สัตว์ทั้งหลายเอ๋ย-อย่าได้มีเวรต่อกันเลย



การแปลบาลี เป็นไทย มักจะแปลกันฟุ่มเฟือยเกินไป(มาก) แต่ก็ไม่เห็นมีใครคัดค้านแม้พระเกจิดังๆ เช่นบทแผ่เมตตา คำว่า “สัพเพ สัตตา” เพียง๒คำ น่าจะแปลว่า สัตว์ทั้งหลายเอ๋ย..กลับแปลยาวเหยียดว่า..

สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

.

อเวรา โหนตุ..

อย่ามีเวรต่อกันเลย..กลับแปลว่า..

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด.อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย

.

น่าสนใจว่า ใครเป็นคนแปล และทำไมพระ และญาติโยมทั้งหลายจึงพอใจในการแปลเช่นนั้นโดยไม่มีการท้วงติง หรือว่าท่านแปลไว้ถูกต้องดีแล้ว

.

เรื่องนี้สำคัญนะ เราว่ามาจากนิสัยประจำชาติไทย นิ่งเสียตำลึงทอง ทอดธุระ หรืออย่าไปแกว่งเท้าหาเสี้ยน...ทำตัวเป็นคนหัวอ่อน ว่าง่าย ใครจะโยนอะไรมาให้ก็รับได้หมด รวมถึงเงินซื้อเสียง

-----คนถางทาง..๑๒มีค.๖๔

หมายเลขบันทึก: 689443เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2021 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2021 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท