คนยากจนไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ในช่วงการกักตัวเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อ


ปุญคือคนขับแท็กซี่แบบแกรฟ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 11 เดือนมีนาคม เขาถูกเรียกไปให้รับผู้โดยสารชายคนหนึ่ง จากโรงแรมเพื่อไปส่งเขาที่โรงพยาบาลในจังหวัด และไปรับเขากลับมา

ปุญจำรายละเอียดของอัตลักษณ์ของผู้โดยสารได้น้อยมาก แต่สิ่งเขาจำได้คือผู้โดยสารอายุประมาณ 20 แต่ดูอ่อนแอมาก “เขาไอตลอดเวลาและใส่หน้ากากอนามัย ดูเหมือนว่าเขากำลังมีทุกข์เกี่ยวกับไข้” ปุญบอกฉันในการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์

วันที่ 13 มีนาคม ปุญได้รับโทรศัพท์จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด ที่ขอร้องให้เขากักตนเองเป็นเวลา 14 วัน เพราะว่าผู้โดยสารมีผลในทางบวกกับโควิท 19 ต่อมามีการระบุว่าผู้โดยสารอยู่ในกลุ่มทองหล่อ ซึ่งเป็นคน 11 คนที่ดื่มร่วมกันในผับในซอยทองหล่อกรุงเทพฯและติดเชื้อ

ฉันตัดสินใจที่จะคุยกับปุญ ที่มีข่าวของเขาอยู่ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ที่เขียนโดย มงคล บางพระ เกี่ยวกับคนขับรถแท็กซี่ที่ต้องเช่าโมเต็ลของโรงอยู่เป็นเวลา 14 วัน

ปุญบอกกันฉันว่าเขาไม่อยากเผยแพร่เชื้อนี้ให้คนอื่นๆ

“ฉันไม่ต้องกรแพร่เชื้อให้ใครคนใดคนหนึ่ง ฉันต้องการปกป้องครอบครัวและสังคม” แต่การกักตนเอง ไม่ว่าจะพูดง่ายขนาดไหน ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ลำบากและยุ่งยากมาก

ปุญอาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็กๆพร้อมกับคนอีก 4 คน แม่ยายของเขาอ่อนแอ และทุกข์ทรมานจากโรคเบาหวาน หากเขาอยู่ที่บ้าน ก็มีโอกาสทำให้เธอติดเชื้อ พร้อมทั้งคนอื่นๆด้วย

ตั้งแต่เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขไม่ได้คำแนะนำอะไรกับเขานอกจากให้กักตัวตนเองเป็นเวลา 14 วัน เขาจึงรู้สึกสิ้นหวัง

ปุญตัดสินใจในการเข้าพักที่โมเต็ล เพื่อแยกตนเองออกจากครอบครัวและคนอื่นๆ ด้วยความที่ไม่มีเงิน เขาจึงขอยืมเงินในการจ่ายค่าห้องในจำนวน 350 บาทต่อคืน สิ่งนี้ทำให้ปุณลำบาก เพราะเงินที่หาได้มีเพียงแค่ 500-700 บาทต่อวัน ตอนนี้เขาอยู่กับตนเองประมาณ 5 คืน

เหนือสิ่งอื่นใด เขาไม่ได้บอกโรงแรมถึงสภาพของเขา ในขณะนั้น เขายังไม่เจอโคโรนาไวรัสที่มีเป็นบวกที ดังนั้นเขาจึงมีโอกาสที่จะแพร่เชื้อให้คนอื่นๆในโมเต็ล หากเขาติดเชื้อ

แต่ในวันจันทร์ ปุญได้รับการทดสอบไวรัส ต่อมาเขาได้รับการแจ้งว่าโคโรนาไวรัสมีผลเป็นลบ “ทำไมเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขจึงบอกฉันว่ายังไม่ติดเชื้อ แต่ถึงกระนั้นพวกเขาบอกให้ฉันกักตัวจนถึงวันที่ 25 มีนาคม นั่นคือสิ่งที่พวกเขาบอกฉัน”

ระหว่าง 2-3 วันที่ผ่านมา เขาซ่อนตนเองอยู่ในโรงแรม เขาพูดว่าเจ้าหน้าที่ไม่เคยมาตรวจสอบหรือตามติดในพื้นที่เลย

ปุญบอกกับฉันว่าเขาไม่สามารถจะกักตนเองได้อีกต่อไป

“ฉันเป็นกรรมกร ดังนั้นทุกๆวันที่ทำงานจึงมีค่าใช้จ่าย การกักตนเอง 14 วันอาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนที่มีเงินเพียงพอ แต่กับพวกคนจนอย่างฉัน การจับเจ่าอยู่ที่บ้านคือการสูญเสียรายได้” เขากล่าว

ฉันถามว่า เธอจะทำอะไรในเมื่อคุณขับแท็กซี่ แล้วรู้ได้อย่างไรว่าปลอดภัยจากโคโรนาไวรัส? ความผิดพลาดก็ต้องมีอยู่บ้าง

“แน่นอนว่าฉันต้องสวมหน้ากาก และใช้เจลที่ทำมาจากแอลกอฮอล์ทำความสะอาดที่มือ และฉันใช้เงินจำนวนมากซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการฆ่าเชื้อที่มือแล้ว” เขากล่าว

ปุญยังมีคำกล่าวที่จะบอกกับรัฐบาล

“รัฐบาลต้องปล่อยความช่วยเหลือด้านการเงินมาช่วยบริษัทต่างๆ รวมทั้งประชาชนด้วย หรืออาจลดค่าไฟและค่าน้ำก็ได้ ฉันปรารถนาให้รัฐบาลช่วยเหลือคนรายได้น้อยอย่างฉัน ที่จะต้องถูกบังคับให้กักตนเอง และควรมีบางสิ่งที่สำคัญ คือมาตรการในการช่วยเหลือเราที่ต้องถูกกักตนเอง ไม่ให้มีปัญหาด้านการเงิน”

ชะตาของคนกักตนเองคือการท้าทายที่สูงที่สุดต่อรัฐบาลและรัฐมนตรีสาธารณะสุข

ฉันไม่กล้าที่จะประเมินหรอก ปุญและการตัดสินใจของเขาในการยุติการกักตนเอง ฉันเป็นใครในการประเมินเขาหละ? การกักตนเองอาจง่ายสำหรับคนอื่นๆ แต่ไม่ใช่ทุกคนหรอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีรายได้น้อย ที่ต้องเช่าบ้านเขาอยู่ และคนอยู่ในเมือง ที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนี่ยม ที่มี 1 หรือ 2 ห้องนอน

นอกเหนือจากปัญหาเรื่องการกักตนเอง คนจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง จะพบว่าเป็นการยากที่จะไม่ทำงานถึง 14 วัน เพราะหากทำ ครอบครัวจะไม่มีเงินซื้ออาหาร

การกักตนเองเริ่มเป็นประเด็นที่ใหญ่โต เมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีคนไข้ติดโคโรนาไวรัสเพิ่มมากขึ้น คนจำนวนมากพยายามจะใช้การออกห่างทางสังคม (social distancing) คนที่มีไข้ หรือว่าติดเชื้อจะต้องถูกกักตนเองอยู่ที่บ้านเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงระบบสาธารณะสุขที่มากเกินไป สำหรับระบบสาธารณะสุขต้องให้เพื่อคนที่เป็นโควิท 19 เท่านั้น

แต่รัฐบาลต้องทำให้มากกว่านี้ในการช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มคนที่อ่อนแอ หรือต้องกักตนเอง นอกเหนือจากบอกให้พวกเขาอยู่แต่ในบ้าน หลีกเลี่ยงการอยู่ร่วมกัน แล้ว รัฐบาลยังต้องสรรหาเครื่องอำนวยความสะดวกในการกักตัวด้วย เช่น โรงยิมโรงเรียน

รัฐต้องนำเสนอเครือข่ายความปลอดภัย เช่น โปรแกรมที่หาอาสาสมัครในการเข้าหากลุ่มคนที่อ่อนแอ และนำเสนอพวกเขาถึงการช่วยเหลือและคำแนะนำในการกักตนเอง อาสาสมัครสามารถแจกสารล้างมือและหน้ากากอนามัยได้

ตั้งแต่ต้นรัฐบาลถนัดในการแจกเงินไปช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่และสาธารณะชน เอาหละตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่รัฐจะใช้เงินไปช่วยเหลือคนที่คาดว่าจะติดไวรัสให้มีการกักตนเอง หรืออย่างน้อยก็ช่วยเหลือให้พวกเขาดำรงชีพอยู่ได้

แปลและเรียบเรียงจาก

Anchalee Kongrut. The poor can’t afford to self-quarantine.

https://www.bangkokpost.com/opinion/opinion/1881795/the-poor-cant-afford-to-self-quarantine

หมายเลขบันทึก: 676331เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2020 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2020 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท