บทเรียน:-การเป็นพี่เลี้ยงขอผลงานเลื่อนระดับที่สูงขึ้น


การขอผลงานเลื่อนระดับของพยาบาล

ความหมายของ..พี่เลี้ยงในการทำผลงานเลื่อนระดับ 

    พี่เลี้ยง หมายถึง การดูแลผู้ขอผลงานเลื่อนระดับในตำแหน่งที่สูงขึ้นอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ต้น จนสามารถยื่นส่งขอผลงานได้ จากการที่ดิฉันมารับเป็นพี่เลี้ยงในรอบปี 2562-2563 จนสามารถยื่นส่งขอผลงานในรอบนี้ มีตำแหน่งเชี่ยวชาญ 5 คน ชนพ 15 คน ชนก 5 คน 

         ผลงานขอเลื่อนระดับ องค์กรพยาบาล รพ ศรีนครินทร์ สามารถดูแลบุคลากรให้ส่งผลงานได้ ชช 12 คน  และตำแหน่งอื่นๆรวมทั้งหมด 400 ตำแหน่ง ในปี 2563 


    ขอสรุปบทเรียนการเป็นพี่เลี้ยง ดังนี้ :-

    งานที่ใช้พลังมากที่สุด คือ 

    • การทำผลงานวิจัย เนื่องจากหลายผลงานเป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลย้อนหลัง กระบวนการวิจัยที่ใช้เป็นการรวบรวมผลลัพธ์การทำงานตามกระบวนการที่ผ่านมา แต่ก็มีกระบวนการทำงานที่ดีอยู่เป็นจำนวนมาก เพราะ รพ ศรีนครินทร์ เป็น รพ ระดับเหนือตติยภูมิ ที่มีระบบการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ มี work flow, CPG,CNPG, Program ต่างๆ โดยเฉพาะโปรแกรมที่ผ่านกระบวนการทบทวนงานวิจัย แล้วนำไปทดลองใช้หลายรอบ ก็มักจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในการทำงาน แต่อย่างไรก็ตามยังมีจุดอ่อนเกิดขึ้นอยู่พอสมควร เพราะการบันทึกขาดความสมบูรณ์ ทำให้ข้อมูลที่เป็น nursing outcome ที่ดีมีน้อย  หากพยาบาลสามารถวางแผนการเก็บข้อมูลแบบศึกษาไปข้างหน้า โดยใช้การบำบัดทางการพยาบาล การนำ CNPG ไปใช้ หรือ สร้างโปรแกรมทางการพยาบาลโดยใช้ทฤษฏีทางการพยาบาล และมีกระบวนการนำไปใช้ที่ชัดเจนตามแผน และแบบบันทึกตัวชี้วัดอย่างเป็นระบบ จะทำให้ผลลัพธ์การพยาบาลได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
    • งานหนักรองลงมา คือ การวิเคราะห์ ประเด็นปัญหาคล้ายวิจัย 


    งานที่สามารถทำร่วมกันอย่างราบรื่นระหว่างพี่เลี้ยงและเจ้าของผลงาน คือ 

    • หัวหน้าตึกมีการมอบหมายงานและนิเทศงานอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผู้จะขอผลงานมีการโครงการพัฒนางานอย่างเป็นระบบ
    • หัวหน้าฯ มีการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) 
    • มีแนวปฏิบัติการพยาบาลที่ชัดเจนนำมาใช้ในหน่วยงาน
    • มีแบบเก็บข้อมูลที่เป็นของพยาบาลชัดเจนและมีข้อมูลผลลัพธ์ที่ดี ก็จะได้ผลงานที่สมบูรณ์
    • เจ้าของผลงาน วางแผนงานไว้ล่วงหน้า ตั้งใจ มีความรู้ ทักษะในการปฏิบัติที่ดีในการดูแลผู้มาใช้บริการ
    • มีการรวบรวมผลงานที่ผ่านมาอย่างเป็นระบบ
    • ตอบสนองกับพี่เลี้ยงอย่างรวดเร็ว มีการแก้ไขส่งงานอย่างสม่ำเสมอ 
    • สามารถใช้ IT ได้ทุกรูปแบบ ทั้งไลน์ เมล ฯลฯ


    ข้อเสนอแนะสำหรับผู้จะขอผลงานรอบต่อไป

    • หากพยาบาล ต้องการผลลัพธ์ทางการพยาบาลที่ดี จะต้องมี care process โดยใช้ CNPG, Well Program และมีการเก็บข้อมูล Nursing outcome ที่ชัดเจน โดยเลือกใช้แบบเก็บผลลัพธ์ที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดี
    • มีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง แบบ control chart หากผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เราต้องกลับไปปรับ care process ใหม่
    • การทำผลงาน หากต้องการเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนใช้กับหลังใช้แนวปฏิบัติ ข้อมูลที่เก็บจะต้องครบถ้วนทั้งก่อนและหลังการใช้


    ข้อเสนอแนะสำหรับคณะกรรมการพัฒนาวิชาชีพ 

    งานวิเคราะห์

    • ผู้ตรวจการฯ และหัวหน้าหอผู้ป่วย ควรวางแผน มอบหมายงานให้พยาบาลรับผิดชอบกลุ่มผู้ป่วย ก่อนขอผลงานอย่างน้อย 1-2 ปี มีการทำ case study, case conference เก็บข้อมูลขนาดปัญหาของผู้ป่วยตามตัวชี้วัด วางแผนพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยตามประเด็นปัญหา 
    • ระดับ ชนก อาจทำโปรแกรมการให้ข้อมูล/ การวางแผนจำหน่าย/ วิเคราะห์ประเด็นปัญหาหน้างานเพื่อหา gap มาทำวิจัยต่อ 
    • ระดับ ชนพ ควรสร้างโปรแกรมการพยาบาล/ CNPG แล้วติดตามผลลัพธ์ทางการพยาบาล 
    • ระดับเชี่ยวชาญ ควรวางแผนพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มผู้ป่วยที่รับผิดชอบและติดตามผลลัพธ์ทางการพยาบาลในเชิงระบบ 
    • ควรวางระบบการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบต่อเนื่อง หากเป็นงานวิเคราะห์ รอบแรก ควรให้ส่งการบ้านตามใบงาน อย่างน้อยให้ทราบว่า แต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบ กลุ่มผู้ป่วยใด กลุ่มอาการใด ลองให้เขียน PICO มาก่อน  
    • รอบสอง ส่งบทที่ 1 และ 3 มีการให้คำปรึกษาจนเข้าใจ แล้วค่อยไปเก็บข้อมูล 1 เดือน แล้วมาเขียนบทที่ 4  ถ้าสามบทนี้เคลียร์ บทอื่นจะไม่เป็นปัญหา

    งานวิจัย 

    • สามารถสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาล CNPG เรื่องที่ 1 ขอยกเว้นจริยธรรมได้
    • แล้วนำ CNPGไปใช้ จะเป็นเรื่องที่สองได้ ขอ full board จริยธรรม 
    • หรือขอจริยธรรมแบบ full board ครั้งเดียว แต่เขียนสองวัตถุประสงค์ แล้วตีพิมพ์ออกเป็นสองเรื่อง
    • หรือทำวิจัยแบบทดลองหรือกึ่งทดลองที่มีกลุ่มเปรียบเทียบ 
    • จัดคลินิกให้คำปรึกษาด้านวิจัยอย่างต่อเนื่อง

    สรุป

    • ผู้ที่สามารถทำผลงานเลื่อนระดับจนสำเร็จได้ ขึ้นกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ขอผลงาน ว่าจะมีความมุมานะ พยายามมากเพียงใด  มีการประสาน พยายามค้นคว้าหาข้อมูล แล้วนำมาอภิปรายร่วมกับพี่เลี้ยงและส่งผลงานเร็ว ก็จะทำให้สำเร็จได้ง่าย 
    • สำหรับพี่เลี้ยงต้องค้นคว้าหาอ่านงานของน้องด้วย และจิตใจดี มีเมตตา คิดทางบวกว่า เป็นวิธีหนึ่งที่จะพัฒนาคนให้มีสมรรถนะที่ดีขึ้น ผู้ขอผลงานสามารถคิดได้ คิดเป็น แล้วจะมีผลกระทบต่อองค์กรในทางที่ดีขึ้น
    • จากการรับทราบข้อมูลการส่งผลงาน ได้ร้อยละ 60 (400 ผลงานที่ได้ส่ง) ก็ถือว่าเป็นผลงานที่ดีขององค์กร และน่าดีใจกับทุกคนที่มีส่วนร่วมในครั้งนี้

    ..................

    แก้ว บันทึก 1-10-2563

    ภาพตอนเปิดงาน พยาบาลแต่ละชาติจะถือธงชาติโบกสะบัด เหมือนไปแข่งกีฬานานาชาติเลยค่ะ

    ภาพพยาบาลไทย 5 คน ที่ไป ICN 

    #caption ภาพนี้..อาจดูไม่เกี่ยวกับชื่อเรื่อง การทำผลงานต่อเนื่อง  proactive การมีโอกาสไปนำเสนอผลงานต่างประเทศบ้าง ก็เป็นการกระตุ้นให้พยาบาลมีวิสัยทัศน์ที่ดี ทำให้ทั้งห้าคน เป็นพยาบาลเชี่ยวชาญได้ทุกคน งานนี้เราไป ICN Barcelona 2017 

    หมายเลขบันทึก: 683157เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2020 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2020 06:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (6)

    ภาพผ่อนคลายก็มีนะคะ เวลานอกจากประชุมเราก็ไปชมเมืองเขาบ้าง

    ภาพที่พี่หน่อยนำเสนอผลงาน ดูดีมาก

    การนำบรรยากาศ การนำเสนอผลงาน ICN มาให้น้องได้ชม หวังเพียงกระตุ้นให้เรามีโอกาสไปให้ถึงสักครั้งค่ะ เราจะเห็นผู้นำวิชาชีพพยาบาลจากทั่วโลกมาเล่างานที่่ทำในแต่ละประเทศ ทั้งในเรื่องดีดีและความยากลำบากในการพัฒนา ทำให้เราเห็นว่าสิ่งที่เราทำก็เป็นสิ่งที่ดีและมีโอกาสพัฒนาอีกมากมายเช่นกันค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท