ชีวิตที่พอเพียง ๓๙๐๙. นกอีแพรด



ผมรู้จักนกอีแพรดเมื่อย้ายมาอยู่บ้านปากเกร็ดในปี ๒๕๔๐    เขาบินมาชนกระจกหน้าต่างบ้านแล้วตกลงมานอนที่พื้น    ผมจับมาดูสักครู่เขาก็ฟื้นและบินไปได้    เดิมผมเข้าใจผิดว่าเป็นนกปรอดหัวโขน แต่รู้สึกว่าตัวเล็กกว่า และไม่มีขนหงอน    ต่อมาจึงรู้ว่าเป็นนกอีแพรด    ที่หากินอยู่ในบริเวณบ้านผมเป็นนกอีแพรดคอขาว Rhipidura albicollis (๑)   

เขาเป็นนกที่เชื่อง ตอนที่ผมรดน้ำต้นไม้ เขาชอบบินโฉบไปมาใกล้ๆ    ท่าแพนหางแพนปีกและโฉบไปมาทำให้เรารู้สึกผ่อนคลาย    ที่สำคัญเป็นนกที่ตื่นเช้า เมื่อผมตื่นตีสี่ครึ่งหรือตีห้า เขาตื่นแล้ว และร้องเสียงแหลม วิด วิด เจี้ยว วิด (๒)  (๓)  ให้ความสดชื่น

มีวิดีทัศน์และคำอธิบายที่ (๔)น่าดูมาก    และคลิปแม่นกเลี้ยงลูก (๕)  (๖)   

นกอีแพรดเป็นเพื่อนบ้านประจำวัน    ให้ความสดชื่นทั้งทางจักษุ และโสตประสาท    สมัยนี้ดูคลิปนกเลี้ยงลูกก็มีให้ดู    เป็นชีวิตที่หาความสุขจากธรรมชาติได้ง่าย 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ก.พ. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 689432เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2021 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2021 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

My observations about ‘birds flying into glass windows’ (and injure themselves, at times fatally) point to “the bird sees a reflection of the sky” on the glass pane at a certain angle instead of a barrier and the bird realizes too late to avoid collision.

I have had 5 glass windows broken and now all windows have colour blinds or curtains or large enough stickers to stop further needless bird injury.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท