ความรุนแรงต่อสตรีที่เป็นผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 และข้อเสนอเชิงนโยบาย


ประเทศเหล่านี้ประกาศมาตรการ Lock down ปิดเมือง ให้คนกลับไปอยู่บ้าน แต่ผลสำรวจที่ UNWOMEN พบก็คือความรุนแรงในครอบครัวที่ผู้หญิง (Women & girl) ได้รับกลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นถึง 25% ขึ้นไปจากสถานการณ์ปกติ ถามว่า เราเตียมการ หรือเราจะลดผลกระทบตรงนี้อย่างไร


หลายคนอาจกำลังชื่นชมมาตรการ Lock down ปิดเมือง Stay-at-Home “แยกตัวอยู่กับบ้าน “ การกักตัว Social Distancing การเว้นระยะห่างทางสังคม โอเคครับ ไม่ผิดอะไร และเป็นสิ่งจำเป็นในสภาวการณ์ COVID-19 เช่นนี้

แต่ในอีกด้าน ผลกระทบที่เกิดตาม โอเคล่ะ เรื่องเศรษฐกิจมีคนพูดถึงเยอะขึ้นเรื่อยๆแล้ว การศึกษาก็ด้วย มีหน่วยงานเริ่มขานรับกันบ้างแล้ว แต่อีกเรื่องที่คนยังพูดกันน้อยมากๆ และทุกวันนี้ก็ยังไม่เห็นหน่วยงานไหนออกมาทำเชิงรุกในเรื่องนี้ นั่นคือเรื่อง ความรุนแรงต่อสตรีที่เป็นผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19

ผมอยากให้ดูข้อมูลคร่าวๆ เป็น infographic จาก UNWOMEN ที่สำรวจหลายๆประเทศ เช่น อเมริกา แคนาดา สเปน ฝรั่งเศส สิงคโปร์ อาร์เจนติน่า พบว่าหลังจากประเทศเหล่านี้ประกาศมาตรการ Lock down ปิดเมือง ให้คนกลับไปอยู่บ้าน ผลสำรวจที่ UNWOMEN พบก็คือความรุนแรงในครอบครัวที่ผู้หญิง (Women & girl) ได้รับกลับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นถึง 25% ขึ้นไปจากสถานการณ์ปกติ

หลายวันก่อน ผมเคยเปรยๆเรื่องนี้กับ ผศ.รณภูมิ สามัคคีคารมย์ Ronnapoom Samakkeekarom อาจารย์ที่ทำประเด็น Gender & Health จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ หัวหน้าชุดโครงการสุขภาวะสตรีชาติพันธุ์ สสส. ตอนนั้นเป็นการเปรยๆคาดการณ์จากมุมมองนักมานุษยวิทยาอย่างผมที่ทำงานฝังตัวอยู่ในพื้นที่ชุมชน เราคุยกันว่า น่าจะได้ผนวกเอาเรื่อง COVID-19 ไปกับโครงการสุขภาวะสตรีชาติพันธุ์ที่ทางอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินงานอยู่

เหมือนฟ้าดลใจ ผ่านไปสัปดาห์นึง ผมเผอิญได้มาอ่านข้อมูล infographic ของ UNWOMEN วันนี้ เอ่อ เหอ มันใช่เลย

ถึงประเทศไทยยังไม่มีข้อมูล ความรุนแรงต่อสตรีในช่วง COVID-19 แต่การคาดการณ์จากฝั่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก็เคยระบุมาก่อนแล้วว่าปีสองปีนี้ สถิติ ความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัวสูงขึ้นมากเป็นประวัติการณ์

การ STAY-AT-HOME ด้านหนึ่งคือห่างจากเชื้อ แต่ด้านหนึ่งอาจจะใกล้ความรุนแรงถ้าไม่มีการเสริมพลังแก่สตรีและชุมชนให้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดการมิติ Gender , Health , and Violence Against Women and Girls (VAWG)ในรูปแบบต่างๆ

เพราะมาตรการ STAY-AT-HOME หรือการเก็บตัวอยู่กับบ้าน มีผลกระทบไม่เพียงแต่กันพวกเธอออกไปจากการเข้าถึงทรัพยากร/ปัจจัยการผลิต แต่ยังทำให้ผู้หญิงถูกโดดเดี่ยวจากผู้คนที่จะปกป้องคุ้มครองช่วยเหลือเหตุร้ายหรือความรุนแรงจากคนในบ้านที่มีต่อพวกเธอ

มาตรการ LOCK DOWN ทำให้หน่วยงานต่างๆเข้าไปช่วยเหลือผู้หญิงที่ได้รับความรุนแรงในครอบครัวไม่สามารถจัดพื้นที่ดูแลเป็นพิเศษแก่พวกเธอได้ และถึงจะเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่ก็ไม่ทันการณ์ หรือกว่าจะรู้ก็สายเสียแล้ว

ทาง UNWOMEN ได้ให้แนวทางเชิงนโยบายต่อเรื่องนี้มา 3 ข้อใหญ่นะครับ
1. เรา (หมายถึงระดับประเทศนะครับ )ต้องเพิ่มการบริการเชิงรุก เพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อเข้าถึงกลุ่มสตรีที่ได้รับความรุนแรง เช่น สายด่วนฮอตไลน์ การให้คำปรึกษาออนไลน์ ให้เพียงพอและสอดคล้องกับสถานการณ์ COVID-19
2. เราต้องเพิ่มความตระหนัก และมีมาตรการพิเศษให้ตำรวจและเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาความรุนแรงที่กระทำต่อสตรีที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ COVID-19 มากขึ้น
3. ในระดับพื้นที่ ต้องเพิ่มกลไกนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ คนทำงานด้านสุขภาวะสตรี ที่เข้าใจผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด , ผู้หญิงที่รอดจากความรุนแรงทางเพศสภาพ (gender-based violence survivors) ให้เพียงพอ

ข้อมูล บทวิเคราะห์ และข้อเสนอแนะที่ทาง UNWOMEN ได้ให้มา เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเราไม่ควรมองข้าม
ถามว่า ประเทศไทย หรือใกล้ตัวสุดก็อาจจะเป็นระดับท้องถิ่น อำเภอ ตำบล เราจะมีส่วนร่วมในการจัดการมิติสตรี กับผลกระทบจาก COVID-19 กันได้อย่างไร ผมอยากจะชวนคิดกันหลายๆระดับ ทั้งระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการ ระดับปัจเจก

หากแต่วันนี้ ถ้าเรามองเห็น COVID-19 ไม่ใช่แค่เชื้อโรค แต่มันคือปรากฏการณ์ทีสั่นสะเทือนในทุกมิติชีวิต เราคงต้องเริ่ม

อ่านฉบับภาษาอังกฤษได้จากลิงค์ครับ



https://www.unwomen.org/en/digital-library/multimedia/2020/4/infographic-covid19-violence-against-women-and-girls

หมายเลขบันทึก: 676949เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2020 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2020 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท