ความคาดหวังที่เปลี่ยนไปต่อการสอนและการเรียน



หนังสือ Changing Expectation for the K-12 Teacher Workforce : Policies, Preservice Education, Professional Development and the Workforce(2020)    จัดพิมพ์เผยแพร่โดย The National Academies of Science, Engineering and Medicine ของสหรัฐอเมริกา    บทที่ 3  Changing Expectations for Teaching and Learning พอจะนำมาใช้ในบริบทไทยได้ ผมจึงตีความนำมาเผยแพร่    

คาดหวังการเรียนรู้ที่ลึกยิ่งขึ้น(deeper learning) 

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ เน้นทักษะ ๕ ประการ  (๑) ความสามารถในการปรับตัว (adaptability)  (๒) การสื่อสารที่ซับซ้อน (complex communication)  (๓) การแก้ปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหาประจำวัน (non-routine problem-solving)  (๔) การจัดการตนเอง (self-management)  (๕) คิดกระบวนระบบ (systems thinking)  

มิติของการเรียนรู้ที่ลึกยิ่งขึ้นมี ๖ ประการคือ  (๑) เรียนรู้จริงในเนื้อหาสำคัญ  (๒) คิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา  (๓) สื่อสารอย่างได้ผล  (๔) ทักษะทำงานเป็นทีม  (๕) ทักษะการเรียนรู้  (๖) ชุดความคิดวิชาการ (academic mindset)  

โปรดสังเกตว่า การเรียนรู้ในมิติที่ลึก ก็คือการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ นั่นเอง    เพื่อบรรลุทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑  

ที่น่าสนใจคือตารางที่ 3.1  เปรียบเทียบบทบาทของผู้เรียนในมิติของการเรียนรู้ที่ลึก  กับในมิติการเรียนรู้แบบจารีต  ดังนี้

ในเอกสารมีข้อสรุปการเรียนวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  และสังคมศาสตร์ ในมิติที่ลึก ที่น่าสนใจมาก    ครูในแต่ละวิชาควรเข้าไปศึกษาจากเอกสาร

เน้นบทบาทของวัฒนธรรมต่อการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น  

หลักการสำคัญของการเรียนรู้คือ นักเรียนแต่ละคนมีภูมิหลัง หรือบริบท ของตนในด้าน วัฒนธรรม สังคม วิธีเรียน และชีววิทยา    ในสหรัฐอเมริกานักเรียนมาจากหลากหลายเชื้อชาติ วัฒนธรรม และฐานะทางสังคม    ครูจึงต้องมีวิธีทำให้การเรียนการสอนเป็นกิจกรรมที่นักเรียนทุกคนได้รับการดูแล (inclusive)    โดยครูต้องเคารพอัตลักษณ์ของนักเรียน  

เรื่องนี้สำหรับสังคมไทยนักเรียนไม่มีความแตกต่างมากมายในด้านวัฒนธรรม    แต่ก็มีความแตกต่างในตัวเด็ก และพื้นฐานทางครอบครัว    การที่ครูเอาใจใส่เด็ก และให้ความสำคัญต่อเด็กเป็นรายคน เป็นสิ่งที่ช่วยการเรียนรู้  

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และการสื่อสารกับครอบครัวของนักเรียน

เน้นที่การใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของนักเรียน    รวมทั้งการประสานงานกับผู้ปกครองนักเรียน ในการร่วมกันสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก  

ครูต้องสอนนักเรียนทุกคน    และเอื้อให้นักเรียนทุกคนบรรลุความสำเร็จในการเรียน

วิจารณ์ พานิช

๑๓ มิ.ย. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 678726เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2020 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2020 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท