๘๒๐. แล้วสอนว่า...อย่าไว้ใจมนุษย์


แล้วสอนว่า...อย่าไว้ใจมนุษย์

บทประพันธ์นี้...สมัยตอนผู้เขียนเป็นเด็ก ๆ คุณครูให้หมั่นฝึกท่องอยู่เสมอ...ท่านสอนว่า "เราเรียนเพื่อให้ได้ความรู้นั้น ไปเพื่ออะไร"..."การเรียนนั้น เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่คับขันได้...การร่ำเรียนนั้นต้องนำไปใช้กับสิ่งที่ดี ๆ ดีต่อตนเองและดีกับผู้อื่น"...การสอนของคนสมัยก่อน ฝากแง่คิด คำคมอยู่ในบทประพันธ์...สำหรับผู้เขียนท่องได้ขึ้นใจ และนำมาสอนลูก ๆ หลาน ๆ ให้รู้และตระหนักในคำสอนนี้...บันทึกไว้ให้กับลูก-หลานได้คิดกันค่ะ เป็นคำสอนของย่าบุษ...

แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์

มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด

ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด

ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน

มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน

บิดามารดารักมักเป็นผล

ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน

เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา

แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ

ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา

รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา

รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

ประพันธ์โดย..."สุนทรภู่" รำลึกถึงวันสุนทรภู่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๓

ระลึกถึงพระคุณครู ทุก ๆ ท่านค่ะ

*******************************

ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๓


ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=HLIuYlmQjS4


หมายเลขบันทึก: 678149เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2020 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2020 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท