อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท จากพุทธพจน์


โพสต์นี้เพื่อบุญ...มหาศาล..พุทธศาสนิกใดคิดว่าไร้สาระ..น่าเสียดาย..ถ้าไม่ดีจริง..ครูพิสูจน์ ไม่เสียเวลานั่งพิมพ์ นั่งพิสูจน์อักษรมากมายปานนี้

(บทอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท สุดยอดคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบวิธี..ไม่เกิด)

ใครอ่านใครสวด..เจริญสติ เจริญปัญญา..ไม่ตกอบาย..ไม่หลงตาย..เสียดายคนที่ตายก่อน..ไม่ได้อ่าน ไม่ได้สวด..

(ขออนุโมทนาบุญ ท่านพระมหาทินกร อริโย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสองพี่น้องพระอารามหลวง และอาจารย์พรรณา ผิวเผือก ที่เมตตามอบหนังสือตถาคตภาษิตมาให้ ขอขอบคุณและอนุโมทนากุศล ศจ.ดร.ฐาปนา บุญหล้า ผู้เรียบเรียงหนังสือแก่นธรรม และพระอาจารย์คึกฤทธิ์ ผู้เผยแผ่พุทธวัจนะ)

ครูพิสูจน์ขออนุญาต เขียนแบบตัวอ่าน รักษารูปคำ ให้อ่านง่าย สวดง่าย ตามที่ต้นฉบับท่านเขียนมาบ้าง ดัดแปลงบ้าง ถ้าผิดแบบ ผิดภาษา ผิดธรรมเนียมอะไรก็ขออภัยด้วย

อิธะภิกขะเว อริยะสาวะโก ปะฏิจจะสะมุปปาทัญเญวะ สาธุกัง โยนิโส มะนะสิกะโรติ

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เป็นอย่างดี ถึงปฏิจจสมุปบาท นั่นเทียว ดังนี้ว่า

อิมัสมิง สะติ อิทัง โหติ

เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี

อิมัสสุปปาทา อิทังอุปปัชชะติ

เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมัสมิง อะสะติ อิทัง นะโหติ

เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ

เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

ยะทิทัง

ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

อะวิชชา ปัจจะยา สังขารา

เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

สังขาระ ปัจจะยา วิญญาณัง

เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

วิญญาณะ ปัจจะยา นามะรูปัง

เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

นามะรูปะ ปัจจะยา สะฬายะตะนัง

เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

สะฬายะตะนะ ปัจจะยา ผัสโส

เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

ผัสสะ ปัจจะยา เวทะนา

เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เวทะนา ปัจจะยา ตัณหา

เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

ตัณหา ปัจจะยา อุปาทานัง

เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

อุปาทานะ ปัจจะยา ภะโว

เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมีภพ

ภะวะ ปัจจะยา ชาติ

เพราะมีภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ

ชาติ ปัจจะยา ชะรา มะระณัง โสกะ ปะริเทวะ ทุกขะ

โทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ(ความโศก)

ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกขะ(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความเสียใจ)

อุปายาสะ(ความคับแค้นใจ) ทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สมุทะโย โหติ

ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

อะวิชชายะ ตะเววะ อะเสสะ วิราคะ นิโรธา สังขาระ นิโรโธ

เพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว

จึงมีความดับแห่งสังขาร

สังขาระ นิโรธา วิญญาณะ นิโรโธ

เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ

วิญญาณะ นิโรธา นามะรูปะ นิโรโธ

เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป

นามะรูปะ นิโรธา สะฬายะตะนะ นิโรโธ

เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ

สะฬายะตะนะ นิโรธา ผัสสะ นิโรโธ

เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ

ผัสสะ นิโรธา เวทะนา นิโรโธ

เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา

เวทะนา นิโรธา ตัณหา นิโรโธ

เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา

ตัณหา นิโรธา อุปาทานะ นิโรโธ

เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน

อุปาทานะ นิโรธา ภะวะนิโรโธ

เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ

ภะวะนิโรธา ชาติ นิโรโธ

เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ

ชาติ นิโรธา ชะรา มะระณัง โสกะ ปะริเทวะ ทุกขะ

โทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ

เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล

ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลาย

จึงดับสิ้น

เอวะเม ตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหติ

ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ดังนี้

(สาธุ จบแค่นี้ครับ ใครท่องได้ เจริญสติ พิจารณาปัญญาไว้ไม่ตกนรก อบายใดๆแน่)



(หมายเหตุ ท่าน อ.วิรัติ เนตรสว่าง กรุณาแนะนำ แก้ไขเพิ่มเติมดังนี้
( ๑.ในบรรทัดที่ ๔ ถึงปฏิจจสมุปบาท น่าจะใช้ ซึ่งปฏิจจสมุปบาท แก้ ถึง เป็น ซึ่ง)
(๒.เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร...ให้เติม สังขารทั้งหลาย เพราะ สังขารา เป็น พหูพจน์)
(๓.ขอแก้บรรทัดที่ ๑ ปะฏิจจะสะมุปปาทัญเญวะ เดิม แก้เป็น สมุป อ่านเป็นอักษรนำ ว่า สะ-หมุบ ครับ มันเป็นอักษรนำ ผมขอ คาอักษรนำไว้ นะครับ)
(๔.และบรรทัดรองสุดท้าย นิโรโธ โหติ ให้แก้เติม เป็น โหตีติ เพราะแปลว่า อย่างนี้ ดังนี้ ถ้า โหติ แปลว่า อย่างนี้)
(ขอบคุณท่านอาจารย์วิรัติ เนตรสว่างมากครับ)
ท่านผู้รู้อื่น...ถ้าพบผิดช่วยแนะนำด้วยนะครับผมไม่เก่งภาษาบาลี เรียบเรียงมาจากเอกสารอีกที

คำสำคัญ (Tags): #พุทธพจน์สุดยอด
หมายเลขบันทึก: 671559เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2019 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2019 07:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท