หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง


การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ

 

 การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  คือ  การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท  โดยคำนึงถึง  ความพอประมาณ   ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ  และคุณธรรม  ประกอบการวางแผน   การตัดสินใจและการกระทำ

 เศรษฐกิจพอเพียง  มีหลักพิจารณาอยู่  ๕  ส่วน   ดังนี้

 ๑.กรอบแนวคิด  เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย  เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

 ๒.คุณลักษณะ  เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ  โดยเน้นการปฏิบัติบน  ทางสายกลางและการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

 ๓.คำนิยาม  ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย  ๓  คุณลักษณะ  พร้อม  ๆ  กัน  ดังนี้
• ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป   โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
• ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น   จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ
• การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ

๔.เงื่อนไข  การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น  ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน

๕.แนวทางปฏิบัติ  ต้องพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  ความรู้และเทคโนโลยี

หมายเลขบันทึก: 68262เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2006 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อันนี้ไม่ใช่ของใหม่ต้องอ้างอิงที่มาตามสมควร

และควรแทรกความคิดตัวเองเข้าไปด้วยครับ จึงจะมีรสชาติในการพูดคุย

ให้กลับไปอ่านเกลียวคลื่นความรู้

 จาก... สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร 2542

            จากหลักการ ทฤษฎีแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงทำให้มองภาพชัดขึ้นอีก  เกษตรกรรมแบบพอเพียง จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำในโครงการจัดการความรู้ของบุรีรัมย์
            นั่นคือในกรณีของพ่อสำเริง เย็นรัมย์ ที่สามารถพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพาภายนอก อยู่โดยไม่ต้องหวาดระแวงหนี้สินที่มี  รายจ่าย ความทุกข์ ความไม่พออยู่พอกิน
             กลายมาเป็นสามารถกำหนดชีวิต อนาคตตัวเองได้ ว่าจะทำมาหากินอย่างไร จะอยู่อย่างไร  ยึนบนลำแข้งของตนเองได้อย่างมีความสุข  มีอิสระในการใช้วิถีของตนเองด้วยการเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืช ผัก ไม้ยืนต้นให้เกื้อหนุนกัน สร้างระบบการจัดการน้ำ
             สร้างความสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติที่อยู่ร่วมกันได้ และสร้างเครือข่าย สร้างวิถีความพอเพียงที่สอดคล้องต่อการดำรงชีวิต และนำไปสู่ความมั่นคง ทั้งด้านทรัพยากร อาหาร สุขภาพ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น และการอยู่ร่วมกันในสังคมชุมชนต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท