea score 0 บางวัน 2

2. ประเมินพ่อแม่ แต่ละวันอยู่อย่างไร ทำอะไร ใครหารายได้ พบว่า พ่อแม่ไม่มีรายได้เพราะต้องลาออกจากงานมาดูแลลูก  จะประสานทีม  plan  นักสังคมมาช่วย approach

3.  เขียน card  ส่งกำลังใจให้น้องนักศึกษาพยาบาล    พยาบาล PICU  เขียนการ์ดให้กำลังใจด้วย ผู้ป่วยเริ่มยิ้ม  เราเรียกน้องว่า  “น้องเณร สกาย (นามสมมุติ)” น้องเณรมีเพื่อนสนิทชื่อเณรกั๊ก(นามสมมุติ)

  และเพื่อนสนิทมาเยี่ยมแล้ว สิ่งที่ค้นพบเพิ่มเติมคือ น้องเณรสามารถเขียน บันไดการศึกษาจากระดับเปรียญธรรมชั้นต้น จนถึงจบ ดอกเตอร์  ทำให้เห็นความฝัน  ของน้องเรื่องการเรียน

4. พยายามค้นหาว่า นอนบนเตียงนานๆ  น้องเณรเป็นอย่างไร น้องบอกว่า  “เบื่อ”

  1. Offer ทำอะไรดี อ่านหนังสือมั๊ย     น้องเณรตอบว่า ไม่
  2. วาดรูปมั๊ยป้ากุ้งมีจิตอาสามาสอน    น้องเณรตอบว่า ไม่
  3.  คุยธรรมะกับหลวงพี่โก๋มั๊ย          น้องเณรตอบว่า ไม่
  4. เขียนบันทึกมั๊ยจะหาสมุดมาให้          น้องเณรตอบว่าไม่
  5.  งั้นบอกป้ากุ้งได้มั๊ยคะว่าอยากทำอะไร

เรียนหนังสือ   วิชาที่หนูอยากเรียนคือ วิชาคณิตศาสตร์ อันดับ 1และวิทยาศาสตร์อันดับ 2

ดังนั้น จึงได้ประสานทีมจิตอาสาบ้านชีวาศิลป์และลงตัวที่วันนี้ วันที่ 8 ตุลาคม 2561 พี่เสกเริ่มเข้ามา

5.  การตัดสินใจที่จะสื่อสารกับเด็กเรื่องตัวโรค  วันนี้ประเมินได้ว่าน้องเหนื่อยมากขึ้น

             การทำ MRI ยังมองว่าจะเกิดประโยชน์หรือไม่  แต่ทางอาจารย์ chest  ผู้เชี่ยวชาญ มองว่าถ้าพบรอยโรค รูรั่วที่ทำให้เกิด pleural  effusion อย่างมาก และถ้าหากมี plan จะทำ palliative  RT น่าจะช่วยยืดเวลาได้ระดับหนึ่ง  เราต้องให้ เครดิตเจ้าของไข้ผู้เชี่ยวชาญ  ดังนั้นวันนี้ ทำ MRI  จึง  go on และรอผล ถ้าผลออกมาอย่างไร ทีมจะคุยกันอีกที

    “HOW BEST TO TALK”

    การสื่อสารวันนี้ จึงเป็นการนั่งข้างเตียง และ พูดคุยโดยใช้ การทำ MRI เป็นตัวนำ

    พยาบาล  :    น้องเณรคิดว่าการไปทำ MRI  วันนี้  คาดหวังอะไรกับการไปทำ

    เณร        :     คิดว่า อยากให้เจอจุดที่มันรั่วหรือผิดปกติแล้วมีวิธีรักษาให้หาย

    พยาบาล      ถ้าสามารถจัดการได้ในจุดที่ผิดปกติ คุณหมอจะจัดการให้หลังผล MRI ออกมานะ

    คะ  งั้นไปทำ MRI แล้วผลเป็นอย่างไรแล้วรอฟังจากคุณหมอพร้อมกัน

    แต่  ถ้าเจอจุดที่ผิดปกติ แล้วจัด การมันไม่ได้ นั่นหมายถึงโรคมาสุดหนทาง สกาย คิดอย่างไร

    เณร        :   “ก็ยอมรับในสิ่งที่เราเป็น”

       พยาบาล  :    หมายถึงโรคจะรักษาไม่หายสกายเข้าใจใช่มั๊ย

    ผู้ป่วยผงกศีรษะ

    สรุปการสื่อสารวันนี้จบลงด้วย ทิ้งท้ายเรื่องการที่เราทราบว่า เด็กการยอมรับตัวโรคที่มาถึงระยะท้าย และได้เล่าประเด็นการสื่อสารให้คุณพ่อฟัง

    แผนการสื่อสารพรุ่งนี้  คือ place of care

    และอาจจะได้ WISH ที่เป็น real  wish   

    แบ่งปันหลักการเพิ่มอีกนิดนะคะ

    General guidelines communication with children

    ที่มา หนังสือ Pediatric Psycho oncology aspects and clinical intervention

    ข้อ 1 ก่อนคุยกับเด็กคุยกับพ่อ แม่ก่อนเพื่อวางแผนกับพ่อ แม่ว่า  “HOW BEST TO TALK”

    ข้อ 2  เลือกวิธีการสื่อสารกับเด็ก    

     @วิธีที่1 เป็นไปได้ที่จะคุยกับเด็กพร้อมๆกับการคุยกับผู้ปกครอง

    @วิธีที่ 2คุยกับเด็กเดี่ยวๆโดยที่ผู้ปกครองพ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยตรงนั้น

    @วิธีที่ 3 พบกับเด็กพร้อมพ่อแม่หลังที่แยกคุยกับเด็กแล้ว

      ข้อที่ 3 เป็นสิ่งสำคัญถ้าหากเราให้โอกาสเด็กกรณีเด็กโตคุยกับแพทย์พยาบาลด้วยตัวของเขาเอง

      -  มั่นใจว่าสถานที่นั่งคุยกันมีความเป็นส่วนตัวพอ

      -  ถามเด็กว่าเขาอยากรู้ตัวโรค การพยากรณ์โรคและแผนการรักษาของเขาหรือไม่

      -   ถามเด็กว่าเขาอยากรู้ มากน้อยแค่ไหน อะไรที่เขาอยากรู้

      -   อธิบายด้วยภาษาที่เด็กเข้าใจง่ายตามช่วงวัยและพัฒนาการที่จะทำให้เขาเข้าใจ

      -  Check  กลับว่าสิ่งที่เราอธิบาย เขาเข้าใจมากน้อยและถามซ้ำว่า “หนูมีคำถามจะถามหรือเปล่าคะ”

      -   Check  feeling เด็กค่ะว่าขณะนี้เขารู้สึกอย่างไร ถ้าเห็นว่าเด็กเริ่มกังวลเราจะจัดการอย่างไร

      -   ทำให้เขามั่นใจว่าเขาจะมีใครสักคนที่เขาจะคุยด้วยเมื่อเขารู้สึก upset หรือเมื่อเขามีคำถามอยากจะถามทุกครั้งที่สงสัย

      จบบันทึกเรื่องเล่า 

      “HOW BEST TO TALK” ขอบคุณตัวเองที่บันทึกไว้หลังดูคนไข้เสร็จแล้วรู้สึกตัวเองได้เรียนรู้จากผู้ป่วย

      จึงรีบบันทึกไว้ทันที ตั้งแต่เรื่องยังสดอยู่



         

                                             

        หมายเลขบันทึก: 689612เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2021 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2021 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


        ความเห็น (1)

        ดีค่ะ สรุปทุกวันเป็นบันทึกกิจกรรมการดูแลก็ได้นะคะ แล้วค่อยมาขมวดเรื่องราวอีกทีก็ได้

        พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
        ClassStart
        ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
        ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
        ClassStart Books
        โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท