มารู้จัก MOHO ในกลุ่มคนเปราะบางกันเถอะ!


สวัสดีค่าทุกคนเจอกันอีกแล้ว อิอิ 

จากบทความที่แล้วเราได้พูดถึง MOHO ในการพัฒนาตนเองไป บทความนี้เราจะมาพูดถึงประโยนช์ของ MOHO ในกลุ่มคนเปราะบางบ้างค่ะ ทุกคนสงสัยไหมค่ะว่ากลุ่มคนเปราะบางคืออะไร? แล้ว MOHO จะช่วยอะไรคนกลุ่มนี้ได้? ไปค่ะ!ไปหาความรู้กัน!!!!!!

กลุ่มคนเปราะบาง หมายถึง กลุ่มคนที่ต้องการพัฒนาความสามารถ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มคนพิการ บกพร่องด้านร่างกาย จิตใจ  กลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม กลุ่มผู้สูงวัย ติดเตียง กลุ่มคนยากจน กลุ่มคนโดนเอาเปรียบโดนกระทำ โดยคนกลุ่มนี้จะไม่สามารถป้องกันตัวเองได้ ไม่สามารถตัดสินใจในการดำรงชีวิตได้ เข้าไม่ถึงการบริการทางสังคม 

เราจึงอยากใช้ MOHO ในการช่วยรักษาและเยี่ยวยาคนกลุ่มนี้ (ขอยกตัวอย่างเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคมนะคะ)

มาเริ่มที่คำถามแรกกันเลยค่ะ! 

1.Occupational Identity (แยกแยะคุณลักษณะบุคคลต่อการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต)

คำถาม : คุณอยากได้โอกาสอะไรจากสังคมเพราะอะไร?

>คำถามนี้คืออยากให้คุณรู้ว่าคุณต้องการอะไรเพื่อตัวคุณในแบบที่คุณต้องการ โดยที่ไม่มีใครสามารถมาบังคับคุณได้

2.Occupational Competency (ศักยภาพความสามารถสูงสุด)

คำถาม : จากโอกาสที่คุณได้มาคุณจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้โอกาสที่คุณได้หลุดลอยไป?

>คำถามนี้คือการที่คุณจะได้รู้ว่าคุณมีศักยภาพมากน้อยแค่ไหน แล้วถ้าคุณไม่อยากเสียโอกาสไปคุณก็ต้อง

พัฒนาศักยภาพหรือความสามารถสูงสุดในตัวคุณให้ได้นั้นเอง

3. Participation (เวลาทำกิจกรรมคุณมีส่วนร่วมไหม)

คำถาม : เนื่องจากคุณเป็นผู้ด้อยโอกาสคุณได้ทำอะไรต่อส่วนรวมบ้าง?

>คำถามนี้จะทำให้คุณรู้ว่าคุณมีส่วนรวมในการทำกิจกรรมและมีการพัฒนาตนเองในการทำกิจกรรมมากน้อยแค่ไหน

4. Performance (ความสามารถอะไรที่ทำได้ ทำไม่ได้)

คำถาม : ความสามารถของคุณมีผลต่อโอกาสที่คุณได้รับหรือไม่อย่างไร?

>คำถามนี้คืออยากให้คุณได้รู้ตัวเองว่าความสามารถที่คุณมีอยู่มันมากพอไหม ถ้ามันยังไม่มากพอคุณ

ต้องพัฒนาตัวเองหรือเพิ่มศักยภาพตัวเอง ให้ความสามารถของคุณดียิ่งขึ้น

5. Skills (ความสามารถย่อยๆของเรา) ประกอบไปด้วย การสื่อสาร การเคลื่อนไหว การคิด

คำถาม : เมื่อคุณอยู่ในกลุ่มผู้ด้อยโอกาส คุณจะทำอย่างไรเพื่อให้คุณได้รับโอกาสจากสังคม?

>คำถามนี้คืออยากให้คุณได้รู้ตัวเองว่าจะเอาทักษะย่อยๆมาใช้ในการดำเนินชีวิตของคุณอย่างไร

6. Volition-Habituation-Performance Capacity (เป็นการถามโดยการใช้ How to)

6.1 Volition (เจตจำนง) คือการที่เราตั้งใจทำสิ่งนั้นจริงๆ

คำถาม : ความตั้งใจในการได้รับโอกาสของคุณคืออะไร?

6.2 Habituation (พฤตินิสัย) กิจกรรมที่ทำจนเป็นนิสัย หรือทำเป็นนิสัยตามบทบาท เช่น บทบาทลูก หรือ พ่อแม่

คำถาม : บทบาทของคุณตอนนี้คืออะไร กิจกรรมที่คุณทำอยู่ตรงตามบทบาทคุณอย่างไร?

6.3 Performance Capacity (ความสามารถเต็มศักยภาพ) บอกความสามารถสูงสุด

คำถาม : คุณจะทำอย่างไรเพื่อให้สังคมรู้ว่าคุณก็มีศักยภาพมากพอ?

7. Environment (สภาพแวดล้อม) สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมนั้นๆ

คำถาม : สิ่งแวดล้อมรอบตัวคุณมีผลต่อการดำเนินชีวิตคุณอย่างไร?

>คำถามนี้เป็นคำถามที่เป็นระบบเปิด ทำให้เรารู้ว่าสิ่งแวดล้อมจะส่งเสริมให้เรามีศักยภาพสูงสุดไหม 

เราจะรับมืออย่างไรกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง

สรุป : MOHO จะเป็นรูปแบบของคำถาม ทำให้เราเข้าใจกระบวนการคิดมากขึ้นเพื่อที่เราจะได้กับไปพัฒนาตนเอง และข้อดีของ MOHO ก็คือการคิดแบบเป็นระบบ ทุกคนสามารถที่จะเข้ามาใช้ได้เริ่มจากการตั้งคำถามให้ตัวเอง ลองถามตัวเองและลองคิดเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยคำถาม 7 ข้อข้างต้นที่ได้กล่าวมา อยากให้ทุกคนได้ลองใช้และมาพัฒนาให้ตัวเองกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข




นางสาวณัฐิดา อู่อรุณ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

























หมายเลขบันทึก: 685059เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท