การเรียนเก่ง..ตอน๒..การอ่าน


.

.

   อาจฟังยากสักหน่อยถ้าจะบอกว่าการเรียนให้เก่งนั้น เราต้องการรู้ให้แคบที่สุด  แคบเท่าที่มีในหลักสูตร และหรือเท่าที่ครูสอนเท่านั้นเป็นพอ อย่าไปรู้ให้กว้างเกินไป หรือกว้างที่สุด-ซึ่งเหมาะสำหรับคนเก่ง ถ้ารู้กว้างมากเกินไป อาจทำให้สมองเราจดจำได้ลำบากเพราะเกินกำลังสมองของเราก็เป็นได้ การจำมากยังทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าสมอง และอ่อนโรยในการเรียนซึ่งจะส่งผลไปยังระบบการเรียนทั้งหมด

การเรียนเก่งก็คือการสอบให้ได้คะแนนสูง เป็นที่ ๑-๙ของห้องเรียนที่มีนร. ๔๐คนหรือมากกว่า ก็คงต้องใช้วิธีการเดิมๆแบบที่คนโบราณท่านวางหลักไว้ดีแล้ว เช่นหลักสุจิปุลิ หลักอิทธิบาท๔ เพียงแต่เราจะมาขยายความและหรือเพิ่มประเด็นใหม่เข้าไป

      ตรงนี้เราจะมาวิสัชชนากันถึง สุจิปุลิ  และอิทธิบาท๔..คำว่าสุจิปุลิ เป็นหัวใจคัดย่อมาจากคำเต็มที่ว่า สุตต-จินตนาการ-ปุจฉา-ลิขิต-จำ..คำว่าจำเราเติมขึ้นมาเองเป็นปัจจัยที่๕ 

--สุตตคือ  ตำรานั่นเอง คือต้องอ่านตำรา แต่การฟังคำสอนของครูผู้สอนก็อนุโลมว่าเป็นสุตต เพราะครูก็ต้องไปอ่านตำรามา แล้วเอามาสอนเรา ดังนั้นการเรียนจากครูที่เก่งกว่าจะทำให้เราได้ความรู้ดีกว่าเรียนจากครูที่ไม่เก่ง ถ้ามีการลงทะเบียนเรียน แล้วมีครูผู้สอนต่างกันก็ขอให้เลือกเรียนกับครูที่เก่งที่สุดไว้ก่อน ..เด็กนศ.ฝรั่งเขามักทำแบบนั้น ส่วนไทยเรานิยมเลือกเรียนกับครูที่ใจดีที่สุด

          วิธีการอ่านหนังสือให้ดี ขอบอกว่าให้อ่าน๓จบ คือ

๑)อ่านกวาด

๒) อ่านกรอง  และ

๓)อ่านเก็บ

-กวาด คือกวาดแบบหยาบจากหัวจรดหาง ถ้าไม่เข้าใจอะไรก็ข้ามไปก่อนแล้วค่อยมาว่ากันทีหลัง อ่านครั้งนี้เราจะพอเห็นภาพลางๆว่าหนังสือบทนี้เขากำลังจะอธิบายอะไร โดยใช้ศัพท์/แสงอะไร..อ้อ.สำหรับบทนำและบทสรุปนั้น ต้องให้ความสำคัญพิเศษกว่าบทอื่นสักหน่อย เพราะถ้าเข้าใจหัวและหางดีเสียแล้ว ตรงกลางลำตัวก็เป็นเพียงแค่รายละเอียด

-อ่านกรอง คือ กรองเอาเนื้อความออกมา ทิ้งพวกกากๆออกไป คำศัพท์ที่ทิ้งค้างไว้ก็ให้ทำความเข้าใจในการอ่านในคราวนี้ด้วย

-อ่านเก็บ คืออ่านสรุป เอาสาระสำคัญ

--อ่านเสร็จแล้วให้มาเขียน ย่อความแบบเอาสาระสำคัญ

      ดูเหมือนว่าอ่าน๓เที่ยวจะช้ากว่าเที่ยวเดียว แต่ตรงกันข้าม จะเร็วกว่าสองเท่าด้วยซ้ำ และยังได้ความเข้าใจ ทั้งในเรื่องปลีกย่อยและในเรื่ององค์รวมของความรู้  การอ่านเที่ยวเดียวจะช้าเพราะจะสะดุดอยู่หลายจุดที่ไม่เข้าใจ ติดแหง็กอยู่นั่นแหละ ทั้งที่บ่อยครั้งผู้แต่งตำราเขาก็เขียนอธิบายความที่เราสงสัยไว้แล้ว แต่มันมาภายหลัง ถ้าเราอ่านกวาดไปก็จะเจอเป็นการอธิบายในตนเอง โดยเราไม่ต้องเสียเวลาแกะความหมายเอาเอง

-----คนถางทาง..๑๑มีค. ๒๕๖๔

คำสำคัญ (Tags): #เรียนเก่ง
หมายเลขบันทึก: 689444เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2021 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2021 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท