กิจกรรมเรียนรู้ empathy สำหรับนักศึกษาแพทย์


ผมได้รับ อีเมล์ จาก ศ. นพ. สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ ดังต่อไปนี้

กิจกรรมครั้งที่ 3  Empathy

ลักษณะกิจกรรม :  เป็นกิจกรรมที่ให้นักศึกษาฝึกฝนทักษะการให้ความเข้าใจอย่างแท้จริงแก่ผู้อื่น หลังจากฟังบทเพลงและ/หรือเรื่องเล่า

วัตถุประสงค์ :  เพื่อให้นักศึกษารู้จักโลกภายในของมนุษย์ผ่านทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง(Iceberg)  ได้ฝึกฝนการใช้ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง(Deep listening) เพื่อทำความเข้าใจโลกภายในของเพื่อนที่เล่าเรื่อง และได้ฝึกการให้ความเข้าใจแก่ผู้อื่นอย่างแท้จริง (empathy) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่กำลังเผชิญกับความทุกข์ทางใจ

อุปกรณ์ : เครื่องคอมพิวเตอร์/มือถือ/แท็ปเล็ตที่สามารถเปิดฟังหรือรับชมเพลงที่สมาชิกเตรียมมาได้  และแผ่นกระดาษที่แสดงรูปโลกภายในโดยใช้ iceberg และคำที่บอกความรู้สึก(Feeling)/ความต้องการ(Need)

Instruction :

  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ในกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อเรียนรู้ถึงโลกภายในของมนุษย์ (ซึ่งก็คือ เราทุกคน) ผ่านการใช้การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening) เพื่อทำให้หูเราได้ยินโลกภายในที่อยู่ลึกกว่าคำพูดของผู้เล่า แล้วฝึกฝนการให้ความเข้าใจแก่ผู้อื่น (Empathy) ผ่านบทเพลงและหรือเรื่องราว โดยในช่วงแรกจะเป็นการอภิปรายถึงโลกภายในของมนุษย์คืออะไร ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง และความหมายของ empathy  ต่อมาให้ฝึกฝนทักษะ empathy ผ่านการฟังบทเพลง และสุดท้ายสมาชิกจะได้แบ่งปันเรื่องราวในชีวิตตนเองผ่านบทเพลงที่ตนเลือกมาและเล่าเรื่องราวสั้นๆ ให้แก่เพื่อนในกลุ่ม หลังจากนั้นเพื่อนที่รับฟังจะกล่าวตอบอย่างให้ความเข้าใจผู้เล่า(empathy)  จนครบทุกคน สุดท้ายเราจะได้ Reflection และสรุปบทเรียนของทักษะ empathy ต่อวิชาชีพแพทย์
  • อาจจะ Check in สั้นๆ กัน
  • Tutor กล่าวนำว่าวันนี้เราจะเรียนรู้เรื่อง empathy เป็นหลัก แต่จะต้องใช้ Deep listening และความเข้าใจเรื่องโลกภายในของมนุษย์ว่าเป็นอย่างไร   ดังนั้น keyword สำคัญที่เราจะได้ทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนเริ่มต้นคือ Empathy, Deep listening และ Iceberg of Inner world
    • o คำแรกที่พวกเรารู้อยู่แล้วคือ Deep listening ที่ได้ใช้ตั้งแต่คาบแรก คือ…..
    • o คำที่สอง Empathy คือ……
    • o คำที่สาม Iceberg of Inner world คือ………….ประกอบด้วย……..  ชั้นของ iceberg ที่อยากให้ทำความเข้าใจคือชั้น Feeling และ yearning  เพราะการให้ความเข้าใจที่ต้องการในคาบนี้คือ น้องๆ สามารถระบุได้ว่า เพื่อนรู้สึก(Feeling) อะไร และต้องการ/ปราถนา (Yearning) อะไร
    • o ลองดูคลิปสรุปเรื่องโลกภายในและการให้ความเข้าใจกันสั้นๆ สัก 3 นาทีครึ่ง ก่อนเริ่มฝึก (เป็น Option แล้วแต่ดุลยพินิจของ Tutor ว่าจะใช้คลิปหรือไม่ก็ได้)
    • o สรุปคือ วันนี้เราจะมาให้ความเข้าใจเพื่อน หรือให้ Empathy โดยใช้เครื่องมือการฟัง หรือ Deep Listening ฟังอะไร คือฟังให้ได้ยินโลกภายใน หรือ Iceberg of inner world  ว่าเพื่อนกำลังบอกความรู้สึกอะไร เพื่อนต้องการ/ปรารถนาอะไร

    ตัวอย่างการชวนแลกเปลี่ยน :

    • ในฐานะผู้เล่า
      • o เมื่อเราเล่าความในใจแล้ว  คนฟังเข้าใจความรู้สึก (ทั้งที่ไม่ได้พูดคำนี้ออกมา) เข้าใจความต้องการ ความปรารถนาลึกๆ ทำให้ผู้เล่ารู้สึกอย่างไร
      • o การได้แบ่งปันเรื่องราวของเราที่ยังคาใจ ความในใจ ต่อคนอื่น เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายหรือยาก  คนที่เราจะเล่า/ผู้ฟังจะมีลักษณะหรือคุณสมบติใดที่เราเลือกที่จะพูดให้เขาฟัง
      • o เรารู้ได้อย่างไรว่าผู้ฟังเข้าใจ(อาจจะเป็นการรับรู้จากคำพูด/ภาษาที่ใช้ verbal หรือจากสายตาอากัปกิริยา nonverbal)

      ***ฝาก tutor เตือนนศ.ว่า การเรียนคาบนี้ มีงานบันทึกท้ายคาบส่งครั้งนี้ ให้ส่งที่งานทางอีเมล์ถึง Tutor  ภายใน 24.00 น.ของคืนวันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม 2563  (หรือถ้า Tutor เลื่อนคาบเรียน ให้ส่งงานภายในวันอาทิตย์ของสัปดาห์ที่เรียนนั้น)

      แนวคิดรวบยอดสำหรับ Tutor : Empathy (การเข้าใจถึงความรู้สึก/เข้าอกเข้าใจ/รู้สึกร่วม)

      • • ประกอบด้วยความเข้าใจว่าอีกฝ่ายรู้สึกอย่างไร และสื่อความเข้าใจนั้นให้อีกฝ่ายรับรู้
      • • การเข้าใจถึงความรู้สึก(empathy) เป็นการเอาตัวเองเข้าไปแทนที่อีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้เกิดความเข้าใจจากมุมมองของบุคคลนั้น  รู้สึกถึงโลกของบุคคลนั้นเสมือนเป็นโลกของตนเอง รู้สึกถึงความโกรธ ความหวาดกลัว ความสับสน โดยไม่ได้รู้สึกว่าโกรธ หวาดกลัว หรือสับสนไปด้วย  เมื่อใดที่เสียความ “เสมือนหนึ่ง” ไป ก็ไม่ใช่การเข้าใจถึงความรู้สึกอีกต่อไป แต่เป็นความรู้สึกเช่นเดียวกับบุคคลนั้น ๆ
      • • การเข้าใจถึงความรู้สึกเป็นการรู้สึกร่วม และแสดงถึงความสัมพันธ์ในฐานะเท่าเทียมกัน มีความร่วมมือกัน และไว้วางใจกัน  แตกต่างจากการเห็นใจ(sympathy) ซึ่งเป็นความรู้สึกสงสาร และแสดงถึงฐานะที่เหนือกว่า
      • • ทักษะการเข้าใจถึงความรู้สึก ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการกับความรู้สึกของตัวเองได้ ช่วยให้เกิดความกระจ่างแก่สองฝ่าย ไว้วางใจกัน
      • • มีทั้งอวจนสารและวจนสาร เช่น ความเงียบ ส่งเสริมให้พูดต่อ ทวนความ สรุปเนื้อหา สะท้อนกลับอารมณ์ความรู้สึก

    • (ช่วง Demonstration) เกริ่นนำถึงการให้ความเข้าใจ(Empathy) ผ่านบทเพลง  จะเริ่มจากเพลงของ Tutor ที่บอกถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น แล้วจะให้นักศึกษาได้ให้ความเข้าใจ (Empathy) สัก 2-3 คน เป็นตัวอย่างสาธิตการทำกิจกรรมต่อไป  โดย Tutor จะเปิดเพลงที่เตรียมมา ให้ทุกคนตั้งใจฟังว่า Tutor น่าจะรู้สึกอะไร ต้องการอะไร ให้แต่ละคนเขียนระบุความรู้สึกที่เด่นชัดที่รับรู้ได้จากเพลง และลองเดาว่า Tutor น่าจะต้องการอะไรภายในความรู้สึกนั้น เขียนระบุความต้องการ/ความปรารถนาสัก 2-3 อย่าง (ใช้กระดาษระบุความรู้สึกความต้องการที่แจกให้ประกอบเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับคนที่นึกไม่ออกได้)  แล้วฟังเพลงจบ คนที่อยากจะลองให้ความเข้าใจ (Empathy)แก่ Tutor ก็ลองพูดออกมาตามรูปประโยคว่า.... คุณกำลังรู้สึก...... อยู่ใช่ไหม   คุณอยากจะ(ปรารถนาหรือต้องการ).......... (Tutor เขียนโครงสร้างประโยคนี้ไว้บนกระดานไวท์บอร์ด)  หลังฟังครบ Tutor จะเฉลยว่า รู้สึกอะไร ปรารถนา/ต้องการอะไร 
    • ก่อนจะเข้าสู่ช่วงที่นักศึกษาจะแบ่งปัน Tutor จะขอใช้เวลาสั้นๆ เพื่อให้แต่ละคนได้มีโอกาสระบุ “ความรู้สึก” และ “ความต้องการ/ความปรารถนา” ของตนเองจากบทเพลงก่อน สัก 5-10 นาที  ขอให้ทุกคนใช้เวลาอยู่กับตนเอง เปิดเพลงที่ตนเองเลือกมา โดยใช้หูฟัง ลองฟังอย่างตั้งใจ ว่าขณะฟังเพลงนี้ ทำนองเช่นนี้ มีภาพอะไรเกิดขึ้นในหัวเรา มีเสียงอะไร มีความคิดอะไรปรากฏขึ้นในใจเรา ให้เขียนออกมาในกระดาษเป็นโน้ตให้ตัวเองได้สำรวจตนเองอีกครั้ง ....... เมื่อฟังจบแล้ว เขียนระบุภาพ/ความคิด/เสียงที่เกิดขึ้นในหัว ขณะฟังเพลงแล้ว ให้ลองถามตัวเองว่า ในภาพ/ความคิด/เสียงนั้น จริงๆ เรารู้สึกอะไร ลองเขียนความรู้สึกอารมณ์ที่ชัดๆ ออกมาสัก 1-2 อารมณ์ และภายใต้อารมณ์นั้น เราอยากจะให้เหตุการณ์/คน/ตัวเราเป็นยังไง แล้วจริงๆ เราต้องการอะไร เขียนออกมาสัก 1-2 ความต้องการ/ความปรารถนา  ถ้านึกไม่ออกให้ดูกระดาษที่บรรยายความรู้สึก/ความต้องการที่เตรียมไว้ให้ อาจจะมีอันไหนที่เด่นชัดขึ้นมา ก็เขียนลงไปได้ แต่ขอให้เขียนให้ตนเองอ่านคนเดียว ยังไม่ต้องให้ใครได้เห็น
    • ช่วงต่อไป เชิญชวนให้นักศึกษาได้แบ่งปันบทเพลงที่เตรียมมา เป็นบทเพลงที่สะท้อนถึงเรื่องราวที่ยังอยู่ในใจ เป็นสภาวะของจิตใจที่เรากำลังเผชิญกับเหตุการณ์ในชีวิตอยู่   และเป็นเรื่องที่เล่าแลกเปลี่ยนได้  ขอให้ใช้เวลาสั้นๆ รับฟังบทเพลงร่วมกัน และฟังเรื่องราวสั้นๆ  เช่น ใครที่อยู่ในนั้น เหตุการณ์ที่ใด บรรยากาศเป็นอย่างไร บทสนทนาไหนที่ยังจดจำได้ชัดเจน และก้องอยู่ในหัวเรา   ขอให้แต่ละคนได้เล่าประมาณ ไม่เกิน 5 นาที
    • ชวนแบ่งปันทีละคน  หลังแต่ละคนเล่าจบ ให้เพื่อนในกลุ่มกล่าว empathy ด้วยโครงสร้างประโยค .... คุณกำลังรู้สึก...... อยู่ใช่ไหม   คุณอยากจะ(ปรารถนาหรือต้องการ)..........  ต่อเพื่อนผู้เล่า  แล้วผู้เล่าเฉลยว่าตนเองรู้สึก/ปรารถนาอะไร  เมื่อเฉลยแล้ว ได้รับรู้ความรู้สึกของผู้เล่าแล้ว ให้เพื่อนที่รับฟังกล่าวชื่นชม/ให้กำลังใจแก่ผู้เล่าอีกครั้ง   แล้วจึงเปลี่ยนเป็นคนต่อไปจนครบทุกคน
    • ในฐานะผู้ฟัง(ที่ให้ความเข้าใจ)

      • o จะฟังได้ยินถึงความรู้สึกและความต้องการ ใจผู้ฟังต้องเป็นอย่างไร (เช่น ตั้งใจฟัง มีสมาธิ วางความคิดตนเอง)
      • o อุปสรรคที่อยู่ในตัวผู้ฟัง ที่จะให้ความเข้าใจผู้อื่นได้คืออะไร (เช่น มีอคติ ใจปิด ฯลฯ)
      • o เมื่อได้เข้าใจผู้อื่น ทำให้ใจเราเป็นอย่างไร ( เช่น รู้สึกดีใจที่ได้ช่วย ฯลฯ)
      •   



        โครงสร้างประโยคสำหรับการฝึกการให้ Empathy ในคาบเรียน

        คุณกำลังรู้สึก...... อยู่ใช่ไหม   คุณอยากจะ(ปรารถนาหรือต้องการ)..........ใช่ไหม


        ความรู้สึก

        ความรู้สึกเกิดจากความต้องการของเรา - ไมใช่เกิดจากการกระทำของผู้อื่น ฉันรับผิดชอบต่อความรู้สึกของฉันโดยรู้ว่า เบื้องหลังความรู้สึกคือความต้องการอะไร

        ความรู้สึกเมื่อความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง




        ความรู้สึกเมื่อความต้องการได้รับการตอบสนอง


        ความต้องการ

        ความต้องการ  เบื้องหลังการกระทำของมนษุย์คือการตอบสนองความต้องการบางอย่าง

        หมายเลขบันทึก: 683755เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2020 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2020 09:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


        ความเห็น (1)

        ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับผม ผมกำลังค้นคว้าเตรียมสอน Empathy กับนักศึกษากิจกรรมบำบัดพอดีเลยครับผม

        พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
        ClassStart
        ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
        ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
        ClassStart Books
        โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท