การวิจารณ์: มนุษยศาสตร์ในใจกลางของการศึกษาแบบองค์รวมในโลกที่ใช้เทคโนโลยี



การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ไม่ได้ทำให้การศึกษาทางมนุษยศาสตร์ลดความสำคัญลง เราจำเป็นต้องใช้มนุษยศาสตร์ในการทำความเข้าใจเทคโนโลยี และเทคโนโลยีของเราต้องมาทำความเข้าใจมนุษยศาสตร์เช่นกัน ทูตอิสระ Tommy Koh กล่าว

สิงคโปร์: เรากำลังจะผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

การปฏิวัติครั้งแรกเป็นเรื่องของเกษตรกรรม ซึ่งเกิดขึ้นมาเมื่อ 10,000 ปีมาแล้ว มนุษย์หยุดการเก็บของป่าเพื่อการยังชีพ พวกเขาเรียนรู้การปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ การผลิตอาหารมีการปรับปรุง และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จะอยู่ในที่แคบๆ และนำไปสู่การเกิดขึ้นของหมู่บ้าน เมืองเล็ก และเมืองใหญ่

การปฏิวัติครั้งที่ 2 เรียกว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มอุต้นในศตวรรษที่ 18 และเร่งรัดในศตวรรษที่ 19 ถึง 20 การปฏิวัตินี้เกิดขึ้นโดยการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ (steam engine), ไฟฟ้า, และการผลิตเพื่อมวลชน (mass production)

การวิจัยครั้งที่ 3 เริ่มต้นในทศวรรษที่ 1960 ด้วยการเริ่มมีคอมพิวเตอร์, สารกึ่งตัวนำ (semi-conductors), คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, และอินเตอร์เน็ท และเรายังอยู่ในยุคนี้

การปฏิวัติครั้งที่ 4 เริ่มเมื่อขึ้นศตวรรษที่ 21 มันก่อสร้างมาจากการปฏิวัติครั้งที่ 3 เพราะมันถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและกระบวนการ digital เทคโนโลยีสมัยใหม่ และนวัตกรรม ก่อให้เกิดบริษัทที่ทำให้บริษัทแบบดั้งเดิมสั่นคลอน (disrupt the status quo) เช่น Airbnb, Grab, และ Alibaba

โลกถูกเปลี่ยนแปลงด้วยหุ่นยนต์, ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence), การที่อุปกรณ์หรือสิ่งต่างๆๆ ถูกเชื่อมโดยอินเตอร์เน็ท ทำให้เราสามารถเปิดปิดทุกอย่างได้โดยผ่านอินเตอร์เน็ท (the Internet of things), ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก โดยข้อมูลมีความซับซ้อน และต้องใช้ซอฟแวร์ที่รองรับจัดการหรือวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการประมวลผลและนำไปใช้แบบเรียลไทม์ (big data), การจัดการการเงินแบบ block chain, การทำทุกอย่างโดยเศรษฐกิจ (the sharing economy) เช่น Uber, Grab} Alibaba, การพิมพ์แบบ 3 มิติ, รถที่มีคนขับอัตโนมัติ (autonomous vehicles), นาโนเทคโนโลยี, เทคโนโลยีทางการเงิน (financial technology)

การปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งที่ 4 มีความสำคัญ เพราะมันรวดเร็ว และยังคงชีพอยู่ได้นาน มันส่งผลต่อทุกๆอานาเขตของมนุษย์

ดังนั้นสิงคโปร์จะต้องเตรียมเยาวชนกับความรู้, ทักษะ, และความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรม (mindset) เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ๆนี้ให้ได้ นี่คือเหตุผลว่าเหตุใดรัฐบาลจึงเน้นไปที่ STEM ที่หมายถึงวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, และคณิตศาสตร์

แต่สิ่งดังกล่าวไม่ได้ผิด แต่ยังกล่าวไม่หมด ผู้ก่อตั้งหลายคนในบริษัทนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ได้จบการศึกษาแบบ STEM มา เช่น ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Razer ชื่อ Tan Ming-Liang ไม่ได้จบการศึกษาแบบ STEM แต่เป็นกฎหมาย

กรณีการศึกษาแบบองค์รวม (holistic education)

สิ่งที่โลกนี้ต้องการคือการศึกษาเยาวชนทั้งในด้านเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์ (humanities) เราต้องการเทคโนโลยีที่เข้าใจมนุษยศาสตร์ และนักมนุษยศาสตร์ที่เข้าใจเทคโนโลยี

เมื่อ Steve Jobs ที่เคยเข้าเรียนและลาออกจากวิทยาลัยศิลปะศาสตร์เล็กๆแห่งหนึ่ง เมื่อถูกถามว่าเรียนวิชาอะไรที่สำคัญในนั้น เขาตอบว่าเป็นการประดิษฐ์ตัวอักษร (calligraphy) เขารู้เรื่องการรประดิษฐ์อักษรทำให้เขาสร้างตัวพิมพ์ในแมคอินทอชได้

เมื้อเปิดตัว IPad อันใหม่ เขายังกล่าวว่า

“มันเป็น DNA ของ Apple ในการที่เทคโนโลยีแต่งงานกับศิลปะศาสตร์ การแต่งงานกับมนุษยศาสตร์ทำให้เราได้ยินเสียงหัวใจของเรากำลังร้องเพลง”

Mark Zuckerberg เคยเรียนวิชาจิตวิทยา แต่ลาออกมาก่อน ยังกล่าวว่า

“เฟซบุ๊คคือการรวมกันระหว่างจิตวิทยา, สังคมวิทยา, และเทคโนโลยี”

ฉันคิดว่าฉันควรจะเริ่มเสียที สิ่งที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผู้สร้างนวัตกรรม และผู้ประกอบการรายย่อย ที่นำเทคโนโลยีมาแต่งงานกับการออกแบบ, จิตวิทยา, และสังคมวิทยา

ทำไมต้องศึกษาประวัติศาสตร์?

เมื่อพ่อแม่ถามฉันว่าเด็กๆควรจะเรียนอะไร หากเขาต้องการจะบริการต่างประเทศ ฉันบอกพวกเขาว่าเรียนอะไรก็ไม่เห็นจะเกี่ยวกัน แต่ฉันหวังว่าระดับอนุปริญญา (diplomat) ควรจะเรียนประวัติศาสตร์

การไม่สนใจประวัติศาสตร์นำคุณไปสู่ความมืดบอด แต่การรู้ประวัติศาสตร์จะทำให้คุณมีอำนาจมากขึ้น

ผู้พัฒนาชาวสิงคโปร์จะมีพื้นที่ที่ปลอดภัยในฮานอย และถูกท้าทายโดยการประท้วงของทหารผ่านศึกษาชาวเวียดนาม เมื่อผู้พัฒนาต้องการที่จะรื้อคุกดังกล่าวออก

คุกนี้ถูกสร้างโดยอาณานิคมฝรั่งเศส ระหว่างช่วงอานานิคมนั้น นักต่อสูเพื่ออิสรภาพชาวเวียดนามถูกขังอยู่ที่นั่น และบางคนถูกทรมาน และบางคนถูกฆ่า

สำหรับทหารผ่านศึกชาวเวียดนาม คุกเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในตอนสุดท้าย มีการประนีประนอม บางส่วนของคุกถูกรักษาไว้ และกลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์

ในฐานะที่เป็นกรรมการมรดกแห่งชาติ (the National Heritage Board) เป็นเวลา 9 ปี หนึ่งในคนร่วมงานของฉันได้วางมาตรฐานในการให้เกียรติสำหรับทั้งชายและหญิงในการมาเที่ยวสิงคโปร์ระหว่างมีชีวิตอยู่

หนึ่งในบรรดาชายและหญิงทั้งหมด เขายกให้นักเขียนชาวอังกฤษ-โปแลนด์ ชื่อ Joseph Conrad. เขาเคยเป็นพ่อค้าชาวทะเลมาก่อนเป็นนักเขียน สิงคโปร์เป็นฐานที่มั่นของเขาในขณะเดืนเรือ เขาเดินเรือผ่านสิงคโปร์, หมู่เกาะอินโดนีเซีย, และเกาะ Borneo

ผลของมาตรฐานของเขาทำให้ฉันรู้จักโฮจิมินห์, โฮเซ รีซัล, เติ้ง เสี่ยวผิง, ชวาหะร์ลาล เนห์รู คนที่มาเยี่ยมจะสัมผัสกับหัวใจของผู้นำ และประชาชนในประเทศต่างๆ

ในระดับอนุปริญญา ฉันได้เรียนรู้ว่าเราคิดด้วยสติปัญญาและจิตใจ

ทำไมต้องเรียนวรรณกรรม?

หนึ่งในวิชาเรียนที่ฉันเคยเรียนในระดับ O-level คือวรรณกรรม 63 ปีต่อมา ฉันรู้สึกว่าการศึกษาวรรณกรรมเป็นการลงทุนที่ดีที่สุดที่ฉันเคยทำ

โดยผ่านวรรณกรรม ฉันได้รับความรักจากหนังสือ และความสนุกในการอ่าน แน่นอนว่าการอ่านเป็นการศึกษา, ความบันเทิง, และประสบการณ์เสรีนิยม เธอเปลี่ยนจากสถานการณ์ ที่ไม่ว่าจะยากขนาดไหน ท้าทายขนาดไหน ไปสู่อีกโลก อีกกาละ อีกอารยธรรมหนึ่ง

การอ่านคือกุญแจในการไขไปสู่มหาสมบัติของโลก ในการประชุมการสถาปนาหนังสือ ที่จัดขึ้นที่ วอชิงตัน ฉันได้ยินพยานหลักฐานจากนักเขียนอเมริกันที่มีชื่อเสียงว่าการอ่านช่วยชีวิตของเขา

การอ่านวรรณกรรมช่วยคุณในการคิด, เขียน, และพูดได้อย่างชัดเจน การคิดอย่างละเอียด และการแสดงออกเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้

การอ่านวรรณกรรมจะให้เราเห็นธรรมชาติของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งความสลับซับซ้อนของสถานการณ์ของมนุษย์ มันจะทำให้เราประเมินค่าได้น้อยลง แต่เพิ่มพลังความเมตตามากขึ้น การอ่านเรื่องที่ไม่ใช่วรรณกรรม พวกสารคดีจะทำให้เราเข้าใจชาติและประชาชนของประเทศต่างๆได้ดีขึ้น

ในกรณีของสิงคโปร์ เรากระตุ้นให้นักเรียนของเราอ่านวรรณกรรม ถึงแม้ว่าจะไม่เรียนวรรณกรรมก็ตาม วรรณกรรม เช่น บทกวี, บทละคร, และเรื่องสั้นหรือนวนิยาย

ฉันเป็นแฟนพันธุ์แท้ของกวี Edwin Thumboo, Lee Tzu Pheng, และ Leong Liew Geok นักเขียนบทละคอนที่ฉันชอบคือ Kuo Pao Kum, Robert Yeo, Haresh Sharma, และ Alfian Sa at ฉันยังจำได้ดีถึงงเรื่องสั้น แนวนิยายของ Goh Poh Seng, Lim Chor Pee, Catherine Lim, Suchen Christine Lim, Philip Jeyaretnam, Simon Tay และ Meira Chand  

กรณีของมนุษยศาสตร์

การปฏิวัติครั้งที่ 4 ต้องมีการศึกษาทางมนุษยศาสตร์ควบคู่กันด้วย เราควรจะเรียนมนุษยศาสตร์ เพื่อช่วยในการคิดแบบวิเคราะห์, เขียนได้ชัดเจน, และพูดเพื่อโน้มน้าวใจ

นอกเหนือจากได้รับความรู้เรื่องกฎหมายแล้ว การศึกษาด้านกฎหมายของฉันทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการคิดอย่างวิพากษ์, วิธีการสื่อสารความคิดอย่างแจ่มชัด, เป็นระบบ, น่าเชื่อถือ ทั้งในการพูดและการเขียน

Norman Augustine ซึ่งเป็นอดีต CEO ของ Lockheed Martin เมื่อถูกถามว่าคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของเขาในความก้าวหน้าในบริษัท เขาตอบกลับมาว่า ความสามารถในการแสดงออกซึ่งความคิดในการเขียน

เจ้าของ Amazon ชื่อ Jeff Bezos ต้องการให้ลูกน้องที่เป็นบริหารของเขาส่งบันทึกสั้นๆ (memoranda) เพื่อการประชุม หากมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือยุทธวิธีใหม่ๆ ก็นำบันทึกสั้นๆไปลงในหนังสือพิมพ์หรอในเวปได้เลย (press release) มันเป็นภาษาที่ง่ายและไม่มีคำศัพท์ทางวิชาการแต่อย่างใด และคนอื่นๆก็เข้าใจมันได้โดยง่าย

เพื่อนที่ดีที่สุดของฉันคือ ศาสตราจารย์ Lily Kong เคยเขียนไว้ว่า

“การศึกษาทางมนุษยศาสตร์ คือการเรียนรู้มนุษย์ สิ่งที่ดำรงอยู่ในความเป็นมนุษย์คือความงามและข้อบกพร่อง”

“โดยการศึกษาวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ พวกเราจะเห็นความทุกข์ทรมานของผู้นำที่เสียสละชีวิตตนเองพอๆกับที่เห็นความบกพร่องของความใฝ่ฝัน เราจะเห็นทั้งจิตวิญญาณความเกี่ยวดองกับศัตรูที่โหดร้าย เราเป็นพยานให้กับความละมุนของความรักมนุษย์, ความเจ็บปวดของการสูญเสีย, และความสุขของการได้เจอใหม่อีกครั้ง”

“ในยุคแห่งความอุดมไปด้วยเทคโนโลยี (hyper technology) เหตุผลที่สำคัญที่สุดในการเรียนมนุษยศาสตร์ คือ ความรุ่งโรจน์และความอ่อนแอของมนุษย์ รวมทั้งการเล่าความหมายของมนุษย์ซ้ำแล้วซ้ำอีก ในขณะที่หุ่นยนต์จ่ายยา และ chatbots เข้ามาแทนที่การสนทนาระหว่างมนุษย์ แต่หน้าที่ของการปฏิวัติหนที่ 4 คือ ความเข้าใจระหว่างมนุษย์ และความไว้วางใจต่อการเอาใจเขามาใส่ใจเราในมวลมนุษย์”

สิ่งที่ควรรวมไว้ในการศึกษาแบบองค์รวม คือนักมนุษยศาสตร์ที่สนใจเทคโนโลยี และเทคโนโลยีที่เข้าใจมนุษยศาสตร์ การศึกษามนุษยศาสตร์คือการสอนให้เรารู้จักคิด, เขียน, และพูดอย่างชัดเจนมากขึ้น

ตราบใดที่เรายังเป็นมนุษย์ มนุษยศาสตร์ระนำเราไปสัมผัสกับหัวใจในอารยธรรม

แปลและเรียบเรียงจาก

Tommy Koh. Commentary: Humanities at the heart of a holistic education in a tech-driven world.

https://www.channelnewsasia.com/news/commentary/tommy-koh-humanities-education-fourth-industrial-revolution-10522334

หมายเลขบันทึก: 674586เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2020 08:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2020 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท