ปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน(5)


เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ "ต้องสร้างคนก่อนสร้างงาน"

ปัจจัย เงื่อนไขการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน

             1) เงื่อนไขที่ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย  

1.1  ผู้บริหารและกระบวนการบริหาร

                        -          ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

                        -         มีการบริหารงานโดยให้บุคลากรทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ตามความถนัด ความสามารถ ความสนใจของแต่ละบุคคล  เมื่องานสำเร็จบุคลากรจะเกิดความภูมิใจที่ได้มีส่วนช่วยให้งานนั้นสำเร็จ เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกัน (Sense of belonging)

1.2  ครู

-          ครูทุกคนได้รับการอบรม ปลูกฝังให้เกิดความตระหนัก (Awareness)       มีความมุ่งมั่นพยายาม (Attempt) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และช่วยกันผลักดันส่งเสริมให้การปฏิรูปการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ (Achievement)

 

-          ในการดำเนินงานสนับสนุนส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานโรงเรียนเพื่อไปสู่เป้าหมายความสำเร็จนั้น โรงเรียนได้ยึดหลัก สร้างความเข้าใจ ให้ความสำคัญ และผลักดันคุณภาพ ของบุคลากรทุกๆคน  โดยได้ส่งเสริมให้ครูแต่ละสายชั้น          มีโอกาสรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันในลักษณะ กลุ่มเอื้ออาทร หรือ กลุ่ม STAR  (Small Team Activity Relationship) ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่ม STAR ทั้งสิ้นจำนวน 33 กลุ่ม

 1.3  ผู้เรียน

-         ผู้เรียนได้รับการดูแลเอาใจใส่และได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพ โดยโรงเรียนจัดให้มีการประเมินพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กในทุกๆวิชา เป็นรายบุคคลและแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อจะได้ช่วยกันปรับปรุงแก้ไขหรือส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้สูงขึ้นต่อไป

 

2) ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  มีดังต่อไปนี้

                 2.1 ความร่วมมือของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม

-  ในการปฏิรูปการเรียนรู้ พ่อแม่ ผู้ปกครองนับว่ามีบทบาทสำคัญที่จะช่วยผลักดันส่งเสริมให้บุตรหลานได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนได้มีการติดต่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูล ข่าวสารความรู้แก่พ่อแม่     ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดประชุมชี้แจง  การส่งจดหมายข่าว เป็นต้น

 -  โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองเครือข่าย จำนวน 234  คน เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในการพัฒนาผู้เรียนเพื่อให้บุตรหลานได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ 

2.2  การจัดอาคารสถานที่ สิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้

-   โรงเรียนได้จัดสภาพแวดล้อมทั้งในโรงเรียน และนอกโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน เช่น จัดบริการห้องสมุด  ห้องสมุดเคลื่อนที่ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ห้องคอมพิวเตอร์ ศูนย์อินเตอร์เน็ต  ศูนย์การเรียนรู้ตามธรรมชาติ สนองแนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นต้น

       -  ใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน เช่น อุทยาน-            ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสาม
            พระยา
  ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา  พิพิธภัณฑ์เรือไทย ฯลฯ 

                2.3  การใช้ เทคโนโลยีการสื่อสาร สารสนเทศ (ICT) และสิ่งอำนวยความสะดวก      

-  โรงเรียนได้นำสื่อเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการและการพัฒนา
การเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจัดบริการอำนวยความสะดวกแก่ครู   ผู้สอนและนักเรียนในด้านการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต  ตลอดจน  จัดหาเครื่องฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projecter) และเครื่อง Visualizer บริการอย่างเพียงพอ

 2.4 การปฏิรูปการใช้ทรัพยากรเพื่อการศึกษา

 -  ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีความสำคัญมากคือ "เงิน" ซึ่งโรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวจากรัฐบาล สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 40 โรงเรียนจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้จ่ายเงินทุกบาททุสตางค์ต้องคุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างแท้จริงและได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเรียน  การสอนในอัตราส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับการสนับสนุนด้านอื่นๆ                    

- จัดให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานอื่นๆ เช่นให้
ความอนุเคราะห์แก่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว หรือ สภาวัฒนธรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาใช้สถานที่หอประชุมของโรงเรียน จัดประชุมคณะกรรมการอยู่เป็นประจำ เป็นต้น และผลสุดท้ายโรงเรียนจะได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ เป็นอย่างดี 

            3. ผลกระทบของการปฏิรูปต่อส่วนต่างๆทั้งในและนอกโรงเรียน     สรุปโดยสังเขปได้ดังนี้

 
3.1  ผลต่อผู้เรียน 

-          ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับความถนัดความสนใจและความสามารถของตนเองได้เรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้ มีความสุขในการเรียนรู้และรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต

 
3.2  ผลต่อครู

-          ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ตระนักถึงความสำคัญของผู้เรียนและได้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนโดยเน้นผู้เรียนสำคัญที่สุด

 
3.3  ผลต่อผู้บริหาร

-          ผู้บริหารได้พัฒนาโรงเรียนให้มีมาตรฐานคุณภาพ เป็นที่ยอมรับศรัทธาของผู้ปกครองและชุมชน

 
3.4  ผลต่อพ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชนและสังคม

-          พ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชนรับรู้เข้าใจบทบาทในการสนับสนุน   ส่งเสริม และให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้เต็มตามศักยภาพ

 
3.5  ผลต่อคณะกรรมการสถานศึกษา

-         คณะกรรมการสถานศึกษาได้มีส่วนร่วมเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการศึกษาในทุกๆด้าน

 
3.6  ผลต่อต้นสังกัด

-         สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ได้มีผู้บริหารโรงเรียนที่เป็นต้นแบบในการปฏิรูปการศึกษา สามารถเป็นแกนนำและสร้างเครือข่าย ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนได้


3.7  ผลต่อการปฏิรูปการศึกษาโดยรวม

-         สังคมและประเทศชาติได้ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพมีศักยภาพในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติให้เจริญมั่นคงสืบไป 

ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ
18  ธ.ค. 2549

หมายเลขบันทึก: 68039เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท