ชื่นชมหัวใจคุณครูโรงเรียนทอสี


การเพิ่มทักษะการสื่อสารผ่านสีหน้า ท่าทาง แววตา น้ำเสียง การใช้มือ คำพูด ล้วนเกิดจาก "ความคิดบวก ความรักความเข้าใจ และความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ" ที่ประกอบสร้างด้วยการรู้คิดจิตอิสระอย่างพอดีมีความภาคภูมิใจในการพัฒนาการเรียนรู้สังคมอารมณ์ หรือ Social Emotional Learning (SELF) Flow ด้วยความคิดบวกไหลลื่น ตื่นรู้ อยู่ตัว หัวใจงาม ค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมด้วยอารมณ์มั่นคงพร้อมเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในชีวิต หากคุณครูริเริ่มบ่มเพาะเมตตาปัญญาในช่วงวัย 3-8 ปี 

ยกตัวอย่างละครสะท้อนคิดแก้ปัญหาตอบโจทย์ "หากคุณครูส่วนใหญ่มีหูว่องไว เพราะมีจิตติดกิจกรรมจำพวกเสียงธรรมชาติ ทำสมาธิสงบไร้เสียงเร้ากำหนดเพียงเสียงลมหายใจ ชอบร้องเพลงเต้นรำทำดนตรีสนุกสนาน แต่คุณครูส่วนน้อยมีตาไม่ว่องไว เพราะมีจิตติดกิจกรรมมองทิวทัศน์ธรรมชาติ-สีเขียว-ภูเขา วาดรูป หลับตาจินตนาภาพ จะส่งเสริมสมดุลสมองจิตกายใจให้ลูกศิษย์ได้ด้วยกิจกรรมที่เหมาะสมอย่างไรดี" เพราะเด็ก Gen Z  วัย 8-23 ปี กับเด็ก Alpha วัยต่ำกว่า 8 ปี มีตาว่องไว แต่มีหูไม่ว่องไว ดังนี้คุณครูสามารถใช้สมองเหนื่อยล้าเมื่อพบเจอเด็ก ๆ ที่ซนด้วยความตั้งใจเลียนแบบอารมณ์บวกลบผ่านภาษากายของคุณครูในช่วง 7 ปีแรก เริ่มที่จะเรียนรู้ความรู้สึกพึงพอใจบวกลบในช่วง 8-14 ปี และค่อย ๆ สะสมความคิดบวกมากกว่าลบ หากมีประสบการณ์ดีต่อใจในอารมณ์บวกและความพึงพอใจในช่วง 14 ปี พัฒนาเป็นผู้นำพาจิตใจที่เข้มแข็ง เชื่อมั่นในตัวเอง และ มีน้ำใจช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอได้หลังวัย 14 ปีเป็นต้นไป

 

ขอบพระคุณคุณครูทีมที่หนึ่ง ออกแบบกิจกรรมที่ผมเทียบเคียงกับ Silent Talk กระตุ้นระบบสมองเครือข่ายเซลล์กระจกเงา ทำให้เด็กสังเกต ขยับตากับมือไปพร้อมคุณครูราวกับกระจกเงา (Match & Mirror) ทั้งจังหวะ สีหน้า ท่าทาง การปรบมือ รอยยิ้ม และอารมณ์ร่วมอย่างสนุกสนาน นำพาให้เลียบแบบการใช้ร่างกายสะท้อนความคิดบวกอย่างมีสติและมีการรับรู้ความตั้งใจดีมีความหมายระหว่าง Slow Social Awareness และ Fast Body Awareness 

ขอบพระคุณคุณครูทีมที่สอง ออกแบบกิจกรรมที่ผมเทียบเคียงกับ Silent Eyes กระตุ้นสมองส่วนหน้า ๆ ทำให้เด็กมีสัมปชัญญะและโยนิโสมนสิการ แยกแยะมิติสัมพันธ์รอบตัว หากแยกแยะได้ไม่ได้ดี เด็กจะมีสมาธิสั้นเทียมด้วยความคับข้องใจในการเรียนรู้ที่ยากลำบาก (Spatial Relation Syndrome) เช่น เขียนหนังสือกลับหัว วาดรูปไม่สมมาตร การจับดินสอไม่มั่นคง ขยับร่างกายงุ่มง่าม และเดินทรงตัวไม่คล่องแคล่ว หากฝึกการสัมผัสแบบปิดตา คลำสิ่งของคุ้นชิน การปั้นดินเล่นทราย การลืมตามองแตะผิวสัมผัสแสงเงา และการกอดพ่อแม่ลูกครูแบบไร้เสียง ใช้การช้อนประคองมือด้วยความอ่อนโยนนุ่มนวล การเป็นต้นแบบการใช้ตาและมือไม่พูดเยอะขณะทำกิจกรรมทานอาหารครอบครัว ก็จะส่งเสริมความคิดจินตนาภาพวิสัยทัศน์ดีต่อใจในการคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นทีมเห็นอกเห็นใจกันกับเพื่อน ๆ ได้

ขอบพระคุณคุณครูทีมที่สาม ออกแบบกิจกรรมที่ผมเทียบเคียงกับ Silent Heart กระตุ้นระบบสมองอารมณ์ให้หูซ้ายสมดุลหูขวา ผ่านการอ่านออกเสียง การสวดมนต์ การขยับร่างกายช้า ๆ พร้อมกำหนดลมหายใจในโยคะง่าย ๆ ก็จะลดความวิตกกังวลทั้งครูและเด็ก เกิดอารมณ์ร่วมกันสื่อสารอย่างสงบนิ่ง ก่อนที่คุณครูจะสื่อสารกับเด็ก ให้เคาะอารมณ์ จากคลิปที่นี่ เพื่อจะได้มั่นใจว่า ไม่สั่งการด้วยน้ำเสียงดัง แต่สื่อสารชักชวนให้เด็กทำความดี แสดงบทบาทชวนเด็กให้ช่วยเหลือคุณครู ถือเป็นการฝึกภาวะผู้นำให้เด็ก และคุณครูเป็นผู้ตาม จะเห็นว่าเด็กที่ชอบใช้สายตามากเกินไปแบบติดมือถือ หรือ เด็กที่ชอบใช้หูหาเรื่องข้างขวาพูดคุยเสียงดังซุกซน ก็จะค่อย ๆ ปรับพฤติกรรมตามเพื่อน เพราะถ้าใช้สายตาและ/หรือใช้หูขวามากเกินไปจะทำให้สมองการรู้คิดมากไปจนเหนื่อยล้านำพาอารมณ์ให้ตึงเครียดลบ จะดีมากถ้าประเมินว่า "พ่อแม่เคยตำหนิ ออกคำสั่งเสียงดัง จนเด็กหูหาเรื่องได้ในวัย 3-5 ปี มีความคิดโกหกเพื่อเอาตัวรอดจากพ่อแม่วัย 5 ปีเป็นต้นไป และจะเครียดสะสมจนจำฝังใจให้อารมณ์ลบตั้งแต่ 8 ปีเป็นต้นไป" คุณครูสามารถเชื้อเชิญคุณพ่อคุณแม่ร่วมฝึก Butterfly Hug จากคลิปที่นี่ และใช้การโอบกอดเด็กจากด้านหลังเป็นการเคาะ Butterfly Hug จนถึงการกอดแบบไร้เสียง 20 วินาที จากคลิปที่นี่ และแนวทางการสื่อสารกับเด็กรุ่นใหม่ จากคลิปที่นี่ 

แนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดกิจกรรแบบ Unthink คิดน้อย ๆ ให้เรียนรู้การรับรู้สึกอารมณ์และเห็นอกเห็นใจในสังคมรอบตัว ภายใน 15 นาที เพื่อให้ต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนความสุขชั่วขณะ จากคลิปที่นี่ รวมทั้งการสื่อสารปรับอารมณ์เด็ก จากคลิปที่นี่ 

  

หมายเลขบันทึก: 683284เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2020 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2021 17:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท