Zoom In , Zoom Out ,Outside-in , Inside-out ฝึกมองหลายระดับเพื่อปรับคุณภาพชีวิตและการทำงาน :


Zoom In , Zoom Out ,Outside-in , Inside-out ฝึกมองหลายระดับเพื่อปรับคุณภาพชีวิตและการทำงาน :

ความหมายของคำทั้งสี่นี้ ผมคิดว่าคนทั่วไปที่ใช้ IT เข้าใจไม่ยาก แต่วันนี้ทบทวนตัวเองสักหน่อยก็ดี

ใครจะเอาไปใช้ก็ไม่ห้ามนะครับ

Zoom In คือ เราอยู่ข้างนอกแล้วซูมหรือโฟกัสเข้าไปข้างในเพื่อดูบางสิ่งบางอย่างให้ชัดขึ้น

Zoom Out คือ เราอยู่ข้างนอก จากที่จ้องมองบางสิ่งอยู่ ก็ค่อยๆมองกว้างขึ้นเพื่อให้เห็นบรรยากาศ ความเชื่อมโยงของสิ่งนั้นๆกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ เรียกว่า "มองอย่างมีบริบท"

ทั้ง Zoom In และ Zoom Out ล้วนสำคัญที่จะทำให้เรามองภาพสิ่งนั้นได้ชัด คือชัดทั้งสิ่งที่เราหมายตาหมายใจ ชัดทั้งองค์ประกอบแวดล้อม

แต่ทั้ง Zoom In , Zoom Out นี่ ยังเป็นการมองแบบ Outside-IN คือ เรายังอยู่ข้างนอก

เท่าที่ผมสังเกต ในเรื่องงานชุมชนหรือการวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆแล้วสื่อสารกับคนอื่นๆ 90% หรือมากกว่า เราจะเป็นแบบ Outside-In โดยมากจะใช้โหมด Zoom In และบางครั้งก็จะ Zoom Out เพื่อดูระบบโครงสร้างสภาพแวดล้อม

แต่ถ้าจะให้ Advance มองแค่นั้นไม่พอ

Inside-Out เป็นกระบวนการมองผ่านแว่นของสิ่งที่อยู่ข้างในบริบทหรือเฟรมภาพ


ตรงนี้เป็นมุมที่ยากเพราะต้องให้สิ่งที่โฟกัสนั้นสะท้อนมุมมองของตนออกมา ถ้าสิ่งนั้นสะท้อนมุมมองหรือสื่อสารออกมาไม่ได้ เราที่เป็นคนนอกก็ต้องเข้าไปช่วยหนุน ไปยืนในจุดของสิ่งนั้นๆ พยายามเข้าใจวิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่ในจุดนั้นๆให้ได้มากที่สุด โดยต้องระวังการเอามุมมองวิธีคิดของตัวเราเองไปแทรกแซง จะว่าไปก็เป็นกระบวนวิธีแบบนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม (วลีที่ผมพอจำได้คือ Native's Point of View ) พวกที่เรียนมานุษยวิทยาจะฝึกเรื่องนี้มาเยอะถือว่าเป็นหัวใจเลยทีเดียว แต่อันนี้ ฝึกด้วยการคิดวิเคราะห์อย่างเดียวไม่พอ ต้องไปใช้ชีวิตร่วมทุกข์ร่วมสุข แบบเป็นเพื่อนกับสิ่งนั้นๆเลยทีเดียวถึงจะเจียระไนมุมมองแบบ Inside-Out ออกมาได้

ความเข้าใจของเราส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับมุมที่เรามอง แม้ทุกวันนี้ ตัวเราเองก็มองแบบฉาบฉวยและมักด่วนตัดสินว่าสิ่งนั้น คนนั้น ชุมชนสังคมนั้นเป็นอย่างโน้น อย่างนี้ อันนี้เป็นวิสัยของคนทั่วไป เจอแบบนี้ขอให้เข้าใจ ใช้เมตตา และปัญญาเท่าทัน

แต่ถ้าจะให้ Advance ต้องเพิ่มการมองจาก Inside-Out แล้วมันจะทำให้ Zoom In , Zoom Out แบบ Outside-In มีประสิทธิภาพขึ้น

นั่นจึงจะนับได้ว่า เป็นการเริ่มต้นของคำว่า "มองแบบองค์รวม"

หมายเลขบันทึก: 678120เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2020 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2020 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท