วิธีใช้กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ



จากประสบการณ์การเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยมาอย่างโชกโชนในช่วงเวลากว่าสี่สิบปี    ผมตกผลึกว่าในสมัยก่อน สภามหาวิทยาลัยถูกใช้เป็นตรายาง  ให้ลงมติรับรองเรื่องที่ฝ่ายบริหารเสนอเข้ามา นานๆ ครั้งจึงจะไม่เห็นชอบ    เดี๋ยวนี้การใช้เป็นตรายางก็ยังคงอยู่    แต่มีวิธีใช้แบบอื่นๆ เพิ่มหรือเสริมขึ้น   

เวลานี้ กรรมการสภามหาวิทยาลัยต้องเข้าไปร่วมในกระบวนการกำกับดูแลมากขึ้น    นอกเหนือจากการเข้าประชุมสภามหาวิทยาลัยเดือนละครั้ง หรือสองเดือนครั้ง     โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นบุคคลภายนอก และมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญต่างด้านกัน    จะต้องเป็นอนุกรรมการด้านต่างๆ เช่นด้านการเงิน  ด้านการตรวจสอบ   ด้านความเสี่ยง   ด้านวิชาการ  เป็นต้น    เพื่อนำเอาความเชี่ยวชาญของกรรมการฯ มาช่วยให้คำแนะนำแก่ผู้ปฏิบัติงาน   

จึงขึ้นกับว่า ในคณะอนุกรรมการเหล่านี้ ฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยชงเรื่องทำนองไหนเข้าสู่ที่ประชุม    ฝ่ายบริหารที่อ่อนแอจะชงเรื่องงานประจำมาให้    ในขณะที่ฝ่ายบริหารที่เก่งจะชงเรื่องเชิงพัฒนา ที่มีความเสี่ยงสูง หรือตัดสินใจยาก หรือต้องการมุมมองหลายๆ มุม   

ไม่นับบางมหาวิทยาลัยฝ่ายบริหารหาทางตั้งกรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นพวกพ้อง ขอกันได้ หรือมีผลประโยชน์ร่วมกัน    ในกรณีเช่นนั้นมหาวิทยาลัยนั้นก็จะเดินปในทางเสื่อม

ผมเคยพบในมหาวิทยาลัยชั้นนำ ที่ผู้บริหารระดับคณะพยายามหาพวกตอนสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อดันพรรคพวกของตนเข้าไปเป็น   เพื่อถางทางให้ตนเองขึ้นสู่อำนาจ    โชคดีที่ในมหาวิทาลัยแบบนั้น คนในมหาวิทยาลัยรู้ทันกัน   

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ส.ค. ๖๓


  

หมายเลขบันทึก: 681738เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2020 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2020 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท