การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้สหกิจศึกษาหรือฝึกงาน


การระบาดของโรคไวรัสโควิด ๑๙ ที่เริ่มระบาดส่งกระทบกต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ เชื้อไวรัสเริ่มในประเทศจีนตั้งแต่ปลายปี ๒๕๖๒ จนถึงปัจจุบัน UNESCO รายงานว่ารัฐบาลกว่า ๑๙๑ ประเทศทั่วโลก ประกาศปิดสถานศึกษาทั้งประเทศ มีผู้เรียนมากกว่า ๑.๕ พันล้านคน (มากกว่าร้อย ละ ๙๐ ของผู้เรียนทั้งหมด) สําหรับประเทศไทยสถานการณ์การระบาดเกิดขึ้นในช่วงสถานศึกษาขั้น พื้นปิดภาคเรียน ในช่วงต้นเดือนเมษายน คณะรัฐมนตรีมีมติให้เลื่อนวันเปิดเทอมภาคเรียนที่ ๑ ไป เป็นวันที่ 9 กรกฎาคม ๒๕๖๓ ไทยจึงได้มีโอกาสทบทวนบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อเตรียมตัวให้ พร้อมกับการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่สอดรับกับมาตรการป้องกันการระบาดพร้อมกับ เตรียมมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เรียนได้รับผลกระทบจากการเรียนในรูปแบบที่เปลี่ยนไป (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, ออนไลน์:๒๕๖๓) ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงได้ปรับเปลี่ยนการเรียน การสอนในวิชาการฝึกงานวิชาชีพ โดยให้นักศึกษาทําการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในภาคเรียนถัดไป

เพื่อให้นักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ได้ใช้ความรู้ที่ได้ศึกษาไป ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง ได้ฝึกทักษะการเรียนรู้การทํางาน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในการทํางาน การนําความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทํางาน ฝึก การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร และการสร้างระเบียบวินัยในการปฏิบัติตนตามข้อบังคับการ ปฏิบัติงานในฐานะพนักงานของสถานประกอบการจริงเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีทัศคติที่ดี ต่อวิชาชีพ

แนวทางการปฏิบัติที่ดี (วิธีการ กระบวนการ เครื่องมือการจัดการความรู้ที่ใช้)

๑. ด้านคุณธรรมจริยธรรม โดยมีกระบวนการจัดทําแผนปฏิบัติงาน กําหนดภาระงานขอบเขตของ

การฝึกงาน จัดทําคู่มือการฝึกงานวิชาชีพสําหรับนักศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ จัดปฐมนิเทศและอบรมนักศึกษาเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของนักวิชาชีพ

๒. ด้านความรู้ โดยมีกระบวนการประสานงานกับสถานประกอบการในเรื่องของขอบเขต การ

มอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพ

๓. ด้านทักษะทางปัญญา โดยมีกระบวนการมอบหมายให้นักศึกษาจัดทํารายงาน สรุปองค์ความรู้

เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ ซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ บันทึกการปฏิบัติงาน ประจําวัน สรุปงานที่ได้รับมอบหมาย ปัญหาที่เกิดจาการทํางานและแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหาและสามารถอภิปรายผลจากการฝึกงานวิชาชีพ

๔. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ โดยมีกระบวนการจัดอบรมด้าน

มนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคคลให้กับนักศึกษาแลทําการประเมินผลทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจากประเมินของสถานประกอบการ

๕. ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีกระบวนการจัดอบรมด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทาง มอบหมายให้นักศึกษาจัดทํารายงานและอภิปรายของการใช้เทคโนโลยีและทําการประเมินผลทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจากสถานประกอบ

7. ผลสัมฤทธิ์ (ผลสัมฤทธิ์ด้านต่าง ๆ ได้แก่ เชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ รางวัลที่ได้รับ การเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ฯลฯ)

๑. ด้านคุณธรรม จริยธรรม

๑.๑ นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ

๑.๒ นักศึกษามีวินัยในตนเองและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรที่เข้ารับการฝึกงานได้

๑.๓ นักศึกษาสามารถปรับตัวให้เข้ากับงานที่ได้รับมอบหมาย และผู้ร่วมงาน ๓.๑.๔ นักศึกษามีจิตสํานึกและปฏิบัติตนเองที่คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม

๒. ด้านความรู้

๒.๑ นักศึกษามีความรู้และเข้าใจในหลักการด้านสาขาการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ และ สาขาศิลปศาสตร์

๒.๒ นักศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ ด้านสาขาการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ และ สาขาศิลปศาสตร์และด้านอื่น ในการปฏิบัติงาน

๒.๓ นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติทางด้านสาขาการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ และ สาขาศิลปศาสตร์ จากงานที่ได้รับมอบหมาย

๓. ด้านทักษะทางปัญญา

๓.๑ นักศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้ทางด้านสาขาการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ และ สาขาศิลปศาสตร์ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

๓.๒ นักศึกษาสามารถรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกงานทางวิชาชีพและจัดทําเป็นรายงาน

๔. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

๔.๑ นักศึกษาสามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

๔.๒ นักศึกษามีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี

๔.๓ นักศึกษาสามารถให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นํา หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน

๕. ด้านทักษะวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

๕.๑ นักศึกษามีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา หรือข้อโต้แย้ง

๕.๒ นักศึกษาสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนําเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน

๕.๓ นักศึกษาสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ

8.ปัจจัยความสำเร็จ  (สรุปเป็นข้อๆ)

นักศึกษาสาขาการบัญชี สาขาบริหารธุรกิจ และ สาขาศิลปศาสตร์ เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้ครบ ๓๐๐ ชั่วโมง

9. ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาต่อไป

ปัญหา

วิธีการแก้ไข

ปัญหาด้านสถานศึกษา เนื่องอาจารย์มีภาระหน้าที่ รับผิดชอบตามกระบวนการเรียนการสอนและ ภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยและ ส่วนงานต่างๆ ทําให้การจัดตารางเวลาในการนิเทศ ทําได้ค่อนข้างยาก และทางมหาวิทยาลัยฯ มี กฎระเบียบ ข้อบังคับ การดําเนินการของ มหาวิทยาลัยที่ยังขาดความชัดเจน ส่งผลกระทบให้ การวางแผนเป็นไปได้ยาก

มีจัดทําแผนกําหนดภาระงานของอาจารย์ล่วงหน้า และสอบถามข้อมูลการเกี่ยวกับระเบียบ ข้อบังคับ ข้อมูลการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องของมหาวิทยาลัย โดยเร็ว

ปัญหาด้านสถานประกอบการ สถานประกอบการ ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ในการฝึกงาน และประโยชน์ ของการฝึกงานที่นักศึกษาจึงได้รับจากการฝึกงาน รวมถึงความเหมาะสมของงานที่ได้มอบหมายให้ นักศึกษา บุคลากรในสถานประกอบมีทักษะใน วิชาชีพแต่ขาดทักษะในการถ่ายทอดสู่นักศึกษา

การทําความเข้าใจระหว่างสถานประกอบการและ สถานศึกษาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการฝึกงาน ความเหมาะสมของการมอบหมาย และสิ่งที่ สถานศึกษาต้องการให้นักศึกษาได้รับองค์ความรู้ จากการพัฒนาทักษะวิชาชีพจากการฝึกงาน

ปัญหานักศึกษา นักศึกษาไม่ทราบประโยชน์ของ การออกปฏิบัติการฝึกงาน และมีมุมมองการฝึกงาน เป็นการเสียโอกาสที่จะสําเร็จการศึกษาตามกําหนด นักศึกษาขาดความตั้งใจตามกระบวนการเตรียม ความพร้อม ความรู้พื้นฐานและทักษะที่จําเป็นต่อ การปฏิบัติงานนักศึกษา ทักษะในการปรับตัวเพื่อเข้า กับสภาพแวดล้อมในสถานประกอบการ ความตรง ต่อเวลาของนักศึกษาในการฝึกงาน และนักศึกษาขาดการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์นิเทศ ขาดการ รายงานผลหรือความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ขาด ความอดทนและตั้งในในการปฏิบัติงาน ความ ปลอดภัยระหว่างการปฏิบัติงาน เกิดอุบัติเหตุจาก การปฏิบัติงานและสุขภาพของนักศึกษา

จัดให้มีการอบรมโครงการพัฒนาด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก่อนการ

ฝึกงาน จัดทําคู่มือการฝึกงานวิชาชีพและให้ข้อตกลง  ในการประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา

ปัญหาด้านอื่น

  • Ø สถานการณ์การระดาบของโรคติดต่อ เช่นไวรัสโควิด-๑๙ ที่เป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ เหตุการณ์ในอนาคตได้ว่าสถานการณ์จะหมดเมื่อไรทำให้ช่วงเวลาการฝึกงานของ นักศึกษามีความคาดเคลื่อน ซึ่งส่งผล กระทบต่อการเรียนการสอนตลอดตนการจบการศึกษาของนักศึกา
  • Ø ภัยพิบัติและเหตุการณ์ความไม่สงบที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องและประชุมเพื่อหาวิธีการแก้ไขให้ทันท่วงที และประสานงานกับสถานประกอบการในเรื่องที่ต้อง แก้ไข

หมายเลขบันทึก: 682678เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2020 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2020 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท