๑. กฎหมายที่เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล


กฎหมายที่เกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๓๖

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๔๓

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๔๕

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๔๖

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๐

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๘) พ.ศ.๒๕๕๓

รวบรวมไว้ เพราะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้มี จำนวน ๘ ฉบับ ซึ่งใช้ในการทำงานของภาครัฐ

ที่มา : http://www.ops.moc.go.th/more_news.php?cid=433

ประกอบด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ มี ๑๐ ยุทธศาสตร์ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์

ยุทธศาสตร์ที่ 2  การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

ยุทธศาสตร์ที่ 3  การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 5  การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 6  การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทย

ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์

ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 9  การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 10  ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา

และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๐ ก หน้า ๑ ลงวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐

ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลถูกแบ่งออกในด้านต่าง ๆ ดังนี้

๑. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างและอัตรากำลัง

๒. ด้านการสร้างและพัฒนาหลักเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับ

๓. ด้านการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคล

๔. ด้านการพัฒนาบุคลากร

๕. ด้านการบริการวิชาการและการบริหารจัดการความรู้

๖. ด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูล

๗. ด้านการจัดทำแผนยุทธศาสตร์

๘. ด้านการประสานความร่วมมือทางวิชาการ

ตามมาตรา ๖๕ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ กำหนดให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว โดยการจัดทำ การกำหนดเป้าหมาย ต้องมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง โดยยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ประกอบด้วย

๑. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

๒. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

๓. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์

๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

๕. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

๖. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

ซึ่งกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้น เกี่ยวกับเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรบุคคลในทุกระดับของประเทศไทย จึงขอเก็บรวบรวมไว้ในบันทึกนี้ เพื่อสะดวกในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน...ทำให้คนทำงานด้านงานพัฒนาบุคคลทราบว่า กฎหมายดังกล่าวข้างต้นเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านบุคคล จำเป็นต้องมีการพัฒนาทรัพยากรบุคคลภาครัฐ...และทราบถึงการทำงานที่เป็นระบบนับจากนโยบายภาครัฐข้างต้น เพื่อลงสู่การนำไปปฏิบัติต่อส่วนราชการได้...กฎหมายข้างต้น เปรียบเสมือนเข็มทิศในการนำทางเพื่อให้คนในประเทศไทยได้เดินและปฏิบัติไปสู่เป้าหมายหรือทิศทางที่ประเทศต้องการ

*********************************************************************

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาในบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓



หมายเลขบันทึก: 679101เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2020 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2020 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท