(187) ตลาดนัด KM'63 ‘อวดด้วย อวดดี พระศรีสร้างสรรค์’ (ตอนที่ 2) ฟอร์มใหม่.. สิ่งที่ได้เรียนรู้


เรื่องนี้เป็นตอนที่ 2 ต่อจากตอนแรก (186) ตลาดนัด KM'63 ‘อวดด้วย อวดดี พระศรีสร้างสรรค์’ : (ตอนที่ 1) จุดเริ่มประสบการณ์ ‘แรก’ ที่หลากหลายในช่วง COVID 19

จากกลยุทธ์การกำหนดทิศทางการพัฒนาการจัดการความรู้ในลักษณะการ ‘ขยายวง’ และ ‘ยกระดับ’ การจัดการความรู้ของโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ ปี 2564-66 ด้วยการกำหนดเกณฑ์การประกวดผลงานการจัดการความรู้ให้ซับซ้อนมากขึ้นนั้น .. ปี 2563 นี้ ‘เรา’ คณะกรรมการบริหารองค์ความรู้ (คณะกรรมการ KM) เริ่มปรับแบบฟอร์มการส่งผลงานวิชาการใหม่ ให้สะท้อนการจัดการความรู้ชัดเจนขึ้น เป็นประสบการณ์แรกของพระศรีที่ขอยกมานำเสนอในครั้งนี้ 

ประสบการณ์แรกกับ ‘แบบฟอร์มใหม่’ ที่แสนจะคับข้องใจ!

มากกว่า 10 ปีแล้วที่ชาวพระศรีพัฒนางานวิชาการโดยใช้แบบฟอร์ม CQI (Continuous Quality Improvement) 7 ขั้นตอน ประกอบด้วยหัวข้อ (1) ค้นหาการด้อยคุณภาพ หรือ Quality Gap Statement แบบใหม่ (2) หลักการและเหตุผลของการปรับปรุงพัฒนา (3) วัตถุประสงค์ (4) การวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาสาเหตุ (5) กระบวนการหาทางเลือกและดำเนินการปรับปรุงพัฒนา (6) การประเมินผล (7) สรุปการเรียนรู้  โดยโรงพยาบาลผูกโยงผลงานการพัฒนา CQI เข้ากับการประเมินผลการปฏิบัติระดับหน่วยงาน และมีการประเมินทุก 6 เดือน

เมื่อเจ้าของผลงานได้รับแจ้งให้เปลี่ยนแบบฟอร์มเพื่อส่งคัดเลือกใหม่ จึงรู้สึกคับข้องใจ อีกทั้งยังต้องรอพิจารณาว่าจะได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอหรือไม่ จึงรู้สึกคับข้องใจมากขึ้น (ที่ผ่านมาผลงานทุกเรื่องจะได้นำเสนอในตลาดนัด KM โดยจัดกลุ่มให้นำเสนอตามความเหมาะสม)

แบบฟอร์ม CQI ของพระศรีที่ดีเลิศ .. ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้ว เช่นกัน

แบบฟอร์ม CQI ที่พระศรีใช้อยู่นั้นมีข้อดีที่โดดเด่น คือ ช่วยให้ชาวพระศรีพัฒนางานในลักษณะ CQI ได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ขุดคุ้ยปัญหาให้ถึงรากเหง้าอย่างเป็นเหตุเป็นผลกันเลยทีเดียว ใช้เป็นหลักยึดเกาะฝึกเดินสำหรับผู้เริ่มต้นได้อย่างดี แต่ก็มีข้อด้อยเช่นกัน อย่างเช่น (1) การยึดติดว่าสิ่งที่มีอยู่ดีแล้ว (2) ไม่ครอบคลุมผลงานวิชาการอื่นๆ เช่น งานวิจัย หรืองานพัฒนาคุณภาพแบบเข้มข้น ฯลฯ  (3) กรณีต้องการเผยแพร่นอกหน่วยงาน ที่มีแบบฟอร์มแตกต่างไป จะมีความยากลำบากในการนำไปเขียนลงแบบฟอร์มนั้นๆ ดิฉันจะยกตัวอย่างที่ได้จากการประเมินผลงานเพื่อนำเสนอในการประชุมวิชาการตลาดนัด KM ปี 63 นี้นะคะ

แบบฟอร์มใหม่ – สะท้อนกระบวนการจัดการความรู้และการเรียนรู้ชัดเจนกว่า

แบบฟอร์มใหม่ มีหัวข้อ กิจกรรมการพัฒนา ซึ่งเปรียบเทียบได้กับข้อ (5) กระบวนการหาทางเลือกและดำเนินการปรับปรุงพัฒนา ในแบบฟอร์มเดิม โดยเพิ่ม แนวคิดการออกแบบกิจกรรมการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลง 

การยกเนื้อหาจากแบบฟอร์มเดิมมาใส่ลงแบบฟอร์มใหม่จึงขาดประเด็นนี้ไป ซึ่งไม่มีผลงานเรื่องใดเขียนประเด็นนี้เพิ่ม ทำให้ต้องส่งกลับให้เขียนเพิ่ม และช่วย ‘พาทำ’ สำหรับเจ้าของผลงานบางคนที่ยินดีเข้า workshop อีกด้วย

อีกหัวข้อที่แตกต่างไป ได้แก่ (6) การประเมินผล ส่วนเพิ่มเติม คือ ในแบบฟอร์มใหม่ใช้คำว่าประเมินผลการเปลี่ยนแปลง และให้วิเคราะห์ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้แก้ปัญหาที่เป็นจุดเริ่มต้นได้เพียงใด นับเป็นการทวนซ้ำย้อนกลับไปตรวจสอบว่าได้แก้ปัญหาที่รากเหง้าหรือไม่ .. แต่เจ้าของผลงานมักเขียนออกมาไม่ได้

หัวข้อสุดท้าย (7) สรุปการเรียนรู้ ในแบบฟอร์มเดิม ในแบบฟอร์มใหม่ใช้คำว่า บทเรียนที่ได้รับ โดยให้เขียนถึง 1) ปัญหาหรือความท้าทายที่เกิดขึ้นในระหว่างดําเนินการโครงการ และวิธีการจัดการกับความท้าทายเหล่านั้น 2) ข้อแนะนําในสิ่งที่ควรปฏิบัติ และเหตุผลซึ่งชี้ให้เห็นความสําคัญของเรื่องนั้น 3) สิ่งที่จะทําแตกต่างไปจากเดิมในคราวหน้า .. เจ้าของผลงานมักเขียนออกมาไม่ได้เช่นกัน ผลงานเกือนทั้งหมดมากกว่า 30 เรื่องส่งมาโดยใช้แบบฟอร์มเดิม ปรับเปลี่ยนบางหัวข้อบ้าง แต่ไม่มีหัวข้อ บทเรียนที่ได้รับ

สำหรับกระบวนการพัฒนา ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการพัฒนา (Process) และผลผลิต (Output) โดยทั้งสามส่วนมีส่วนประกอบหลายอย่าง

ปัญหาจากการใช้แบบฟอร์มใหม่ในปีนี้ ดิฉันได้นำเสนอปัญหานี้ในวันประชุมวิชาการ ตลาดนัด KM 63 เพื่อชี้แจงเหตุผลของการนำแบบฟอร์มใหม่มาใช้ว่า

          แนวคิดการออกแบบกิจกรรมการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลง เป็น ‘องค์ความรู้เดิม’ เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยนำเข้า (Input) ที่นำมาใช้ในกระบวนการพัฒนา (Process) ของผลงานเรื่องนั้น ใช้ตอบคำถามว่าใช้องค์ความรู้ใดในการพัฒนา .. ช่วยให้เจ้าของผลงานได้ทบทวนแนวคิด องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรมการพัฒนา และการทบทวนนี้ช่วยให้รับทราบว่ามีการนำแนวคิดองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้อย่างไร ได้ผลอย่างไร สามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างเหมาะสม ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด

          ในเบื้องต้น ผลการเปลี่ยนแปลงที่วิเคราะห์ได้ เป็นผลผลิต (Output) ได้องค์ความรู้ใหม่ ที่เกิดจากการใช้องค์ความรู้เดิมแก้ปัญหาใหม่ในสถานการณ์ใหม่  

          สำหรับหัวข้อ บทเรียนที่ได้รับ นั้นคือสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกระบวนการพัฒนาแต่ละครั้ง ผู้ที่อยู่ในกระบวนการพัฒนาเท่านั้นจึงเขียนหัวข้อนี้ได้ดี ว่าปัญหาหรือความท้าทายที่เกิดขึ้นในระหว่างดําเนินการโครงการนั้นมีอะไรบ้าง จัดการกับปัญหาเหล่านั้นอย่างไร และสามารถให้ข้อแนะนําสิ่งที่ควรปฏิบัติพร้อมเหตุผลกรณีต้องการนำผลงานไปใช้อีกด้วย .. สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในแบบฟอร์มใหม่ จึงเป็นการสะท้อนกระบวนการจัดการความรู้และการเรียนรู้อย่างชัดเจน

ผู้กระตือรือร้นกับการเรียนรู้ใหม่.. ในกิจกรรม ‘พาทำ’

น้องๆ (เจ้าของผลงานเป็นน้องของดิฉันทั้งหมดนะคะ) ที่มาเข้า workshop ฝึกเขียนผลงานด้วย ส่วนใหญ่จะเดินเข้ามาด้วยความรู้สึกคับข้องใจ อธิบายหลักการให้ฟังแล้วรู้สึกดีขึ้นมาเล็กน้อย แต่ยังดูกังวลมาก

การกำหนด outline ของเรื่องจะช่วยให้เข้าใจว่าต้องกลับไป review แนวคิดการออกแบบกิจกรรมการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลง (องค์ความรู้เดิม) ให้ได้ก่อน จะช่วยให้ทราบว่าจะนำเนื้อหามาเขียนอย่างไร

อีกปัญหาหนึ่งที่พบในทุกผลงานคือ เขียนเป็นภาษาเขียนไม่ได้ จึงให้เริ่มโดยเขียนเป็นภาษาพูดหรือภาษาอะไรก็ได้ที่เข้าใจ ไม่ทักท้วง เพื่อให้ความคิดลื่นไหลไม่สะดุด หลังจากนั้นจึงช่วยกันเปลี่ยนเป็นภาษาเขียน .. น้องๆ จะเริ่มเข้าใจ ได้รู้ มีความพึงพอใจ ภาคภูมิใจ และ มีอาการ ‘ติดใจ’ อยากทำอีก เพราะ ‘ไม่ยากอย่างที่คิด’ ดิฉันแนะนำให้ฝึกอ่าน อ่านให้มากขึ้น เรียนรู้จากโลกภายนอกมากขึ้น เป็นการสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง อยากทราบความรู้สึกนี้ควรไปสัมภาษณ์ใคร ... ยกมือขึ้นค่ะ

ใครที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องแบบนี้อาจรู้สึกรำคาญ หากทนอ่านมาถึงท้ายเรื่องได้ ก็ถือว่าเป็นคนใจกว้างพอสมควร ดิฉันขออภัยที่ต้องเขียนลงลึกถึง Tacit knowledge เล็กๆ นี้เพราะอยู่ในวัย ‘สร้างคน’ เพื่อให้คนไป ‘สร้างผลงาน’ ต่ออีกทอดหนึ่งค่ะ  

หมายเลขบันทึก: 681624เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2020 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2020 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เป็นการพัฒนาที่มีความมุ่งมั่นเพื่อการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีค่ะ

อยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จัดให้มีการอบรมเรื่องกระบวนการการทำCQIค่ะ เพื่อให้น้องใหม่ หรือเก่าก็ได้ มีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอน ในแต่ละหัวข้อมากขึ้นค่ะ

อยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จัดให้มีการอบรมเรื่องกระบวนการการทำCQIค่ะ เพื่อให้น้องใหม่ หรือเก่าก็ได้ มีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอน ในแต่ละหัวข้อมากขึ้นค่ะ

บรรยากาศดูคึกคักและมีอะไรใหม่ๆอยู่เสมอนะคะ ดร.ตู่ เป็นการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของทุกคนนะคะ

เป็นการสะท้อนกระบวนการจัดการความรู้และการเรียนรู้เป็นขั้นตอนได้อย่างชัดเจน แสดงให้เห็นถึงมีความต้องการพัฒนายิิ่งขึ้น

การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและการให้โอกาสน้องใหม่ได้เรียนรู้ มีพี่ๆช่วยแนะนำ ทำให้ความรู้ได้ถ่ายทอดออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการเรียนรู้ตลอดเวลา

ประทับใจมากค่ะ เห็นถึงความตั้งใจที่น้องๆได้มีโอกาศในการเรียนรู้ ร่วมพัฒนาไปพร้อมๆกัน ความมุ่งมั่นของทีมงานที่เข้มแข็งร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาต้นกล้าให้เป็นต้นไม้ใหญ่ในอนาคตที่เป็นร่มใหญ่ร่วมพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนค่ะ

ประทับใจในรูปแบบการจัดงานมากค่า อบอุ่น อยากจะให้คณะกรรมการ KM สนับสนุนการทำ CQI ว่าไม่ใช่เรื่องยาก เป็นเรื่องง่ายที่เราใช้ได้บ่อย เมื่อทำงานหน้างาน คือ plan do check act บูรณาการให้เป็นส่วนหนึ่งของ HA ถ้าเป็นไปได้ อยากให้มีการจัดอบรม ทบทวน 4 กระบวนของ CQI ในรูปของการบูรณาการเจ้ากับ HA/R2R ค่า

ประทับใจค่ะเป็นงายท่เปิดโอกาสให้นักวิชาการรุ่นใหม่ได่เรียนรู้งายในรูปแบบ KM ไปในตัวคร้า และได้เรียนรู้ว่าไม่ใช่เรื่องยากคร้า

อ่านแล้วเห็นภาพการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และเป็นบรรยากาศที่คนทำงานได้สนุกกับการเรียนรู้ ชื่นชมในความมุ่งมั่นและตั้งใจของทีมงานKM ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ

ชื่นชมบรรยากาศในงาน มีความครึกครื้น เป็นอีกคนที่ส่งผลงานเข้าร่วม แบบฟอร์มใหม่มันทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการเขียนที่ไม่ซำ้แบบเดิมๆ เห็นด้วยในข้อที่6และ7ว่าเขียนออกมาได้ยังไม่ดี แต่เมื่ออ่านเว็บนี่ทำให้เราเข้าใจเหุตผลและเห็นข้อพัฒนางานคะ่

ชื่นชมบรรยากาศในงาน มีความครึกครื้น เป็นอีกคนที่ส่งผลงานเข้าร่วม แบบฟอร์มใหม่มันทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการเขียนที่ไม่ซำ้แบบเดิมๆ เห็นด้วยในข้อที่6และ7ว่าเขียนออกมาได้ยังไม่ดี แต่เมื่ออ่านเว็บนี่ทำให้เราเข้าใจเหุตผลและเห็นข้อพัฒนางานคะ่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท