ความคิด ความรู้สึก การรับรู้ การสื่อความ


ถ้าหากว่าบุคคล ทุกคน ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ไม่ว่าทางใดก็ตาม ถ้าประกอบด้วย ความคิดที่ดี + ความรู้สึกที่ดี + การรับรู้ที่ดี + การสื่อความที่ดีแล้วนั้น ย่อมเกิดแต่ความสุขสงบ ความสำเร็จในสิ่งที่หลัง ความดีงาม ร่วมกัน

ความคิด

      ความคิดของผู้คนนั้นมีความหลากหลาย  แตกต่าง มีความสลับซับซ้อนมากมาย  จนยากที่เราจะเข้าใจในบางครั้ง  เราไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าใคร  คนใด  กำลังคิดอย่างไร  มีแต่เรียนรู้ที่จะแปลความคิดนั้นๆจาก การส่งสารรูปแบบต่างๆที่ออกมา   เพื่อให้การตอบสนองนั้นตรงกับความคิดนั้นมากที่สุด    แต่ความสำคัญของความคิดอยู่ที่น่าจะเป็นความคิดที่ดีๆ  ที่แสดงออกมาพร้อมกับการกระทำที่ดีๆ   ทำให้เรารู้สึกดีๆเมื่อได้สัมผัส    แต่กับความคิดบางอย่างที่แสดงออกมา  เรากลับลังเล  ไม่แน่ใจและไม่รู้สึกปลอดภัยเมื่อสัมผัส ..ไม่รู้ว่ากลัวอะไร....

 ความรู้สึก

         เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อรับสารจากช่องทางต่างๆ(ตา หู จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ)  อาจจะเป็นความรู้สึกดีๆ(สุข)  ความรู้สึกไม่ดี(ทุกข์)   หรือว่าเฉยๆ    ทุกคนคงต้องปรารถนาความรู้สึกที่ดีๆเสมอ  แต่เราก็คงไม่สามารถที่จะหลึกเลี่ยงความรู้สึกที่ไม่ดีได้  เพราะว่าต้องมีโอกาสเกิดขึ้นอย่างแน่นอน   การคาดหวังว่าจะมีแต่ความรู้สึกดีๆอาจเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก     การเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และรับมือให้รู้เท่าทันกับความรู้สึกทั้งสามแบบ  จึงเป็นสิ่งที่น่าจะใส่ใจและให้ความสำคัญเสมอ  แต่ก็อยากให้ทุกๆคน  หรือคนส่วนใหญ่รู้สึกดีๆต่อกันให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้    ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อสิ่งดีงามอื่นๆที่จะตามมาอีกมากมาย  ทั้งระดับบุคคล  ครอบครัว  หน่วยงาน  องค์กร  สังคม.........

 การรับรู้

    การรับรู้  หรือความสามารถที่จะเรียนรู้  เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะคือสิ่งที่ทำให้คนมีความแตกต่างกัน    การรับรู้ในแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันอยู่มากในแต่ละบุคคล    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของ  การเรียนรู้ที่ผ่านๆมา ของบุคคลนั้นๆ  และโครงสร้างของการรับรู้ที่เติบโตขึ้นมา   การรับรู้  มีความพิเศษที่น่าจะสามารถพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้นเรื่อยๆ  ในทางตรงกันข้ามมันก็อาจที่จะสามารถลดลงหรือถดถอยไปได้เช่นกัน  ตามวันเวลา  อายุ  บริบทรอบข้างของบุคคลนั้นๆ    ประเด็นสำคัญของการรับรู้จึงน่าจะอยู่ที่ความสมดุลของความสามารถในการรับรู้กับบริบทที่แท้จริงที่อยู่รอบตัว ขณะนั้นๆของบุคคลนั้นๆ  หรืออาจรวมถึงบริบทที่เป็นแนวโน้มในอนาคตๆข้างหน้าของคนนั้นๆ      ในเส้นทางเดินของชีวิตนักเรียนรู้ทุกคน คงต้องพยายามที่จะพัฒนาความสามสารถเรื่องการรับรู้หรือการเรียนรู้ให้มากยิ่งๆขึ้น  สอดคล้อง  เป็นจริง และเหมาะสมกับตนเองมากที่สุด.................

 การสื่อความ

     การสื่อความ  การสื่อสาร สื่อความหมาย  เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญ    และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเรื่องของ  ความคิด  ความรู้สึก  และการรับรู้   การสื่อสารเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้  ฝึกฝน เพื่อให้เกิดทักษะ  รวมทั้งต้องมีศิลปะ  ในการที่จะสื่อสารด้วย  ถึงจะทำให้การสื่อสารสำเร็จดังที่เราคาดหวัง     แต่น่าเสียดายที่บางครั้งบุคคล  มักไม่ให้ความสำคัญและละเลยต่อการพัฒนาและเรียนรู้ทักษะด้านนี้  ทำให้เมื่ออยู่ในสังคม  หรือบริบทรอบตัวที่ซับซ้อน ทำให้ไม่สามารถสื่อสารให้มีประสิทธิภาพที่ดีเพียงพอ  บางครั้งก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ  ที่บางครั้งอาจจะมองไม่ออกด้วยซ้ำไปว่ามาจากการสื่อความ การสื่อความจึงเป็นเรื่องที่จะต้องเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดไป...........

       เรื่องทั้งสี่หัวข้อที่กล่าวนั้นสรุปแล้ว  มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน  สัมพันธ์กันตลอด  ประกอบกันขึ้นมาเป็นตัวตนทางด้านฝ่ายจิตใจ ของบุคคล  มีความเห็นว่า  ถ้าหากว่าบุคคล  ทุกคน  ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  ไม่ว่าทางใดก็ตาม  ถ้าประกอบด้วย  ความคิดที่ดี + ความรู้สึกที่ดี + การรับรู้ที่ดี + การสื่อความที่ดีแล้วนั้น  ย่อมเกิดแต่ความสุขสงบ  ความสำเร็จในสิ่งที่หวัง  ความดีงาม ร่วมกัน  ทั้งระดับบุคคล  หน่วยงาน องค์กร และสังคมต่อไป...ครับ

หมายเลขบันทึก: 68630เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 เมษายน 2012 12:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถึงแม้ว่าน้องKMsabai  นานๆจะเขียนบันทึกสักครั้งหนึ่ง...แต่เป็นบันทึกที่น่าสนใจ และผมเห็นด้วยว่าองค์ประกอบทั้งหมดหากอยู่บนพื้นฐานของความดี ผลลัพธ์สุดท้าย ก็คือสิ่งที่ดีๆที่เกิดขึ้น

ผมขอให้กำลังใจครับ

ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับสังคมครับ

 

ขอบคุณพี่เอกมากครับ  ที่เป็นกำลังใจ  เป็นพี่เลี่ยงแห่งการเรียนรู้ให้เสมอ    ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท