การใส่หน้ากากหรือไม่ใส่หน้ากาก: องค์การอนามัยโลกกลับลำ ในขณะที่สหรัฐ และสิงคโปร์ยกเลิกเรื่องคำแนะนำในเรื่องโรคระบาดและบอกพลเมืองว่าให้ใช้หน้ากากอนามัย


เมื่อโลกถูกจับกุมด้วยการระบาดของโควิด 19 ที่ได้ทำให้คนกว่าครึ่งล้านป่วย และคร่าชีวิตคนกว่า 58,000 คน แต่ประเด็นที่แยกวงการแพทย์ออกเป็นสองส่วนได้แก่ ทุกๆคนควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสหรือไม่?

ตอนเริ่มต้น องค์การอนามัยโลกบอกว่าไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากาก หน้ากากควรใช้กับผู้ป่วย, บุคลากรทางสาธารณสุขและแพทย์เท่านั้น ไม่จำเป็นที่ประชาชนธรรมดาควรใส่พวกมัน

แนวทางดังกล่าวถูกนำมาใช้ในประเทศ เช่น สหรัฐ, อังกฤษ, ส่วนใหญ่ของยุโรป, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย, แอฟริกาใต้, และสิงคโปร์ พวกเขาให้หมั่นล้างมือและทำการออกห่างทางสังคม โดยห่างผู้คนประมาณ 1 เมตรในที่ชุมชน และให้หน้ากากกับบุคลากรทางแพทย์

ดร. Mike Ryan ที่เป็นผู้อำนวยการบริหารในส่วนของภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพของ WHO กล่าวในวันจันทร์ว่า“ไม่มีความจำเป็นที่ให้มวลชนสวนหน้ากาก”

ทั้งหมดเปลี่ยนแปลงในอาทิตย์นี้ ในวันศุกร์ ทั้งสหรัฐและสิงคโปร์เปลี่ยนคำแนะนำให้พลเมืองสวมหน้ากากเมื่ออกจากบ้าน องค์การอนามัยโลกเปลี่ยนความคิด ด้วยคำพูดของ Ryan ที่ว่า “เราเห็นว่าในสถานการณ์ต่างๆที่การใช้หน้ากาก ไม่ว่าจะเป็นผ้าหรือทำที่บ้าน ในที่ชุมชนอาจช่วยในการรับมือกับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

การเปลี่ยนแปลงมาจากหลักฐานที่เพิ่มมากขึ้นว่าคนที่ติดโคโรนาไวรัสจะไม่มีอาการ และสามารถทำให้คนอื่นๆเจ็บป่วยได้

ประธานาธิบดี Donald Trump กล่าวว่า ชาวอเมริกันควรจะใส่หน้ากากที่ไม่ใช่ใช้ในทางการแพทย์ เมื่อพวกเขาออกไปนอกบ้าน สหรัฐมีคนติดเชื้อมากกว่า 245,000 และตายอีก 6,000 ในวันศุกร์

Trump กล่าวว่าการสวนหน้ากากคือทางเลือก และเขาจะไม่ใส่มัน “ฉันไม่คิดว่า ฉันกำลังจะสวมมัน การสวมหน้ากาก ตอนที่ฉันทักทายประธานาธิบดี, นายกฯ, เผด็จการ, ราชา, ราชินีน่ะเหรอ ฉันไม่จำเป็นต้องใช้มัน”

คำแนะนำอันใหม่นำเสนอการเปลี่ยนแปลง ที่มีการพิจารณาในเดือนกุมภาพันธ์ ศัลยแพทย์ชื่อ Jerome Adams พิมพ์ในทวิตเตอร์ว่า “จงฟัง จงอย่าซื้อหน้ากาก หน้ากากไม่มีประสิทธิภาพในการกั้นโรคติดต่อ #โคโรนาไวรัส แต่หากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพไม่มีหน้ากากในการดูแลผู้ป่วย ควรจะให้หน้ากากแก่ผู้ป่วยก่อน”

สิงคโปร์ ซึ่งมีความแน่แน่ในการบอกกับพลเมืองว่าห้ามใส่หน้ากากหากไม่ป่วย ก็มีการเปลี่ยนแปลง เพราะผู้ติดเชื้อมีประมาณ 1,000 คน และมีคนตาย 6 คนในวันเสาร์ตอนเช้า และจะมีการบริจาคหน้ากากที่นำมาใช้ใหม่ในบ้านทุกบ้านตั้งแต่วันอาทิตย์

ด้วยการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อโควิด 19 ที่ไม่ได้เกิดจากการติดต่อกับผู้ป่วยก่อนหน้า และไม่รู้ว่าพวกเขาติดได้อย่างไร และยังมีหลักฐานที่เพิ่มขึ้นว่าคนติดเชื้อจะไม่แสดงอาการอะไรออกมา นายกฯ ลี เซียน ลุง ประกาศในวันศุกร์ว่า รัฐบาลจะไม่ห้ามการใช้หน้ากากอีกต่อไป

บทเรียนจากฮ่องกงและที่อื่นๆ

เหตุผลหนึ่งสำหรับการเปลี่ยนแปลงคือโควิด 19 ทำให้ประเทศอย่างอิตาลี และสเปน รวมทั้งที่อื่นๆด้วยมีการติดเชื้อเป็นจำนวนมาก แต่ผู้เชี่ยวชาญสังเกตว่าชุมชนที่ใช้หน้ากากมีระดับผู้ติดเชื้อต่ำกว่าที่อื่นๆ

ในฮ่องกง, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, ประเทศไทย, และประเทศเวียดนาม  การสวมหน้ากากเมื่อออกไปข้างนอกส่วนใหญ่ได้รับการยอมรับ แต่หากไปโดยไม่มีหน้ากากจะถูกมองอย่างแปลกๆ หรือไม่ก็สั่งให้ไปใส่มา ในยุโรป สาธารณรัฐเช็ก และสโลวะเกีย ต่อต้านความนิยมของยุโรป โดยการกระตุ้นให้ทุกๆคนสวมหน้ากาก

ศาสตราจารย์ David Hui Shu-cheong ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อกล่าวว่า “การใช้หน้ากาก, การถอยห่างทางสังคม, และการล้างมือที่มีการฆ่าเชื้อ ถูกนำมาใช้เพื่อนำมากันโควิด 19”

การสวมใส่หน้ากากเป็นสิ่งที่ติดตัวพวกฮ่องกงราวกับมีจิตสำนึกร่วม เพราะเกิดการระบาดของโรคซาร์เมื่อปี 2003 ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่านิสัยอันนี้ช่วยคน 74 ล้านคนให้มีผู้ติดเชื้อโควิดแค่ 845 และมีคนตาย 4 คนในวันศุกร์

ฮ่องกงรับมือกับการระบาดครั้งแรกด้วยการให้ผู้ติดเชื้อแบนราบในขณะที่ที่อื่นๆมีการติดเชื้อในระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่าฮ่องกงใกล้ชิดกับประเทศจีน ที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อก่อนหน้า และสถานภาพของมันคือเป็นฮับการขนระดับชาติ

ในยุโรป สาธารณรัฐเช็ก เป็นประเทศแรกที่ให้สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ และพูดว่ามันช่วยในการคุมคนติดโควิด 19 ประเทศที่มีประชากรเพียง 10.6 ล้านมีผู้ติดเชื้อ 3,237 คน และมีคนตาย 31 คน เมื่อลองเปรียบเทียบกับ มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 115,000 คน และตายเกือบ 14,000 คนในอิตาลี และกับมีผู้ติดเชื้อ 110,000 คน และมีคนตายถึง 10,000 คนในสเปน

ตั้งแต่กลางมีนาคม เช็กทุกๆคนจะต้องสวมใส่หน้ากาก โดยมากเป็นหน้ากากผ้าที่ทำจากบ้าน สโลวะเกียผลิตหน้ากากในเชิงบังคับ ในวันจันทร์ ออสเตรีย จัดให้มีการขายหน้ากากอนามัยในซุเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งนายกฯ Sebastian Kurz กล่าวว่า “ฉันตระหนักรู้อย่างเต็มอกว่าหน้ากากเป็นสิ่งที่แปลกในวัฒนธรรมของเรา สิ่งนี้ต้องการการปรับตัวที่ยิ่งใหญ่”

การรีวิวคำแนะนำในเรื่องการสวมหน้ากากมาจากหมอที่อยู่แนวหน้าและนักวิจัยที่ศึกษาการระบาดของโคโรนาไวรัส ตอนนี้พวกเขาเชื่อว่าการติดเชื้อไม่ได้มาจากปากและปอดเท่านั้น แต่ยังผ่านจมูกอีกด้วย ดังนั้นการแนะนำให้สวมหน้ากากสามารถช่วยในการติดเชื้อให้ต่ำลงได้

ทั้งในสหรัฐและสิงคโปร์ที่ไม่เปลี่ยนแปลงคำแนะนำในการให้หน้ากากอนามัยกับบุคลากรทางการแพทย์เท่าที่จะเป็นไปได้ และในกรณีอื่นๆด้วย

เมื่อถูกถามในวันพุธ หากประชาชนสวมใส่หน้ากาก จนมันขาดตลาด และไม่พอสำหรับบุคลากรทางแพทย์ แต่ Trump กล่าวว่า “นั่นไม่ใช่หน้ากาก มันคือผ้าพันคอต่างหาก”

สิงคโปร์กระตุ้นให้ใช้หน้ากากอนามัยที่นำกลับมาใช้ได้อีก องค์การอนามัยโลกเน้นย้ำในวันศุกร์ว่าหน้ากากอนามับควรจะเก็บให้บุคลากรทางแพทย์เท่านั้น

การรีวิวที่ก่อให้เกิดหลักฐานอันใหม่

การปกครองของสหรัฐมีการโต้เถียงและตัดสินใจในการเปลี่ยนคำแนะนำเกี่ยวกับหน้ากากเมื่อเร็วๆนี้ ในวันอังคาร ดร. Anthony Fauci ที่เป็นผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติ บอกกับ CNN ว่า กองงานโคโรนาใน the White House กำลังอภิปรายเรื่องนี้อยู่

ในวันพฤหัสบดี เขาบ่งชี้ถึงคำแนะนำจะเปลี่ยนแปลง และชาวอเมริกันจะถูกกระตุ้นให้ใช้หน้ากาก โดยการกล่าวว่า “เมื่อเรารู้ว่าคนที่ไม่แสดงอาการติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ มันก็เป็นสามัญสำนึกที่ว่าก็ไม่เลวหรอกที่จะใส่หน้ากากน่ะ”

ในวันศุกร์ ศัลยแพทย์ Adams รับรู้ว่าบางคนอาจคิดว่าการเปลี่ยนแปลงแนวทางเป็นเรื่องน่าสับสน แต่เมื่อมีหลักฐานว่าคนติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการสามารถแพร่เชื้อโควิด 19 ได้

ตามที่ศูนย์ควบคุมโรคและการป้องกันของสหรัฐพูดว่า มีข้อมูลใหม่ที่ 25% ของผู้ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ สิ่งนี้หมายความว่าคนติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการและไม่สวมหน้ากากอนามัยสามารถแพร่เชื้อให้คนที่มีสุขภาพดีแต่ไม่มีการป้องกันได้เช่นเดียวกัน

มีการเชื่อว่าโคโรนาไวรัสชนิดใหม่แพร่กระจายผ่านสิ่งของที่มีขนาดเล็กๆ และหยดไอ หรือหยดจาม ซึ่งสามารถดำรงอยู่ หรือเกาะติดในอากาศ หลังจากคนจาม, ไอ, หรือสัมผัสบนสิ่งของ คนที่มีสุจภาพดีอาจติดเชื้อ หากหยดไอหรือจามหรือน้ำลายมาสู่ปาก, จมูก, หรือตา หากเขามาแตะหน้า หรือมาอยู่ใกล้ชิดกับคนป่วยโควิด 19

หน้ากากอนามัยสามารถกั้นการจามหรือหยดที่มีลักษณะใหญ่ได้ แต่ไม่สามารถกรองสิ่งที่มีลักษณะเล็กๆ ของผู้คนเวลาไอ จาม หรืออยู่ในกระบวนการรักษาได้ หน้า N 95 ที่ถูกใช้โดยบุคลากรทางแพทย์จะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะสามารถกัน 95% ของสิ่งที่ลอยอยู่ในอากาศได้

องค์การอนามัยโลกยังคงเชื่อว่าไวรัสจะติดระหว่างคนที่มีโรคแพร่กระจายเชื้อไปกับฝอยละอองขนาดใหญ่ และการสัมผัสในชีวิตประจำวัน เช่นการไอ หรือจาม การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้นำเสนอว่า หยดที่ติดเชื้อเดินทางไปได้ไกลกว่า 2 เมตร เมื่อคนป่วยจาม หรือ ไอ ซึ่งจำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยเข้าไปอีก

ศาสตราจารย์ Yuen Kwok-ying ซึ่งเป็นนักจุลชีววิทยาติดอันดับในมหาวิทยาลัยฮ่องกง และเป็นคนแรกๆที่เสนอให้สวมใส่หน้ากากในเมือง ได้พรรณนาถึงกรณีของเด็กหญิงอายุ 7 ปี ที่ไม่ติดโควิด 19 ในขณะที่ครอบครัวของเธอติด

การศึกษาตีพิมพ์ใน the medical journal The Lancet เขากล่าวว่าครอบครัวมี 6 คนเดินทางไปอู่ฮั่น ที่มีการระบาดของโควิด 19 ขนานหนัก เด็กหญิงเป็นบุคคลคนเดียวในครอบครัวที่ไม่ติดไวรัส เพราะเธอสวมใส่หน้ากากตลอดการเดินทาง

ดร. Leung Chi-chiu ซึ่งเป็นกรรมการของคณะกรรมการปรึกษาหารือเรื่องโรคที่เดินทางผ่านผู้คน ที่สมาคมการแพทย์ของฮ่องกง กล่าวว่า การใช้หน้ากากตลอดเวลาสามารถจะลดกรกระจายของไวรัสได้จริง

เขากล่าวว่า “การติดเชื้อจากคนที่ไม่แสดงอาการถูกศึกษาซ้ำในโควิด 19 และการติดเชื้อค่อนข้างสูงในช่วงแรกๆ การสวมหน้ากาก ที่เป็นการป้องกันทางสาธารณสุข จะตัดตัวเชื่อมต่อลงได้”

มีความกังวลกับการใช้หน้ากากที่ไม่ถูกต้อง และไม่ว่าพวกเขาไม่ระวังถึงความปลอดภัยของพวกเขาอย่างไร แต่ก็ทำให้พวกเขาไม่สนใจคำแนะนำในการทำความสะอาดมือร่วมไปด้วย

อย่างไรก็ตาม Benjamin Cowling ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ของระบาดวิทยากับชีวสถิติ กล่าวว่า “ฉันยังไม่ชัดเจนนักว่าทำไมจึงมีหลายมาตรฐานที่ใช้ในชุมชนเดียวกัน ที่ว่าหน้ากากเป็นส่วนสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งฉันเห็นด้วย แต่บางครั้งก็ไม่มีประสิทธิภาพที่จะใช้กับทุกครอบครัวในชุมชน เพราะประชาชนยังไม่รู้การสวมใส่ที่ถูกต้อง

“หากนั่นเป็นกรณีจริงๆ ทางแก้ก็คือต้องมีการโฆษณาการศึกษาในระดับชุมชน ว่าด้วยการสวมหน้ากากที่ถูกต้อง”

มีผลประโยชน์อื่นๆในการเพิ่มการสวมใส่หน้ากาก Shan Soe-lin ที่เป็นอาจารย์สอนสุขศึกษาในมหาวิทยาลัยเยล กล่าวว่า การเห็นทุกๆคนสวมใส่หน้ากากคือการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม โดยการส่งสัญญาณที่ว่ามีการระบาดที่ร้ายแรงเกิดขึ้น และจำเป็นที่จะต้องป้องกัน

เธอเสริมว่า “มันจะลดมลทินและกระตุ้นให้คนอื่นๆสวมใส่หน้ากาก ที่ส่งผลต่อผลประโยชน์ทางสังคมด้วย ประชาชนจับหน้าโดยเฉลี่ยหนึ่งครั้งใน 2.5 นาที ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ยากในการควบคุม การปิดหน้าจะทำให้มือของเธอไม่ไปจับจมูกและปากได้”

การแย่งชิงเพื่อรักษาอุปสงค์

ตอนนี้ทั่วโลกขาดหน้ากาก ความต้องการและการหยุดชะงักห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การระบาดของโคโรนาไวรัสส่งผลให้โลกต้องทำการแย่งชิงอุปทาน

การผลิตทั่วโลกของหน้ากากในปี 2018 ประมาณ 9.1 พันล้าน โดยเฉลี่ยคือ 25 ล้านต่อวัน

ประเทศจีน ที่เป็นผู้ผลิตหน้ากากรายใหญ่ ได้เพิ่มการผลิตหน้ากากตั้งแต่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ มีบริษัทมากกว่า 2,500 กำลังหันมาผลิตหน้ากาก

ประเทศจีนในช่วงต้นลดการอุปทานลงเพื่อให้ใช้ในประเทศ และกล่าวหาว่ากักตุน แต่ต่อมาจึงขายส่งหน้ากากไปนอกประเทศ การแข่งขันหน้ากากนำไปสู่การกล่าวหาว่าสหรัฐพยายามกักตุนอุปทานเพื่อประเทศตนเอง

ผู้ผลิตหน้ากากในสหรัฐกล่าวว่าการปกครองของ Trump บอกให้หยุดการส่งหน้ากาก N95 ที่ผลิตในสหรัฐไปส่งขายที่แคนาดาและลาตินอเมริกา

ในเยอรมัน, รัฐบาลท้องถิ่นในเบอร์ลินกล่าวว่า การส่งสินค้าหน้ากากที่ทำในขั้นในสหรัฐประมาณ 200,000 ชิ้นถูกรับในกรุงเทพฯ และส่งไปสหรัฐแทน เจ้าหน้าที่เบอร์ลินสาปแช่งว่า นี่เป็น “การละเมิดลิขสิทธิ์โดยแท้”

ผู้นำท้องถิ่นฝรั่งเศสบ่นว่ามีการประเมินที่สูงกว่าสำหรับผู้ซื้ออเมริกันเพื่อนำไปให้อุปทานทางการแพทย์ ประธานาธิบดีภูมิภาคฝรั่งเศส ชื่อ Valérie Pécresse บอกกับ BBC ว่า “ฉันพบคลังสินค้าของหน้ากากจำนวนมาก และอเมริกัน (ไม่ได้บอกว่าเป็นรัฐบาลอเมริกัน) ให้การประเมินที่สูงสำหรับเรา พวกเขานำเสนอราคาเป็น 3 เท่า และพวกเขาบอกก่อนล่วงหน้า”

ฮ่องกงส่งเสริมอุปทานโดยการออกทุนให้ผลิตโดยชุมชน, การจัดซื้อจัดจ้างระดับโลก, และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เช่น ผลิตหน้ากากที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ที่ทำมาจากผ้าที่มีคุณภาพ ความพยายามคือการคาดหวังให้ทำหน้ากาก 11 ล้านชิ้นเพื่อใช้ในเมือง แต่ราคาก็ไม่สูงเกินไป ในบางแห่งราคาเพิ่มถึง 10 เท่า

ผู้เชี่ยวชาญทางโรคติดต่อ คือ ดร. Joseph Tsang Kay-yan กล่าวว่า ภูมิปัญญาสาธารณะ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่ออุปสงค์ของโลก “หากทุกๆคนทำหน้าที่ของตนเอง เช่น คนที่ผลิตและสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับหน้ากาก และคนที่ไม่ทำอะไรเลยนอกจากจะสวมหน้ากาก เช่นผ้าพันคอก็ตาม และที่สำคัญที่สุดคือการอยู่ห่างทางสังคม และฉันก็เชื่อว่าเราจะมีหน้ากากเพียงพอในการเอาชนะสงครามโควิด 19 ได้”

แปลและเรียบเรียงจาก

Victor Ting. To mask or not to make: WHO makes U-turn  while US, Singapore abandon pandemic advice and tell citizens to start wearing masks.

https://www.scmp.com/news/hong-kong/health-environment/article/3078437/mask-or-not-mask-who-makes-u-turn-while-us

หมายเลขบันทึก: 678918เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2020 18:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2020 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท