สถาบันอุดมศึกษาเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง



วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๓ มีการประชุมสภาสถาบันอาศรมศิลป์ สาระจากการประชุมบ่งว่าสถาบันอุดมศึกษาเล็กๆ ที่เป็นสถาบันทางเลือกแห่งนี้     มีคุณค่าและดำรงอยู่ได้ เพราะมีชื่อเสียงในฐานะเป็น change agent ด้านการศึกษา 

มีวาระแจ้งเพื่อทราบเป็นโครงการวิจัยและพัฒนา ๓ เรื่องคือ

  • การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาต้นแบบพื้นที่นวัตกรรมการจัดการศึกษาระดับจังหวัด ด้วยกระบวนการเปลี่ยนแปลงโรงเรียนทั้งระบบ กรณีศึกษาจังหวัดระยอง ระยะที่ ๒
  • โครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัย  ให้เป็นกลไกสนับสนุนความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้จังหวัดระยอง โดยความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง และภาคีเครือข่าย Learning City  จ. ระยอง    ภายใต้การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง
  • โครงการ “พึ่งตน เพื่อชาติ”   สนับสนุนโดยครอบครัวอยู่วิทยา เป็นเงิน ๓๐๐ ล้านบาทใน ๓ ปีแรก    ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์  และเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ    ดำเนินการหนุนผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด ๑๙   ในการน้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ไปใช้ในการสร้างต้นทุนของชีวิต    และสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน          

ผมตีความว่า  สถาบันอาศรมศิลป์ มีรูปแบบ “ชาลาหุ้นส่วนสังคม” (engagement platform) ที่ชัดเจนมั่นคงขึ้นเรื่อยๆ    โดยจุดแข็งมี ๓ ด้าน คือ ด้านการศึกษา  ด้านพัฒนาชุมชนและผู้ประกอบการสังคม   และด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์หรืการออกแบบ   

เนื่องจากจำนวนนักศึกษาน้อยลงเรื่อยๆ    สถาบันจึงต้องหาทางอยู่รอดจากกิจกรรมด้านการเป็นนวัตกรสังคม    ซึ่งตรงกับสมรรถนะที่สถาบันเรียนรู้และสั่งสมขึ้นมา  

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มิ.ย. ๖๓


หมายเลขบันทึก: 678274เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2020 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กรกฎาคม 2020 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท