ยุทธศาสตร์ของทหารไทยในเขตชายแดนภาคใต้: รัฐที่มีการสอดแนม


เทคนิคการสอดแนมใหม่ๆที่ซับซ้อนตั้งสัญญาณเตือนภัยกับพวกมาเลย์

ทหารไทยดูเหมือนจะเปลี่ยนยุทธวิธี ที่ใช้กันมา 2 ทศวรรษ ที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตคนประมาณ 7,000 คน โดยที่ส่วนใหญ่เป็นพลเรือน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่รับเอาเทคนิคใหม่ๆที่ก้าวร้าว โดยการสอดแนมประชากร และมองพวกก่อกบฏว่าเป็นอาชญากรมากกว่าพวกแยกดินแดน

เกือบๆ 2 ปี ทหารได้ต่อรองกับองค์กรร่วม ที่ชื่อว่ามาราปัตตานี โดยมีความหมายว่าเป็นองค์กรรวมๆของพวกก่อการกบฎในภาคใต้ การพูดคุยหยุดลงเมื่อปลายปีที่แล้ว เพราะมีการพูดคุยกับบีอาร์เอ็นที่เป็นผู้ก่อการหลัก

ถึงแม้ว่าบีอาร์เอ็นจะทำข้อตกลงกับรัฐบาลไทย และสัญญาว่าจะหยุดทุกกิจกรรมระหว่างการระบาดของโควิด 19 แต่ทหารยังคงจัดการสิ่งที่เป็นเป้าหมายโดยจับผู้ก่อการได้ 3 คนในหมู่บ้าน Pakaruesong อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ในเดือนพฤษภาคม

การต่อต้านการก่อการร้ายรับคำสั่งมาจากภาคที่ 4 ที่อยู่ในนครศรีธรรมราช ภาคที่ 4 จะมีฐานทหารเป็นร้อยๆฐานในภาคใต้ และมีฐานที่มั่นชั่วคราวในเขตชายแดน ที่มีกำลังทหารเป็น 100,000 คน และบุคลากรคล้ายทหารที่เตรียมพร้อมไว้

ผบ.ทบ. ที่อยู่ในกรุงเทพฯจะส่งกองทหาร และบุคลากรพิเศษไปฝึกให้ทหารในภาค 4, ทดสอบอุปกรณ์ใหม่ๆ, และพัฒนายุทธวิธีที่จะใช้ในชายแดน

โดยประเพณีแล้ว ทหารไทยมักจะใช้อำนาจอ่อน  โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกำลังเริ่มต้น หัวใจและวิญญาณได้การยอมรับอำนาจทหาร เจ้าหน้าที่ระดับกลาง และมีความรู้ทางประวัติศาสตร์จะเห็นอกเห็นใจสาเหตุของผู้ก่อการ และมีการต่อรองระหว่างกันมากกว่าการฆ่า เป็นทางเลือก

แต่ถึงกระนั้นมันก็ยังคงเป็นปัญหาหนักใจกับการทหาร เพราะทหารมีทัศนะที่ไม่ประนีประนอมกับพวกก่อการกบฏ กลุ่มทหารจะมองพวกก่อการนี้ว่าเป็นเพียงอาชญากรและผู้แยกดินแดงที่ต้องเอาชนะด้วยกำลังเท่านั้น พวกเขาเชื่อว่าผู้ก่อการเพียงพันหรือสองพันคน และไม่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชน ดังนั้นจึงสามารถฆ่าด้วยกำลังอย่างโหดร้ายได้

หนึ่งในข้อจุดอ่อนของทหารคือการขาดความสามารถในการรวบรวมการหาข่าวกรองของมนุษย์ (HUMINT) จะไม่มีเครือข่ายความลับที่เป็นทางการแสดงออกได้ ทหารไม่สามารถแทรกซึมกลุ่มผู้ก่อการตลอดประวัติศาสตร์ของการเกิดขึ้นได้

ดังนั้นจึงเกิดมีการพัฒนากับเทคโนโลยีการสืบเสาะกับ CCTV, การตรวจร่างกายเพื่อยืนยันตัวตน, และปัญญาประดิษฐ์ ที่สามารถจับคู่ และใช้การตรวจร่างกายเพื่อยืนยันตัวตนกับระบบ CCTV  ตอนนี้กระจายไปทั่วชายแดนภาคใต้

การจัดการกับโทรศัพท์มือถือในชายแดนภาคใต้ตอนนี้ต้องการให้มีการใช้เบอร์เฉพาะ ในเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว กอ.รมน.  ต้องการให้โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องมีการลงทะเบียนซิมโดยผ่านระบบจำหน้าตาของผู่ใช้ พันเอก Watcharakorn Onngon ที่เป็นโฆษกของภาคที่ 4 ปกป้องความพยายามในการลงทะเบียนซิม โดยการกล่าวว่าระบบการบ่งชี้หน้าตามีความจำเป็น เพื่อบ่งชี้ผู้ก่อการในการวางระเบิดโดยใช้โทรศัพท์มือถือ

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้เก็บรวบรวมตัวอย่างดีเอ็นเอให้จับคู่กับระบบการตรวจร่างกายเพื่อยืนยันตัวตนกับประชากรในชายแดนภาคใต้ ข้อมูลที่ได้จะใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายเพื่อช่วยหาผู้กระทำผิดในสถานการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นที่นั่น ดีเอ็นเอจะถูกเก็บจากผู้ต้องสงสัยในที่ดูแลเด็กๆ, ด่าน, หรือระหว่างการค้นหาผู้ต้องสงสัยที่บ้าน, หอพัก, และโรงเรียนอิสลาม จากรายงานบ่งชี้ว่า “เขตสีแดง” ที่รัฐเชื่อว่ามีผู้เห็นต่างดำรงอยู่ จะเป็นเป้าหมายในการเก็บดีเอ็นเอ

ตามรายงานจากนักกิจกรรมที่ทำงานในพื้นที่ ดีเอ็นเอของรัฐบาล และการยืนยันตัวตนจากการตรวจร่างกายเมื่อโทรศัพท์ต่างทะเบียน กำลังก่อให้เกิดความกลัวในหมู่ประชากรชาวมุสลิมที่เป็นคนในพื้นที่ สุดท้ายแล้วจะเกิดความไม่พอใจหรือคัดเคืองกับทหาร และสิ่งนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเมื่อทำการทดสอบโควิด 19 ในหมู่ประชากรชาวมุสลิมมาเลย์ด้วย การเก็บข้อมูลดีเอ็นเอโดยการบังคับในหมู่มาเลย์มุสลิมเคยถูกวิจารณ์อย่างหนักในปี 22015 โดยคณะกรรมการสหประชาชาติว่าการปฏิบัตินำไปสู่การเหมารวมทางชาติพันธุ์

การรวมกันของการตรวจร่างกายเพื่อยืนยันตัวตนและระบบ CCTV ตลอดในจังหวัดชายแดนใต้ ทำให้ทหารมีเครื่องมือสอดแนมอย่างมีประสิทธิภาพ ปัญญาประดิษฐ์สามารถใช้เพื่อการแยกผู้ก่อการที่ปะปนกับประชากรในภูมิภาค, ด่าน, และการค้นหา ระบบบูรณาการที่มีอยู่นี้สามารถช่วยทหารในการเอาชนะการสืบหาหรือค้นหาข่าวกรอง และทำให้ทหารมีการสอดส่องรวมทั้งได้ทุกอย่างตามที่ต้องการ

หนึ่งในผลประโยชน์ที่เห็นได้เด่นชัดคือการถอนตัวของทหารจากเมือง หรือเขตอันตราย เพราะCCTV เป็นพื้นฐานในการสอดแนม มีรายงานว่ามีกล้องสอดแนมจำนวน 8,200 ตัว ที่ควบคุมโดยศูนย์ควบคุม CCTV ในเทศบาลปัตตานี

เมื่อการสอดแนมด้วยการใช้การตรวจร่างกายเพื่อยืนยันตัวตนกลายมาเป็นพื้นหลักในการสอดแนมแล้ว การพูดคุยเพื่อหาสันติภาพอาจหยุดลง ในต้นเดือนพฤษภาคม บีอาร์เอ็นตำหนิการกระทำของรัฐบาลในการหาเสาะหาดีเอ็นเอ พร้อมทั้งสังหารผู้ก่อการในระหว่างเดือนรอมฎอน

ระบบการสอดแนมอันใหม่ล่าสุดทำให้ความสามารถของกองทัพในการค้นหาและกดทับกิจกรรมผู้ต่อต้านลงได้ ตอนนี้มีการยืนยันว่าผู้ก่อการเป็นอาชญากร แทนที่จะเป็นผู้แยกดินแดนในสายตาของรัฐบาล อย่างไรก็ตามสิ่งนี้อาจนำมาซึ่งความหมดศรัทธากับวิธีการเก็บข้อมูลของรัฐบาลเลยก็ได้

แปลและเรียบเรียงจาก

Murray Hunter. Thai Military Strategy in the Deep South: Surveillance State.

https://www.asiasentinel.com/p/thai-military-strategy-in-the-deep

หมายเลขบันทึก: 679080เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2020 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2020 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท