การวินิจฉัยโรคสำหรับนิสิตนักศึกษาแพทย์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 - 29 พย 62 )


** หมายเหตุ ** ขณะนี้ (6 พฤษภาคม 2563)มี  การวินิจฉัยโรค สำรหรับนิสิตนักศึกษาแพทย์ ฉบับปรับปรุงครั้งที่สาม (6 พฤษภาคม 2563)  

(บทความฉบับเต็ม ความยาว 29 หน้า download ได้  ที่นี่   20191129131125.pdf)

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความในชุดการเรียนรู้ที่ง่ายสนุกและจำได้ดี

การเรียนแพทย์เป็นเรื่องหนึ่งที่ยากเพราะมีเรื่องที่ต้องเรียนมากมาย เรื่องหลักคือเรื่องโรคที่ต้องนำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วย การรักษาที่ได้ผลย่อมขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง ศูนย์กลางของการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาแพทย์จึงอยู่ที่เรื่องโรคและการวินิจฉัยโรค

หลักการอย่างหนึ่งของการทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายคือการทำให้เป็นระบบ บทความนี้เสนอแนวทางหนึ่ง ของการจัดการให้ความรู้เรื่องโรคและการวินิจฉัยโรคเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบในรูปแบบที่ง่ายและใช้งานได้จริง

เมื่อเขียนบทความนี้ครบหนึ่งปี (15 มกราคม 2562) ได้อ่านทบทวนหลายรอบ แล้วปรับปรุงแก้ไขให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนต่างๆของการวินิจฉัยโรค ให้เป็นวงจรที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

และในโอกาสที่ภาควิชาอายุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีอายุครบ 70 ปี ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ได้อ่านทบทวนอีกหลายรอบ และปรับปรุงแก้ไขอีกครั้ง หวังว่าจะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นอีก



อำนาจ ศรีรัตนบัลล์

29 พฤศจิกายน 2562


หมายเลขบันทึก: 673458เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2019 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2020 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขออนุญาตครู นำบางส่วนไปใช้ ใน Mini_UKM นะครับ

กราบสวัสดีอาจารย์ครับดีใจที่เมื่อวานได้มีโอกาสพบอาจารย์อีกครั้งนะครับผมทันได้เรียนกับอาจารย์และได้มีโอกาสอ่านหนังสือ อาการปวดท้องและหลักการวินิจฉัยโรค ของอาจารย์ตั้งแต่ตอนเป็นนิสิตแพทย์จำได้ว่าชอบมาก แม้ว่าจะยังไม่เข้าใจทั้งหมดเสียทีเดียว

สำหรับบทความนี้จะค่อยๆอ่านและพยายามทำความเข้าใจนะครับ :-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท