กิจกรรมบำบัด Focal Hand Dystonia


ขอบพระคุณคุณหมออ้อผู้จุดประกายให้ผมรวบรวมกรณีศึกษานักดนตรีที่มีความต้องการกลับไปเล่นดนตรีอาชีพหลังมีกล้ามเนื้อบิดเกร็ง หรือ Focal Dystonia (FD)

เชิญชวนกัลยาณมิตรอ่านกรณีศึกษาตามลิงค์บันทึกที่เกี่ยวข้องทางด้านขวามือ

ผมขออนุญาตทบทวนหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์เพื่อสรุปบทบาทนักกิจกรรมบำบัดต่อประสิทธิผลการฟื้นคืนสุขภาวะนักเปียโนหลังมีอาการบิดเกร็งของกล้ามเนื้อมือ ทำให้มีความบกพร่องในการสั่งการระบบประสาทการเคลื่อนไหว เช่น กล้ามเนื้อภายในมือข้อนิ้วนางกับนิ้วก้อยงอพร้อมกันไม่ได้ - ถ้านิ้วนางงอ นิ้วก้อยก็จะเหยียด ส่งผลให้นิ้วก้อยตึงตัวในท่าเหยียดจนอ่อนล้า สมองซีรีเบลลัมที่ควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อในร่างกายก็ส่งสัญญาณมาช่วยทำงานให้เกิดสหสัมพันธ์ของการใช้มือพร้อม ๆ กับสมองส่วนกลางก็สั่งการมาเลี้ยงกล้ามเนื้อนิ้วนางก้อยมากเกินไปจนความตึงตัวของกล้ามเนื้อภายในสองนิ้วบิดเกร็งอัตโนมัติ ทำให้นักเปียโนรับรู้สึกอารมณ์ตึงเครียดลบทั้งวิตกกังวลกับเสียงเปียโนที่ผิดเพี้ยนและมีภาวะซึมเศร้า (นอนไม่หลับ แยกตัว เปรียบเทียบคนเก่ง มีความล้าเรื้อรัง) ขณะฝึกซ้อมอย่างหนักเพราะไม่มีความมั่นใจในสมรรถนะของตัวเองว่าจะเป็นนักเปียโนมืออาชีพได้หรือไม่   

งานทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบปี 2017 คลิกที่นี่ พบว่า จาก 1,207 งานวิจัยทางคลินิก มีงานคุณภาพที่พอจะวิเคราะห์ได้เพียง 45 ชิ้น ทำให้เห็นหลักฐานเชิงประจักษ์แสดงความก้าวหน้าทางการบำบัดฟื้นฟูการใช้งานของมือ (Hand Rehabilitation) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Significant Improvement) เพียง 29 ชิ้น ผมเลยวิเคราะห์ให้เห็นเปอร์เซ็นต์แยกเป็น 6 รูปแบบการบำบัดฟื้นฟูการใช้งานของมือ ได้แก่ 

  • การฝึกขยับมือ จาก 12 ชิ้น ได้ผลจริง 7 ชิ้น คิดเป็น 58.33% ตรงนี้เป็นบทบาทนักกายภาพบำบัด ใช้เทคนิคผสมผสาน Postural reeducation, Motor relearning, Antagonistic strengthening, Stretching, Massage, FES และ Home-based exercises 
  • การฝืนทนใช้มือ จาก 7 ชิ้น ได้ผลจริง 6 ชิ้น คิดเป็น 85.71% ตรงนี้เป็นบทบาทนักกิจกรรมบำบัด ประดิษฐ์อุปกรณ์ดามนิ้วมือ (Splinting) ที่แข็งแรงไม่ให้ช่วยขณะฝืนทนใช้นิ้วมือที่มีอ่อนแรง (Constrained Coordination Training หรือ Sensorimotor retuning) ผ่านกิจกรรมการเขียนเร็วสลับกิจกรรมฝีกเล่นเปียโน   
  • การเรียนรู้ปรับความรู้สึกในมือ จาก 8 ชิ้น ได้ผลจริง 4 ชิ้น คิดเป็น 50% ตรงนี้เป็นบทบาทนักกิจกรรมบำบัด ใช้เทคนิคผสมผสาน Sensory Discrimination, Learning based sensorimotor retraining, Memory training, Relaxation และ Postural training 
  • การกระตุ้นไฟฟ้ากล้ามเนื้อมือ จาก 9 ชิ้น ได้ผลจริง 4 ชิ้น คิดเป็น 44.44% ตรงนี้เป็นบทบาทแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญใช้ EEG, EMG, TENS, FES กับนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญใช้ EMG, FES, Shockwave, Kinesiotape    
  • การกระตุ้นปรับคลื่นสมองบริเวณสั่งการกล้ามเนื้อมือ จาก 5 ชิ้น ได้ผลจริง 5 ชิ้น คิดเป็น 100% ตรงนี้เป็นบทบาทแพทย์และนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญใช้ tDCS, rTMS, iTBS 
  • การชดเชยด้วยกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง จาก 4 ชิ้น ได้ผลจริง 3 ชิ้น คิดเป็น 75% ตรงนี้เป็นบทบาทนักกิจกรรมบำบัดร่วมกับครูสอนเปียโน ในการออกแบบวิธีการเล่นเปียโนด้วยท่าทางและวิธีการใช้มือแบบใหม่ อาจมีการประดิษฐ์อุปกรณ์ดามมือและอุปกรณ์ช่วยในการฝึกฝนจนสามารถประกอบอาชีพเป็นนักเปียโนได้จริง   

ปัจจุบันทั่วโลกมีความขาดแคลนแพทย์ นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด ที่มีประสบการณ์บำบัดฟื้นฟูการใช้งานของมือนักเปียโน ... ทำให้เกิดการรวมกลุ่มครูสอนเปียโนศึกษาและออกแบบโปรแกรมฝึกอ้างอิงหลักการชีวกลศาสตร์ได้น่าสนใจ คลิกที่นี่ ตรงกับรูปแบบที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ได้แก่ การฝืนทนใช้มือ บวกกับ การชดเชยด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง

หมายเลขบันทึก: 677711เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2020 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2020 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท