เมื่อสมาชิกสหกรณ์ถอนคืนหุ้นสหกรณ์ได้ แสดงถึงความกตัญญูของสหกรณ์ต่อสมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) ในวิกฤติโควิต -19 รอบใหม่ และต่อ ๆ ไป


สมาชิกสหกรณ์ถอนคืนหุ้นสหกรณ์ได้ แสดงถึงความกตัญญูของสหกรณ์ต่อสมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) ในวิกฤติโควิต -19 รอบใหม่สมาชิกสหกรณ์ ถือหุ้น 1 หุ้น กับ 10,000 หุ้น ก็เป็นสมาชิกสหกรณ์เช่นเดียวกัน 
(อธิบายโดยหลักการสหกรณ์สากลที่ 2 

[2nd Principle: Democratic Member Control]

[
Co-operatives are democratic organisations controlled by their members, who actively participate in setting their policies and making decisions.
Men and women serving as elected representatives are accountable to the membership.

In primary co-operatives members have equal voting rights (one member, one vote)
and co-operatives at other levels are also organised in a democratic manner.

หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่ควบคุมโดยมวลสมาชิก ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ
บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อมวลสมาชิก

ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง)
สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน


ในทางสหกรณ์ สหกรณ์คือ การรวมคนเพื่อให้คนที่พอช่วยตนเองได้ มาช่วยเหลือกัน
ตามปรัชญา "ช่วยตน ช่วยกัน self help mutual help"
วิธีการสหกรณ์คิด แบบ สมาชิกสหกรณ์เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา (member centre)   

การที่สหกรณ์บังคับให้สมาชิกถือหุ้นสหกรณ์เพิ่มขึ้น ทุกขณะจิต และถอนหุ้นไม่ได้ มีสาเหตุมากจากไหน ไปหาดูกันเอง แต่ในวิกฤตินี้ส่งผลกระทบให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว 

แต่จนถึงวันที่บันทึกเพิ่มเติม (วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564) ก็ยังมีสหกรณ์ที่สมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) สามารถถอนคืนหุ้นบางส่วนได้ ตามข้อบังคับของสหกรณ์ ซึ่งใช้ข้อบังคับ ฉบับ 100 ปีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ สหกรณ์ออมทรัพย์สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำกัด และสหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด ที่ยังถือใช้ข้อบังคับดังกล่าวอยู่ตลอดมา สหกรณ์ก็เจริญรุ่งเรืองดี และไม่ได้ผิดหลักวิชาการสหกรณ์แต่ประการใด

วันนี้มีวิกฤติโควิด - 19 รอบใหม่ สมาชิกสหกรณ์ผู้ถูกบังคับให้ถือหุ้นไว้ถอนคืนไม่ได้ กำลังลำบาก ควรที่จะหาทางให้สมาชิกสหกรณ์ถอนคืนหุ้นที่สะสมได้คืน จนเหลือไว้ไม่น้อยกว่า 1 หุ้น เพื่อยังคงความเป็นสมาชิกสหกรณ์ไว้ ออกไปเพื่อ ช่วยตน (self help)  และครอบครัวของตนให้มีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยได้ก่อน ที่จะมา ช่วยกัน (mutual help)  

ขออย่าใช้วิธีให้สมาชิกกู้หุ้นของตนเอง เพราะเงินหุ้นสะสมเป็นเงินของสมาชิกเอง ให้ถอนคืนมาเพื่อต่อสู้กับวิกฤติให้ผ่านพ้นไปให้ได้ โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และการกู้จะต้องมีบุคคลค้ำประกัน และหลักทรัพย์ค้ำประกัน การให้สมาชิกถอนหุ้น นำเงินหุ้น ของสมาชิกสหกรณ์ ออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้ด้วย  ให้ทำเป็นขั้นตอน ค่อย ๆ ทำ เพื่อปรับระดับการให้บริการอย่างสมดุลแก่สมาชิก

ทุกวันนี้การที่สหกรณ์บังคับมิให้สมาชิกสหกรณ์ถอนหุ้นคืน เกิดการบิดเบือนไปจากหลักวิชาการสหกรณ์อย่างยิ่ง หุ้นที่ถือเพิ่มที่สหกรณ์ตามที่สหกรณ์บังคับไว้ จะได้คืนเมื่อ สมาชิกลาออก หรือเสียชีวิต เท่านั้น 

การตั้งหน้าตั้งตานำเงินของสมาชิกหรือเจ้าของสหกรณ์ไปลงทุนนอกขบวนการสหกรณ์ เพื่อแสวงหากำไรที่ทำกันอยูก็ไม่ถูกต้องตรงกับหลักวิชาการสหกรณ์อยู่แล้ว หากมีเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปลงทุนในขบวนการสหกรณ์ก็ยังพอว่า

[definition
A co-operative is an autonomous association of persons united voluntarily to meettheir common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically-controlled enterprise.]

[คำนิยาม
สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนอง ความต้องกาอันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกัน ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย]

จากนิยามสหกรณ์ที่ใช้กันในสากลโลก การนำเงินส่วนเกินที่ได้จากสมาชิกสหกรณ์ ซึ่่งเป็นเงินที่ได้มาด้วยความยากลำบาก ได้มาด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของสมาชิกสหกรณ์ นำไปลงทุนนอกขบวนการสหกรณ์ นั้นเป็นการตอบสนองความต้องการอันเกินจำเป็น(needs) ของสมาชิกสหกรณ์แล้ว

น่าจะเป็นการตอบสนองความต้องการแบบไม่มีที่สิ้นสุด (Want) ของผู้ที่ไม่เข้าใจ คุณลักษณะของสหกรณ์ (ลักษณะที่ดีงาม good nature) ของสหกรณ์ แล้วยังอยากจะให้สหกรณ์ให้คุณประโยชน์ (ฺBenefit) ได้อย่างไร  เพราะการกระทำเช่นนั้นไม่ใช่วิธีการสหกรณ์แล้ว หากเป็นเช่นนั้นไม่ควรเรียกว่า สหกรณ์ อย่างนั้นเป็น องค์การแสวงหากำไร (profit organization) ไปแล้ว ไม่ใช้องค์การสหกรณ์ ที่เป็นองค์การไม่แสวงหากำไร (non profit organization)

ในขณะนี้ วิกฤติ โควิต - 19 รอบใหม่  จะนำเงินที่ล้นสหกรณ์ไปลงทุนที่ไหน ก็ไม่ได้ผลตอบแทนดังใจหวังแล้ว มีตัวอย่างที่เป็น "ลบ" หุ้นกู้ของรัฐวิสาหกิจที่เห็นที่เป็นอยู่เกิดเรื่องอยู่  หรือ ตัวอย่างที่เป็น "บวก" สหกรณ์ที่ผู้เขียนเป็นสมาชิกอยู่ นำเงินส่วนเกินจากการที่เรียกเก็บค่าหุ้นหัก ณ ที่จ่ายที่เหลือเกินถอนคืนไม่ได้ไปลงทุนในการซื้อสลากของธนาคารของรัฐแห่งหนึ่ง ได้รางวัลที่ 1 มาจำนวน 10 ล้านบาท เฉลี่ย สมาชิกต่อคน ได้ผลตอบแทนจากการนี้ ประมาณ 1,500 บาทต่อหนึ่งคน เท่านั้น 

เมื่อผลตอบแทนของการลงทุนที่สหกรณ์นำไปลงทุนหากำไรนั้น เป็นเพียงภาพลวงตา การนำเงินที่เกินจากความจำเป็นในการให้บริการแก่สมาชิกสหกรณ์ กลับคืนสู่สมาชิกสหกรณ์ ในรูปการถอนหุ้นคืน ในวิกฤติโควิด - 19 รอบใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ มากกว่า สมาชิกสหกรณ์จะนำโอกาสการใช้เงินของตนเอง จากเงินหุ้นที่ถอนคืนไปกู้วิกฤติชีวิตของตนเอง ตามปรัชญาของการสหกรณ์ ช่วยตน (self help) และครอบครัวของตน 

ซึ่งการถอนหุ้นคืนนี้ ขอให้เป็นสมาชิกสหกรณ์เป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะต้องถอนคืนเท่าใด สหกรณ์นั้น ๆ จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง ออกเบบวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องกับภูมิสังคม ของสหกรณ์นั้น ๆ เอง ซึ่งเป็นไปตามหลัก 4 ของหลักการสหกรณ์สากล คือ สหกรณ์ปกครองตนเองและเป็นอิสระ

ในสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้  จะทำให้สหกรณ์ทุกแห่งทราบถือลักษณะของสหกรณ์(nature) ที่ถูกต้อง หรือคุณลักษณะของสหกรณ์ที่แท้จริง สหกรณ์จะปฏิบัติเช่นไรต่อสมาชิกในสิ่งที่ถูกต้อง ดีงาม ตามหลักวิชาการสกรณ์ และสหกรณ์ที่สมาชิกเป็นเจ้าของ นั้นจะก่อเกิดคุณประโยชน์ทั้งที่เป็นตัวเงิน (tangible benefit) เช่น เงินปันผล (dividend) , เงินเฉลี่ยคืน (patronage refund) ดอกเบี้ยงเงินฝาก ฯลฯ   และคุณประโยชน์ที่ไม้เป็นตัวเงิน (intangible benefit) ความรัก ความสามัคคี การได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การแบ่งปันโอกาสการใช้เงินระหว่างกัน การเอื้ออาทรต่อสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม คำปรึกษาหารือที่ดีงามระหว่างกัน ฯลฯ  แก่สมาชิกทั้งในยามปกติ และในยามวิกฤติ โควิด - 19 เช่นนี้

ขอให้ขบวนการสหกรณ์ไทยได้ร่วมมือ ร่วมใจกัน แก้ไขสิ่งเหล่านี้ให้ถูกต้อง เพื่อความสุข ความเจริญของสมาชิกสหกรณ์ (เจ้าของสหกรณ์) สหกรณ์ด้วยเถิด

สหกรณ์ไทย เปรียบประดุจดังสุนัข ที่รักเจ้าของ(สมาชิกสหกรณ์) จะสามารถช่วยปกป้องเจ้าของ(สมาชิกสหกรณ์)ได้ในยามวิกฤติ แลยามปกติต่อไปในอนาคต

พีระพงศ์ วาระเสน บ๊อบบี้
นักวิชาการสหกรณ์ด้วยหัวใจ❤️
วันพระขึ้น 8 ค่ำเดือน 3 ปีชวด  ปีนี้มีเดือน 8 สองหน

หมายเลขบันทึก: 688490เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2021 07:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2021 05:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท