เก็บตกวิทยากร (64) ถอดบทเรียนกิจกรรมรอบ 4 เดือนสโมสรนิสิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสรคาม


ในหลายๆ กิจกรรม ผมและทีมงานพยายามสื่อถึงเรื่องกระบวนการเรียนรู้ หรือเครื่องมือในการเรียนรู้ไปในตัว ฝึกให้นิสิตมีทักษะในการถอดบทเรียนด้วยตนเอง ฝึกทักษะในการทำงานแข่งกับเวลา ฝึกทักษะในการระดมความคิด ฝึกทักษะในการสื่อสารสร้างสรรค์ ฝึกทักษะการทำงานอย่างเป็นทีม ฝึกการทำงานแบบมีส่วนร่วม

เมื่อวันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563  ผมและทีมงานจากกลุ่มงานกิจกรรมนิสิต ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านกิจกรรมนิสิตของสโมสรนิสิตคณะนิติศาสตร์ โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้นำนิสิต ตลอดจนอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุม 1 อาคารพัฒนานิสิต กองกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นทางกระบวนการนั้น  ผมและทีมงานออกแบบกระบวนการแบบง่ายๆ ไม่เน้นความซับซ้อนอะไรให้มากความ  เช่น   BAR :  รู้จักฉันรู้จักเธอ - ความรู้คู่สโมสรนิสิตคณะ- ผู้นำกับการทำงานเป็นทีม- สรุปการเรียนรู้ในรอบ 4 เดือน โดยทุกๆ กิจกรรมเน้นแนวคิดการเรียนรู้ในแบบบันเทิงเริงปัญญา และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

เวทีวันนั้น เปิดตัวด้วยกิจกรรม “ตาราง 9 ช่อง”  เพื่อละลายพฤติกรรมให้นิสิตกล้าแสดงออกพร้อมๆ กับฝึกทักษะเครื่องมือการเรียนรู้ง่ายๆ เช่น การซักถาม สัมภาษณ์ สังเกต บันทึกข้อมูล รับผิดชอบโดยคุณณัฐภูมินทร์ ภูครองผา

ถัดจากนั้นเป็นกระบวนการ “วัดความรู้เรื่องกิจกรรมนิสิต” หรือ “ความรู้คู่สโมสรนิสิต”  ซึ่งเน้นการให้นิสิตทำ “ข้อสอบ” แล้วเฉลยข้อสอบร่วมกัน พร้อมๆ กับการบรรยายผ่านข้อสอบในแต่ละข้อ ซึ่งเนื้อหาก็มีทั้งที่เป็นนโยบายและทิศทางของมหาวิทยาลัย อัตลักษณ์-ค่านิยมนิสิต นโยบายเชิงรุกการพัฒนานิสิต ทักษะทางสังคม (Soft skills) โดยคุณสุริยะ สอนสุระ

ต่อด้วยกระบวนการทบทวนตัวเองผ่าน “สัตว์หลากทิศ : การทำงานเป็นทีม” โดยให้นิสิตแสดงทัศนะถึงคุณลักษณะสำคัญๆ ของสัตว์ที่ตนเองชื่นชม แล้วผูกโยงมาสู่การเรียนรู้ “สัตว์สี่ทิศ” ที่ประกอบด้วย กระทิง อินทรี หมี และหนู ซึ่งกระบวนกร คือ คุณรุ่งโรจน์ แฉล้มไธสง


ช่วงท้ายของเวที  ผมเข้าไปสานต่อกระบวนการต่างๆ ผ่านกิจกรรมสำคัญๆ เช่น การสะท้อนแนวคิดผ่านหลักคำในคำถามหลัก คือ  ทำไมตัดสินใจเข้ามาทำกิจกรรม  ความคาดหวังของการเข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมนอกหลักสูตร คืออะไร  รวมถึงการถอดบทเรียนเชิงปฏิบัติการร่วมกัน โดยให้นิสิตแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

  • กิจกรรมเด่นในรอบ 4 เดือน พร้อมจุดอ่อน/จุดแข็ง
  • กิจกรรมที่มีจุดอ่อนมากที่สุดในรอบ 4 เดือน พร้อมปัญหาและสาเหตุ ตลอดจนแนวทางในการขับเคลื่อนต่อยอด
  • ภาพลักษณ์ อัตลักษณ์ผู้นำนิสิตคณะนิติศาสตร์



รณีกิจกรรมที่โดดเด่นและประทับใจในรอบ 4 เดือน นิสิตเลือกมาคือกิจกรรม "พิธีไหว้ครู"  ซึ่งนิสิตสะท้อนว่าเป็นกิจกรรมที่หลอมรวมทั้งนิสิต อาจารย์ บุคลากรมาเป็นหนึ่งเดียวกัน  สอดคล้องกับการปลุกฝังคุณธณรมจริยธรรมของความรัก ความผูกพัน หรือความกตัญญูที่ยึดโยงกับวิชาชีพของกฎหมาย และครรลองของสังคมไทย

กิจกรรมดังกล่าว สำเร็จลุล่วงได้ด้วยปัจจัยสำคัญ คือ  ทั้งนิสิตที่หมายถึงผู้นำนิสิต -นิสิตทั่วไป ตลอดจนผู้บริหาร อาจารย์และเจ้าหน้าที่ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมนี้ร่วมกัน  ประหนึ่ง "นโยบายชัดเจน"  ก็ทำอะไรได้ง่ายขึ้น  

รวมถึงการสะท้อนว่ากิจกรรมนี้แต่ละฝ่ายมีความชัดเจนใน "เนื้องาน" ของตนเอง - เรียกได้ว่าเข้าใจงานและทุ่มเทกับงานก็ว่าได้

และย้ำหนักแน่นว่ากิจกรรมนี้ มีการทำงานที่เป็นทีม และในทีมก็มีระบบการทำงานกันอย่างชัดเจน จนก่อให้เกิดพลังต่อการเรียนรู้

ขณะที่จุดอ่อนของกิจกรรมนี้มีไม่มากนัก  ส่วนใหญ่จะเห็นตรงกันว่า กลุ่มแกนนำทำงานมีจำนวนไม่มากนัก และอุปกรณ์ยังไม่เพียงพอ  ซึ่งนั่นมีประเด็นของงบประมาณเข้ามาเกี่ยวโยงด้วย



ส่วนโครงการในรอบ 4 เดือนที่ถือว่ามีจุดอ่อนมากที่สุด  นิสิตเลือกโครงการ "พาน้องไปวัด"  โดยสะท้อนถึงปัญหาต่างๆ ที่สำคัญๆ เช่น  

  • ปัญหาการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนและครอบคลุม (เปลี่ยนแปลงสถานที่และกำหนดการไม่แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง)  
  • กิจกรรมไม่สนุกสนาน กิจกรรมไม่น่าสนใจ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมทั้งที่เป็นนิสิตใหม่และสต๊าฟขาดแรงจูงใจ หันมาเล่นมือถือแทน

นอกจากนั้นก็สะท้อนถึงปัญหาสถานที่  เช่น  

  • สถานที่ไม่เหมาะต่อการปฐมพยาบาล หรือให้บริการด้านสุขภาพ  
  • การจัดระบบจาจรยังไม่เป็นระบบ  ส่งผลให้จอดรถไม่เป็นสัดส่วน  กลายเป็นการกีดขวางจราจรไปในตัว  ส่งผลให้ลำเลียงอาหารและสวัสดิการได้ไม่ดีพอ  
  • รวมถึงการสัญจรเข้าออกเป็นไปอย่างล่าช้า-ติดขัด

เช่นเดียวกับการยืนยันว่ากิจกรรมครั้งนี้ "ข้าวไม่สุก" ---


นี่คืออีกหนึ่งเวทีที่ผมและทีมงานได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกับนิสิต  ในหลายๆ กิจกรรม  ผมและทีมงานพยายามสื่อถึงเรื่องกระบวนการเรียนรู้ หรือเครื่องมือในการเรียนรู้ไปในตัว  ฝึกให้นิสิตมีทักษะในการถอดบทเรียนด้วยตนเอง  ฝึกทักษะในการทำงานแข่งกับเวลา  ฝึกทักษะในการระดมความคิด  ฝึกทักษะในการสื่อสารสร้างสรรค์  ฝึกทักษะการทำงานอย่างเป็นทีม  ฝึกการทำงานแบบมีส่วนร่วม  ฯลฯ

รวมถึงการบ่มเพาะทัศนคติที่ดีในแง่ของการ รักและเคารพตัวตนของตนเอง และผู้อื่น   หรือแม้แต่การรักและผูกพันกับมหาวิทยาลัยฯ

ส่วนเรื่องภาพลักษณ์ของนิสิตคณะนิติศาสตร์นั้น  ไว้มาเล่าต่อทีหลัง นะครับ  

...

เขีบน : 2 ตุลาคม 2563 
ภาพ : สุริยะ สอนสุระ / พนัส ปรีวาสนา

หมายเลขบันทึก: 683227เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2020 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ตุลาคม 2020 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-สวัสดีครับอาจารย์-ครูคือผู้ให้ ครูคือผู้สร้างสรรค์สังคม-ด้วยความระลึกถึงท่านอยู่เสมอครับ

งดงามในวิถี ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ขอบคุณเรื่องเล่าในฤดูฝนครับท่านพี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท