ประชุม Creativity and Critical Thinking ที่ลอนดอน ๘. หุ้นส่วนระหว่างภาคทางการกับภาคไม่เป็นทางการ



บันทึกชุด ประชุม Creativity and Critical Thinking ที่ลอนดอน นี้    เป็นการสะท้อนคิดของผม จากการไปร่วมประชุม Creativity and Critical Thinking Skills in School : Moving the Agenda Forward. An international conference organised by the OECD Centre for Educational Research and Innovation (CERI)   24-25 September 2019 - London, UK.   Nesta HQ - 58 Victoria Embankment, EC4Y 0DS (๑) โดยไปกับทีม กสศ.   มี ดร. ไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการ กสศ. เป็นหัวหน้าทีม  

ช่วงก่อนอาหารเที่ยง ของวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๒ แยกเป็น ๓ ห้องย่อย    ผมไปฟังห้องที่สาม เรื่อง Partnership between formal and informal education    ซึ่งนำเสนอโดย ฟินแลนด์  สเปน  และอินเดีย    ดังเล่าแล้วในตอนที่ ๑ ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือ    โดยในตอนนั้นได้เล่าวิธีการใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือพัฒนา  CCT ในนักเรียน

ในตอนนี้จะตั้งข้อสังเกตเรื่อง หุ้นส่วนระหว่างภาคทางการกับภาคไม่เป็นทางการ ในภาพรวม   

ผมประทับใจข้อคิดเห็นในที่ประชุมว่า การพัฒนา CCT และสมรรถนะอื่นๆ ให้แก่นักเรียนและเยาวชน    ต้องไม่ปล่อยให้โรงเรียนทำงานแบบเดียวดาย    ต้องจัดระบบให้มีคนนอกเข้าไปทำงานในโรงเรียน    มีประเทศที่จัดอาสาสมัครที่เป็นศิลปินและวิชาชีพอื่นๆ เข้าไปทำงานในโรงเรียนคนละ ๒๐ วันต่อปี    โดยมีการฝึกให้เข้าใจหลักการด้านการเรียนรู้และการสอนเสียก่อน    ขอย้ำว่าต้องทำอย่างเป็นระบบ และมีวงจรของการเรียนรู้และปรับปรุง   

นอกจากนั้นผมยังตื่นตาตื่นใจที่ได้เห็น เอ็นจีโอ ด้านการศึกษา    ดังกรณีหน่วยงานของอินเดียชื่อ Agastya Foundation (๒)ที่ใหญ่โตมาก ทำงานในทุกรัฐทั่วประเทศ     ใช้เงินจากการบริจาคและจากการสนับสนุนจากต่างประเทศ      ประเทศสเปนมี Botin Foundation (๓)     ผมขอเพิ่มเติมว่าในสหรัฐอเมริกามี Teach for America (๔)   ที่มีการใช้โมเดลมาดำเนินการ Teach for Thailand (๕)ในประเทศไทย       

ข้อเรียนรู้สำคัญสำหรับผมคือ    ในประเทศที่ระบบการศึกษาอ่อนแอ (โปรดดูการตีความ WDR 2018 ที่ (๖))    การดำเนินการยกระดับคุณภาพการศึกษาต้องช่วยกันหลายฝ่าย    โดยที่ภาคไม่เป็นทางการน่าจะมีส่วนช่วยเพิ่มความเข้มแข็ง    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ transform ระบบ        

จะเห็นว่า ภาคที่ไม่เป็นทางการมีได้ทั้งตัวบุคคลเป็นรายคน    และที่เป็นองค์กร    พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ของประเทศไทย (๗)น่าจะเป็นโมเดลของหุ้นส่วนระหว่างภาคทางการกับภาคไม่เป็นทางการ    ในการดำเนินการ transform ระบบการศึกษาในพื้นที่     สำหรับเป็นข้อเรียนรู้สู่การ transform ระบบการศึกษาในระดับประเทศ    

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๒

          

หมายเลขบันทึก: 672947เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2019 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2019 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท